นักวิทยาศาสตร์มอง ความรัก เป็นเรื่องของอารมณ์ที่เกิดจากสารเคมีในสมอง ไม่ใช่เรื่องของโชคชะตา บุพเพสันนิวาส หรือฟ้าลิขิต ทั้งนี้ได้มีการแบ่งความรักออกเป็น 3 ขั้น ลองไปอ่านแต่ละขั้นของความรัก พบว่ามีช่วงโรแมนติกที่แตกต่างกันออกไป แต่ยังเชื่อมโยงกับฮอร์โมนที่แตกต่างกันด้วย! แล้วคุณอาจจะเข้าใจความรักมากขึ้นก็ได้นะ
ขั้นที่ 1 : ความต้องการทางเพศ – เทสโทสเทอโรน และเอสโทรเจน
สมองจะหลั่งฮอร์โมนเพศ เทสโทสเทอโรน และเอสโทรเจนมากขึ้น
เมื่อเอสโทรเจนในร่างกายเพิ่มสูงขึ้น ผู้หญิงมักจะแสดงท่าทีที่เป็นการดึงดูดฝ่ายตรงข้าม อย่างการใช้สายตา หรือท่าทาง
ส่วนในผู้ชายเมื่อเทสโทสเทอโรนเพิ่มระดับสูงขึ้น มักจะมีแรงขับเคลื่อนทางเพศมากขึ้น และทำตัวเป็นสุภาพบุรษมากขึ้น จึงทำให้พวกเขามีแรงดึงดูดต่อเพศตรงข้ามมากยิ่งขึ้น จึงเป็นสาเหตุของคำว่า รักแรกพบ
MIKE เซตนาฬิกาข้อมือสแตนเลส แพคคู่ พร้อมของแถมสุดคุ้ม
นาฬิกาข้อมือสแตนเลส รูปทรงสวยสะดุดตา ราคาไม่แพง มาพร้อมกับของแถมที่คุ้มค่า บ่งบอกความ LUXURY ในราคาที่จับต้องได้
ราคา 6,940 บาท ลดราคาเหลือเพียง 1,490 บาท
ขั้นที่ 2 แรงดึงดูด – อะดรีนาลีน โดปามีน และเซโรโทนิน
เมื่อได้พบเจอคนที่ถูกใจ เราจะรู้สึกตื่นตาตื่นใจ ตื่นเต้น ร่างกายอบอวลไปด้วยฮอร์โมนแห่งความสุขราวกับตกอยู่ในภวังค์ อะดรีนาลีน จะถูกหลั่งออกมาโดยต่อมหมวกไต
สิ่งที่ตามมาคืออาการ เหงื่อแตกพลั่ก ใจเต้นแรง โหวง ๆ ในท้อง นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยระบุว่า มีบางอย่างสัมพันธ์กันระหว่างอะดรีนาลีนกับแรงดึงดูด นั่นคือ อะดรีนาลีน ในร่างกายยิ่งสูงเท่าไหร่ก็ยิ่งทำให้คนคนนั้นมีแรงดึงดูดมากเท่านั้น
โดปามีนกับเซโรโทนิน ที่ได้ชื่อว่าเป็นฮอร์โมนแห่งความสุข จะถูกหลั่งออกมามากขึ้นเมื่อเราเจอคนที่ถูกใจ
โดปามีน จะกระตุ้นความปรารถนาและความต้องการสิ่งตอบแทน ร่างกายจะรู้สึกมีพลังงานมากขึ้น ความอยากอาหารและต้องการการนอนหลับน้อยลง มีใจจดจ่อกับสิ่งหรือคนที่สนใจมากกว่าปกติ ต้องการความสนใจมากขึ้น ทำให้รู้สึกตื่นเต้นและแฮปปี้ในเวลาเดียวกัน
เซโรโทนิน สารเคมีที่เกี่ยวข้องกับเรื่องของอารมณ์ ความสุข ความเจ็บปวด ความอยากอาหาร ความต้องการทางเพศ การนอนหลับ และการรับรู้ต่าง ๆ เป็นสารเคมีที่ทำให้อารมณ์ดี แต่จะออกฤทธิ์เช่นเดียวกับโคเคน นั่นคือ ทำให้เกิดการเสพติดได้เหมือนกัน คุณจะคิดถึงแต่คนนั้น จิตใจจดจ่อที่เขาเพียงอย่างเดียว
ขั้นที่ 3: ความผูกพัน – ออกซิโทซิน และวาโซเพรสซิน
ฮอร์โมนแห่งความผูกพัน ออกซิโทซิน และวาโซเพรสซิน
ออกซิโทซิน หรือ ฮอร์โมนแห่งรัก (love hormone) ฮอร์โมนแห่งการกอด (cuddle hormone) และฮอร์โมนแห่งความเชื่อใจ (trust hormone) เพราะทำให้เกิดความรัก ความผูกพัน และความเชื่อใจซึ่งกันและกัน
วาโซเพรสซิน ความสัมพันธ์ระยะยาว ในคู่รักที่มีความสัมพันธ์แนบแน่น เป็นเรื่องของความผูกพัน เป็นสารที่ถูกหลั่งออกมาหลังจากคู่รักมีเพศสัมพันธ์ แต่ถ้าวันใดที่วาโซเพรสซินในร่างกายลดระดับลง ความสัมพันธ์ระหว่างคู่รักก็จะเริ่มบอบบาง และอาจทำให้เกิดปัญหาการนอกใจ ปัญหามือที่สามตามมา
ข้อมูลจาก: yourtango, scienceofpeople