ประวัติเทศกาลดีปาวลี วันขอพรพระแม่ลักษมี เทศกาลดีปาวลี เทศกาลไฟ

ขอพรพระแม่ลักษมี ‘เทศกาลดีปาวลี’ หนึ่งปีมีครั้งเดียว

วันอาทิตย์ ที่ 12 พฤศจิกายน 2566 เข้าสู่ เทศกาลดีปาวลี หรือ ดิวาลี เทศกาลแห่งแสงสว่างของชาวฮินดู โดยจะมีการจัดงานเพื่อเฉลิมฉลองเป็นเวลา 5 วัน ซึ่งเป็นการเฉลิมฉลองที่ยิ่งใหญ่ที่สุดสำหรับคนเชื้อสายอินเดีย ถือเป็นหนึ่งในเทศกาลที่เก่าแก่และมีความสำคัญที่สุดในบรรดาเทศกาลทั้งหมด

Home / พิธีกรรม / ขอพรพระแม่ลักษมี ‘เทศกาลดีปาวลี’ หนึ่งปีมีครั้งเดียว

วันอาทิตย์ ที่ 12 พฤศจิกายน 2566 เข้าสู่ เทศกาลดีปาวลี หรือ ดิวาลี เทศกาลแห่งแสงสว่างของชาวฮินดู โดยจะมีการจัดงานเพื่อเฉลิมฉลองเป็นเวลา 5 วัน ซึ่งเป็นการเฉลิมฉลองที่ยิ่งใหญ่ที่สุดสำหรับคนเชื้อสายอินเดีย ถือเป็นหนึ่งในเทศกาลที่เก่าแก่และมีความสำคัญที่สุดในบรรดาเทศกาลทั้งหมด โดยจะมีการบูชาพระพิฆเนศ เทพเจ้าแห่งสติปัญญาความสำเร็จ รวมถึงบูชาพระแม่ลักษมีเทวี เทพเจ้าแห่งทรัพย์ ความร่ำรวย และความรัก ซึ่ง MTHAI จะพาทุกท่านไปรู้จักกับเทศกาลดีปาวลีมีความสำคัญอย่างไร? การบูชาขอพรต่อองค์เทพในเทศกาลดีปาวลีต้องเตรียมอะไรบ้าง? ถ้าพร้อมแล้วเราไปรู้จักกับเทศกาลนี้กันค่ะ

เทศกาลดีปาวลี
เทศกาลดีปาวลี

รู้จักเทศกาลดีปาวลี หรือ ดิวาลี

  • ดีปาวลี หมายถึง วันแห่งแสงสว่าง เทศกาลดีปาวลี หรือ ดิวาลี เปรียบเสมือนเทศกาลปีใหม่ของชาวฮินดู เป็นเทศกาลแห่งวันหยุดที่ชาวฮินดูจะได้หยุดเพื่อจัดงานเฉลิมฉลอง โดยจะจัดให้มีการเฉลิมฉลองเป็นเวลา 5 วัน ตามประวัติความเป็นมาของเทศกาลดิวาลี มีความแตกต่างไปตามตำรา บ้างก็เชื่อว่าเป็นตำนานของพระราม ซึ่งอยู่ในร่างอวตารของพระวิษณุหรือพระนารายณ์  ได้ลงมาปราบ นนทก หรือ ทศกัณฑ์ ในบันทึกรามายนะ และทรงได้รับชัยชนะกลับไป อีกทั้งยังมีการเชื่อมโยงเทศกาลนี้ เกี่ยวกับ พระแม่ลักษมี ซึ่งเชื่อว่าการเฉลิมฉลองดีปาวลี เพื่อเป็นการระลึกถึงการวิวาห์ระหว่างพระแม่ลักษมี (Lakshmi) กับพระนารายณ์ (Narayana) และมีคนจำนวนหนึ่งที่มองว่า ดีปาวลี เป็นวันเกิดของพระแม่ลักษมีด้วย ซึ่ง เทศกาล ดิวาลี หรือ ดีปาวลี ยังถือว่าเป็นเทศกาลแห่งไฟ แสงสว่าง ชัยชนะ เพื่อบูชาขอพรแด่องค์พระแม่ลักษมี เทวีแห่งทรัพย์ ความร่ำรวย ความรัก และองค์พระพิฆเนศ เทพแห่งสติปัญญาและความสำเร็จ
  • ซึ่งเทศกาล ดีปาวลี จะเริ่มจากวันที่ 13 ของช่วงกาลปักษ์ หรือก็คือแรม 13 ค่ำแห่งเดือนจันทรคติชื่ออาศวิน (Ashvina) ถึงวันที่สองของช่วงชุษณปักษ์ หรือขึ้น 2 ค่ำแห่งเดือนการติกะ (Karttika) โดยในแต่ละปีจะไม่ตรงกันทุกปี แต่จะอยู่ในช่วงปลายเดือนตุลาคม-ต้นเดือนพฤศจิกายน โดยปีนี้ตรงกับวันอาทิตย์ที่ 12 พฤศจิกายน 2566 
พระแม่ลักษมี
พระแม่ลักษมี

โดยมีการจัดงานเพื่อเฉลิมฉลองเทศกาลดีปาวลี 5 วันดังนี้

  • วันที่หนึ่ง คือวันธันเตรัส (Dhanteras) ให้สมาชิกในบ้านช่วยกันทำความสะอาดบ้าน  และจัดบูชาพระแม่ลักษมีในวันนี้เลย
  • วันที่สอง คือวันนรกจาตุรทศี (Naraka Chaturdashi) หรือ โฉฏีดีปาวลี (Choti Dipawali) ทำการสวดมนต์เพื่อรำลึกถึงบรรพบุรุษ
  • วันที่สาม คือวันบูชาพระแม่ลักษมี (Lakshmi Puja)ถือเป็นวันที่สำคัญที่สุด เป็นวันที่มืดที่สุดตามปฏิทินฮินดู และเป็นวันแห่งแสงสว่างเริ่มกลับมาด้วยเช่นกัน จึงจัดให้มีการเฉลิมฉลอง ขอพรจากพระแม่ลักษมี พร้อมทั้งจุดประทีป ประดับประดาตกแต่งบ้านเรือน สถานที่แต่งๆด้วยไฟ อีกทั้งยังมีการจุดประทัดไฟ พลุไฟ เพื่อเฉลิมฉลองอีกด้วย 
  • วันที่สี่ คือวันโควรรธันปูชา (Goverdhan Puja) หรือวันพลิประติปทา (Balipratipada) หรือวันอันนะกูฏ (Annakut) เป็นวันบูชาชัยชนะของพระกฤษณะที่มีต่อพระอินทร์ โดยวันนี้เป็นวันแรกของเดือนการติกะด้วย ซึ่งเชื่อว่าเปรียบเสมือนกับวันขึ้นปีใหม่ของชาวฮินดู ในการเริ่มต้นทำสิ่งใหม่ๆที่ดี อาทิ เปิดกิจการ ทำธุรกรรมต่างๆ เปิดสมุดบัญชี เปิดกิจการร้านค้าฯ
  • วันที่ห้า คือวันภาย ดูช (Bhai Dooj) ภาย ฏีกา (Bhai Tika) หรือ ภาย บีช (Bhai Bij) คำว่า “ภาย” (bhai) จะแปลว่าพี่ชายหรือน้องชายก็ได้ เป็นวันที่พี่น้องในสายเลือด และพี่น้องที่สนิทรักใคร่มารวมตัวกัน เพื่อทำกิจกรรมร่วมกัน  และในวันนี้พี่สาวหรือน้องสาวก็จะไหว้พระขอพรให้พี่ชายหรือน้องชายประสบความสำเร็จด้านการงานหรือพบเจอแต่สิ่งดีงามตลอดไป
พระราม กับ นางสีดา
พระราม กับ นางสีดา

การบูชาพระแม่ลักษมีในเทศกาลดีปาวลี

1.ตั้งบูชาองค์พระแม่ลักษมีเป็นประธาน ซึ่งเทพเจ้าองค์อื่นๆก็จะตั้งร่วมด้วย เพื่อสวดบูชาด้วยเช่นกัน

2.ตั้งตะเกียงดินเผา จุดประทีป ประดับประดาตกแต่งแท่นบูชาด้วยไฟตกแต่ง (ไฟกระพริบ) เพื่อความสวยงาม พร้อมกับขนมปัญจลักษมี ประกอบด้วย ขนมโมทกะชมพู,ขนมลาดูชมพู,ขนมบัวชมพูสวรรค์,ขนมกุหลาบชมพู,ขนมลาดูมะพร้าวชมพู กำยาน และประธีป

3.โดยสามารถจุดเทียนหรือวางประธีปเป็นแนวยาว ซ้าย-ขาว ที่บริเวณถนนหน้าบ้านไปสู่หิ้งบูชาที่ตั้งพระแม่ลักษมีในบ้าน

4.สวดมนต์บูชาองค์เทพ โดยเริ่มสวดบทพระพิฆเนศ ตามด้วยบทบูชาพระแม่ลักษมี ตามด้วยบทสวดบูชาองค์เทพอื่นๆต่อไป 

5.จุดพลุ หรือประทัด บางบ้านอาจจะตีเกราะเคาะไม้ให้เกิดเสียงดัง เพื่อเป็นการข่มขู่อสูร ไล่ความอัปมงคลออกไปจากบ้านเรือน ให้เหลือแต่สิ่งที่ดีที่เป็นมงคลตลอดไป

สายมูห้ามพลาด! วอลเปเปอร์พระแม่ลักษมี “ชุดเด่นรัก นับเงิน”

โหลดก่อนใคร…ต้อนรับเทศกาลดีปาวลี การเงินมั่งคั่ง ความรักสมหวัง

เอ็มไทยเอาใจสายมู ด้วยวอลเปเปอร์พระแม่ลักษมีประจำวันเกิด เทพีผู้เปี่ยมด้วยความมั่งคั่ง ความรัก และเมตตา เป็นที่เคารพศรัทธาของผู้ที่นับถือ พระแม่ผู้งดงามบริสุทธิ์ เปี่ยมด้วยปัญญา ความรักมั่นคง และรักเดียวใจเดียว ด้วยลวดลายสีสันสดใสสวยงามมากถึง 16 ลายในวอลเปเปอร์คอลเลกชั่นชุดเด่นรัก นับเงิน

สามารถช้อปปิ้งเลือกโหลดติดหน้าจอมือถือได้ตามสะดวก ดั่งมีพระแม่ติดตัวให้สามารถขอพรพระแม่ลักษมีได้ทุกเมื่อ ช่วยให้ดึงดูดความรัก ความสำเร็จ สติปัญญา ความร่ำรวยและมอบโชคลาภให้

พิเศษ ! ฤกษ์เปลี่ยนวอลล์เฉพาะคุณ ซึ่ง อ.ปอนด์ โหรามหาเวทย์ได้เลือกฤกษ์เปลี่ยนวอลเปเปอร์สำหรับผู้ที่เกิดในแต่ละวันเป็นที่เรียบร้อยเพื่อ activate ดวงเสริมมงคลตามวันเวลาของคุณโดยเฉพาะ

ของดีไม่พูดเยอะ ! ดาวน์โหลดเป็นเจ้าของวอลเปเปอร์พระแม่ลักษมี ชุดเด่นรัก นับเงินกันได้แล้ววันนี้บนแอปเอ็มไทยเท่านั้น !

ดาวน์โหลดรอได้เลย!

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

พระแม่ลักษมีเป็นอะไรกับพระพิฆเนศ?

รู้จักพระแม่ลักษมีทั้ง 8 ปาง เทวีแห่งความรัก ความร่ำรวย

6 จุดมู ขอพรพระแม่ลักษมี ที่ไหนในกรุงเทพฯ