ตักบาตรเที่ยงคืน พระอุปคุต วันเป็งปุ๊ด

รู้จัก วันเป็งปุ๊ด ตักบาตรเที่ยงคืน ขอพรสมหวังจากพระอุปคุต

ตามความเชื่อโบราณ ว่าใน วันเป็งปุ๊ด นั้น พระอุปคุต พระอรหันต์ผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่ตราบพุทธศาสนาครบห้าพันปี จะขึ้นมาจากสะดือทะเล แล้วแปลงกายเป็นสามเณรออกมาโปรดสัตว์

Home / พิธีกรรม / รู้จัก วันเป็งปุ๊ด ตักบาตรเที่ยงคืน ขอพรสมหวังจากพระอุปคุต

วันเป็งปุ๊ด หรือ วันเพ็ญพุธ คือประเพณีตักบาตรเที่ยงคืนของชาวล้านนา ซึ่งจะตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำที่ตรงกับวันพุธในทุกปี ซึ่งพระภิกษุก็จะออกบิณฑบาตในเวลาเที่ยงคืน ตามความเชื่อโบราณ ว่าในวันเป็งปุ๊ดนั้น พระอุปคุต พระอรหันต์ผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่ตราบพุทธศาสนาครบห้าพันปี จะขึ้นมาจากสะดือทะเล แล้วแปลงกายเป็นสามเณรออกมาโปรดสัตว์ หากใครได้ใส่บาตรกับพระอุปคุต จะเกิดมงคล โชคลาภ ร่างกายแข็งแรง หายเจ็บหายไข้ สติปัญญาฉลาดเฉลียว เหลือกินเหลือใช้ มั่งมีเงินทอง ความรักยืนยาว ขจัดอุปสรรคทั้งปวง สมหวังทุกประการ ซึ่งวันเป็งปุ๊ดในปีนี้ตรงกับวันพุธที่ 22 พ.ค. 2567

พระอุปคุต

วิธีการบูชาและใส่บาตรถวายข้าวพระอุปคุต

เวลาประมาณ19:00 – 24:00 น.

1.นำข้าวสุก,ข้าวเหนียว ใส่ถ้วยตะไลหรือชามพร้อมน้ำ 1 แก้ว ใส่ถ้วยตั้งหน้าพระอุปคุต บนหิ้งพระ หรืออัญเชิญมาบูชาไว้ด้านนอกชายคาก็ได้

2.จุดธูป 3 ดอก เทียน 1 คู่

3. กล่าวคาถาบูชาพระอุปคุต
ตั้งจิตระลึกถึงพระอุปคุตมารับบิณฑบาต

คาถาบูชาพระอุปคุต

อุปะคุตโต จะ มะหาเถโร สัมพุทเธ นะ วิยากะโต มารัญจะ มาระพะลัญจะ
โสอิทา นิมะหาเถโร นะมัสสิตตะวา ปะติฎฐิโต อะหัง วันทามิ อิทาเนวะ
อุปะคุตตัง จะมะหาเถรัง ยัง ยัง อุปะทะวัง ชาตัง วิธัง เสติ อะเสสะโต
มะหาลาภัง ภะวันตุเม ฯ

4.อธิษฐานจิต นึกถึงคุณความดีที่เราได้ทำเป็นที่ตั้งและการใส่บาตรบูชาพระอุปคุตในวันเพ็ญพุธ(เป็งปุด) นี้ ขอบารมีองค์พระอุปคุตเถระเจ้า ได้โปรดดลบันดาลประทานพร ให้ข้าพเจ้า ………….(เอ่ยชื่อ นามสกุล)
-เหลือกินเหลือใช้เหลือออม
-ให้มีสุขภาพแข็งแรงอายุยืน
-ให้มีคนรัก และมีรักยั่งยืน
-ให้มีบารมี(ความดี) ครบถ้วน

รอระยะเวลาสักครู่ ในช่วงเวลานี้เราอาจจะสวดธรรมจักรหรือบทบารมี 30 ทัศจะใช้เวลาประมาณ 5 ถึง 10 นาที
อธิษฐานจิตถวายบุญกุศลและแผ่เมตตาให้เทวดาประจำตัว ให้องค์พระอุปคุตและเจ้ากรรมนายเวร

5. ลาข้าวสุกและน้ำ นำมาวางไว้ที่พื้นดิน หรือต้นไม้เพื่อให้กับสัมภเวสีหรือนำน้ำรดพื้นดิน

6.อย่าลืมดับธูปเทียนให้เรียบร้อยก่อนเข้านอน

คาถาพระอุปคุตผูกมาร

มหาอุปะคุตโต มหาอุปะคุตตัง กายะพันทะนัง อมยิสะ
พุทธังทะเถโร ธัมมัง ทะเถโร สังมังทะเถโร ปะอัยยะสุตัง อุปัจสะอิ
อิมังกายะพันทะนัง อะธิษฐามิฯ

คาถาขอลาภพระอุปคุต

มหาอุปคุตโต จะ มหาลาโภ พุทโธลาภัง สัพเพชะนา พะหูชะนา
ราชาปุริโส อิถีโยมานัง นะโม โจรา เมตตาจิตตัง เอหิจิตติจิตตัง ปียังมะมะ
สะเทวะกัง สะพรหมมะกัง มนุสสานัง สัพพะลาภัง ภะวันตุ เม ฯ
เอหิจิตติจิตตัง พันธะนัง อุปะคุโต จะ มหาเถโร พุทธะสาวะกะ อานุภาเวนะ
มาระวิชะยะ นิระภะยะ เตะปุญณะตา จะเทวะตานัมปิ มะนุสสานันปี
เอหิจิตตัง ปียังมะมะ อิมังกายะ พันธะนัง อะทิถามิ ปะอัยยิสสุตัง อุปัจสะอิ

ประวัติพระอุปคุต

พระอุปคุตมีแม่เป็นปลา องค์พระอุปคุต มีรูปร่างงดงาม แต่อายที่แม่เป็นปลา จึงขึ้นมาอยู่บนโลกมนุษย์ และได้ฟังธรรมะของพระพุทธเจ้าเมื่อออกบวชแล้ว ได้สร้างกุฎิอยู่ใต้น้ำเพื่อระลึกถึงมารดา นับเป็นพระภิกษุองค์สำคัญในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช โดยชื่อ “อุปคุต” แปลว่า ผู้คุ้มครองรักษา เมื่อครั้งมีการทำสังคายนาพระไตรปิฏก เหล่าพระอริยะได้อัญเชิญพระอุปคุต ไม่ให้มารทำลายพิธี เมื่อเสร็จพิธีก็ล่วงเลยเวลาเพลไปแล้ว (เวลาพระฉัน) พระอุปคุตกลับไปที่กุฎิใต้น้ำ แหงนมองขึ้นไปบนท้องฟ้าเพื่อดูพระอาทิตย์ (ดูเวลา) ด้วยอำนาจบารมี พระอาทิตย์ชักรถทรง ถอยหลังเวลากลับ เพื่อให้พระอุปคุตได้ฉันข้าว จึงเป็นที่มาของพระอุปทูตเอียงคอจกบาตรหรือ คนไทยรู้จักกันในนาม “พระจกบาตร”นั่นเอง

ที่มาภาพ : วัดอุปคุต

เนื้อหาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

บทสวดบารมี 30 ทัศ ครูบาศรีวิชัย ป้องกันภัย ศัตรูภัยพาลวินาศสันติ

จากผ้าห่อศพสู่ จีวร งานศิลปะเครื่องนุ่งห่มของผู้ละกิเลส

ประเพณี ‘ไหว้พระธาตุช่อแฮ แห่ตุงหลวง เมืองแพร่’ ประจำปี 2566