ประเพณีสืบชะตาแบบล้านนา

ประเพณีสืบชะตาแบบล้านนา โดย อ.คฑา ชินบัญชร  

ประเพณีสืบชะตาแบบล้านนาเป็นประเพณีที่ทำมาตั้งแต่โบราณ เชื่อกันว่าดาวนพเคราะห์ทั้ง 9 ดวง ทรงอิทธิพลกับชีวิตของมนุษย์และทรงอิทธิพลกับดวงเมือง  

Home / พิธีกรรม / ประเพณีสืบชะตาแบบล้านนา โดย อ.คฑา ชินบัญชร  

ประเพณีสืบชะตาแบบล้านนาเป็นประเพณีที่ทำมาตั้งแต่โบราณ เชื่อกันว่าดาวนพเคราะห์ทั้ง 9 ดวง ทรงอิทธิพลกับชีวิตของมนุษย์และทรงอิทธิพลกับดวงเมือง

 

โดยพิธีสืบชะตาจึงแบ่งออกเป็น

1.การสืบชะตาดวงเมือง เมื่อดาวร้ายหรือดาวอับมงคล ตกต้องดวงเมือง

2.พิธีสืบชะตาบุคคล เกิดจากดาวต่างๆเสวยอายุ มีทั้งดาวมงคล ทั้งดาวร้าย เชื่อกันว่า หากทำพิธีสืบชะตา ก็จะพลิกร้ายให้กลายเป็นดี และส่งผลให้บุคคลหรือเมือง มีคามเป็นสิริมงคล มีความร่มเย็นเป็นสุข มีสุขภาพที่แข็งแรง

สำหรับการสืบชะตาบุคคลนั้น จะทำวต่อเมื่อดาวพระเคราะห์ ทั้งดีและร้ายเสวยอายุ ทำในช่วงเวลาที่อายุครบรอบบ้าง ทำในช่วงวันเกิดบ้าง ทำในช่วงเวลาที่เจ็บป่วยไม่สบายบ้าง หรือทำในช่วงที่เลื่อนขั้นเลื่อนตำแหน่ง ทั้งนสี้เพื่อขจัดปัดเป่าสิ่งที่ไม่ดีออกไปจากชีวิต

เครื่องประกอบพิธีสืบชะตา ประกอบด้วย

1.ไม้ค้ำ ยาวขนาดเท่ากับตัวเรา หรือ ยาวกว่าตัวเรา จำนวน 3 ท่อน จะทำจากไม้ง่ามที่มีขนาดกำมทือได้รอบ หรืออาจจะใหญ่กว่าสักเล็กน้อย  ไม้ค้ำทั้ง 3 นั้น เปรียบเหมือน ศีล สมาธิ ปัญญา คือเป็นเครื่องค้ำจุน ชีวิตของเราให้ประสบควฝามสุขความสำเร็จ ความก้าวหน้าราบรื่น ตามร้อยบาตรพระศาสดา ตราบสิ้นอายุขัย เพื่อที่จะไปสู่สุคติ

2.นอกจากไม้ค้ำยาวเท่าตัวเรา หรือยาวกว่า 3 ท่อนแล้ว ก็จะมีไม้ง่ามที่ยาวได้รอบ หรือโตกว่าเล็กน้อย หรือเป็นไม้ค้ำแต่มีขนาดเล็กลง ขนาดเท่าหัวแม่มือ ยาวประมาณ 1 ศอก จำนวนเท่ากับอายุของเรา หรือมากกว่า 1 หรือว่า 2 แต่ต้องไม่เกิน 108

3.มีบันได 7 ขั้นหรือบันได 9 ขั้น

4. กระดาษเงินกระดาษทอง

5.หมากพลู บุหรี่ เมี่ยง ข้าวตอก ดอกไม้ ร้อยด้วยด้าย เรียกว่า ลวดคำ ลวดเงิน ลวดหมาก ลวดเมี่ยง ลวดดอก นำมามัดกับบันได ที่ทำแล้ววางไว้กับไม้ค้ำ

6.หม้อน้ำดื่มลาะกระบวย สำหรับตักน้ำ หม้อเงิน หม้อทอง

7.เสื่อ และหมอนใหม่

8.ไม้สะพาน อนึ่ง หม้อนั้นก็คือ เป็นความมเชื่อสืบทอดกันมา แต่โบราณการ ถือกันว่า หม้อปูรณฆฏะ เป็นหม้อน้ำหรือหม้อที่เก็บเงินเก็บทอง มีความหมายถึงควฝามอุดมสมบูรณ์ ความมั่งคั่ง มั่งมี

9.นอกจากนั้นแล้วก็จะมีตุง หรือว่า ธง เรียกว่า ตุงค่าคิง มีความยาวเท่ากับตัวของเจ้าภาพ ผู้สืบชะตา หรือมีจำนวนมากเท่ากับผู้ที่ต้องการสืบชะตา เทียบท่าคิง หรือสีสายเท่าคิง คือเทียนยาวเท่าตัว แล้วฝ้ายยาวมเท่ากับตัว ชุบด้วยน้ำมันพืช สำหรับจุดเป็นพุทธบูชา

10.ยังมีกระบอกทรายหรือข้าวสาร ใช้ไม้อ้อยยาวเท่านิ้วมือ บรรจุทรายแล้วก้ข้าวสารจำนวน 2 กระบอก กระบอกน้ำซึ่งอาจจะใช้ไม้อ้อ 12 กระบอก เทียน 4 เล่ม หรือ มีจำนวนเท่ากับอายุ แต่ไม่เกิน 108 เล่ม ยังมใช่อน้อยและตุงชัย จำนวน 4 หรือเท่าอายุ แต่ไม่เกิน 108

11.ข้าวเปลือก 1หมื่น หรือประมาณ 10 ลิตร ข้าวสารพันหรือประมาณ 1 ลิตร

12.นอกจากนั้นจะมีงอกมะพร้าว หน่ออ้อย หน่อกล้วย กล้วยแก่หรือกล้วยเป็นเครือ มะพร้าวเป็นทลาย

13.กระทงกาบกล้วยใส่เครื่อง โภชนาหาร หรืออาหารที่ใช้สำหรับสังเวยเทวดา

14.สุดท้ายคือบายศรี นมแมว จีบด้วยใบตอง ประดับดอกไม้ต่างๆใส่ข้าว ใส่ขนม ใส่ผลไม้มงคล

โดยเครื่องประกอบพิธีทั้งหมดก็จะมาตั้งรวมกันไว้ โดยมีไม้ค้ำใหญ่ 3 อันเป็นหลัก ปลายของไม้แต่ลาะเล่ม จะค้ำสุมรวมกัน  แล้วนำของต่างๆวางไว้ที่โคนไม้ค้ำ มัดรวมกับไม้ค้ำบ้าง วางไว้ข้างบนสุดยอดของไม้ค้ำบ้าง

วิธีการสืบชะตา

พระสงฆ์ก็จะประกอบพิธี 5 รูปบ้าง 9 รูปบ้าง สวดพระปริตรฯ แต่สำหรับของล้านนาจะมีบทสวดที่เป็นทำนอง ตามแบบฉบับของล้านนา แล้วก็จะมาปับสา หรือคำภีร์ที่เป็นอักษรของล้านนา มีการสวดพระปริตรฯและก็ชะยันโต ให้ศีลให้พร เพื่อเป็นสิริมงคล กับบ้านเมือง กับบุคคล ที่นั่งอยู่ในไม้ค้ำและบุคคลที่อยู่ร่วมพิธี

โดยนัยก็คือ อัญเชิญเทวดาทุกประองค์ รวมถึงเทวดานพเคราะห์ทุกองค์ พระอาทิตย์ พระจันทร์ พระอังคาร พระพุธ พระศุกร์ พระเสาร์ พระราหู พระเกตุ และดาวมฤตยูที่เป็นดาวจร มาปกปักษ์รักษา คุ้มครอง ดวงชะตา ใครที่ตกต้องดาวดวงใด ดาวดวงที่เสวยอายุ ก็ขอให้ดาวดวงนั้น ปกปักษ์รักษาคุ้มครองชะตาพลิกร้ายให้กลายเป็นดี ให้มีความสวัสดี โชคดี มีชัย

เครื่องประกอบพิธีทุกอย่างล้วนมีความหมาย ปริศนาธรรมแฝงอยู่ เป็นประเพณีที่มีคุณค่ามาก และที่สำคัญก็คือเป็นการใช้พระธรรมคำสอน เพราะพระปริตรฯก็คือ พระธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ของเหล่าพระอรหันทั้งปวง มาปกปักษ์รักษาเรา

การที่เรานั่งโดยจิตว่าง รับพลังบวกดีๆ คือพระธรรมคำสอนขององค์สัมมาสัมพุทธเจ้า จากปากของพระภิกขุสงฆ์ หรือคณะสงฆ์ที่ประกอบพิธี ก็เรียกว่าได้นำเอา พุทธานุภาพ ธรรมานุภาพ สังฆานุภาพ เทวานุภามาปกปักษ์รักษาเรา และทำให้เราได้เจริญสติ เมื่อเรามีสมาธิ เราก็จะเกิดสติ เมื่อมีสติก็จะเกิดปัญญา ซึ่งปัญญาจะเป็นเครื่องนำพาชีวิต ถือเป็นสิริมงคลชีวิตและก็หาทำได้ยากยิ่ง

ข้อมูลประกอบความรู้ จากบทสัมภาษณ์ อ.คฑา ชินบัญชร

ขอขอบพระคุณรูปภาพประกอบจากกิจกรรม PT Max Card เชียงราย