เข้าใจสมองลูกสักนิด เพื่อพิชิตสมองไวให้ลูกน้อย ด้วยสฟิงโกไมอีลินในขวบปีแรก

เข้าใจสมองลูก พิชิตสมองไวให้ลูกน้อย ด้วยสฟิงโกไมอีลินในขวบปีแรก เมื่อเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทที่จำเป็นต่อวิถีชีวิต ทำให้โลกเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในทุก ๆ ด้าน แม้แต่ระบบการศึกษาที่มีการนำเอาเทคโนโลยีเข้าเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนการสอน เด็กยุคใหม่จึงต้องปรับตัวให้ไวและเรียนรู้ให้เร็วเพื่อพัฒนาทักษะที่จำเป็นตามสังคมแห่งยุคเทคโนโลยีในศตวรรษที่ 21 ให้ทัน ในอนาคตอีก 20-30 ปี ข้างหน้าโลกจะเปลี่ยนไปขนาดไหน?…

Home / PR NEWS / เข้าใจสมองลูกสักนิด เพื่อพิชิตสมองไวให้ลูกน้อย ด้วยสฟิงโกไมอีลินในขวบปีแรก

เข้าใจสมองลูก พิชิตสมองไวให้ลูกน้อย ด้วยสฟิงโกไมอีลินในขวบปีแรก

เมื่อเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทที่จำเป็นต่อวิถีชีวิต ทำให้โลกเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในทุก ๆ ด้าน แม้แต่ระบบการศึกษาที่มีการนำเอาเทคโนโลยีเข้าเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนการสอน เด็กยุคใหม่จึงต้องปรับตัวให้ไวและเรียนรู้ให้เร็วเพื่อพัฒนาทักษะที่จำเป็นตามสังคมแห่งยุคเทคโนโลยีในศตวรรษที่ 21 ให้ทัน

ในอนาคตอีก 20-30 ปี ข้างหน้าโลกจะเปลี่ยนไปขนาดไหน? ไม่มีใครสามารถจินตนาการได้ แต่คุณพ่อคุณแม่สามารถเตรียมพร้อมให้ลูกน้อยเติบโตพร้อมรับมือกับโลกแห่งอนาคตและมีสมองพร้อมเรียนรู้ที่ไวได้ เพราะคนที่จะประสบความสำเร็จและอยู่รอดในสังคมได้ต้องปรับตัวให้ไว และเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ได้อย่างรวดเร็ว

การเสริมสร้างให้ลูกน้อยเป็นเด็กที่เรียนรู้เร็ว ต้องเริ่มจากการสร้างสมองไวให้ลูกน้อยด้วยโภชนาการที่สำคัญต่อพัฒนาการทางสมองอย่างสฟิงโกไมอีลิน ซึ่งเป็นหนึ่งในสารอาหารที่พบในนมแม่ ตั้งแต่เนิ่น ๆ โดยเฉพาะในขวบปีแรก ซึ่งเป็นช่วงที่เด็กสามารถเรียนรู้ได้รวดเร็วมากที่สุด 

ขวบปีแรก โอกาสทองสร้างสมองไว – เรียนรู้เร็วของลูกน้อย ที่รอช้าไม่ได้

สมองมีส่วนสำคัญในการเรียนรู้เป็นอย่างมาก แม้ว่าทารกจะสามารถเรียนรู้ได้ตั้งแต่อยู่ในท้องแม่แต่ช่วงระยะเวลาที่สมองของลูกน้อยพัฒนาได้ดีที่สุดคือในช่วงขวบปีแรก การเสริมสร้างพัฒนาสมองไวของเด็กจึงควรเริ่มตั้งแต่ขวบปีแรก ซึ่งเป็นโอกาสทองที่สมองสามารถเรียนรู้และพัฒนาทักษะในด้านต่าง ๆ ได้ดีที่สุด (1)

การเรียนรู้เกิดจากการที่เซลล์สมองมาเชื่อมต่อกันเป็นวงจร โดยที่ในช่วงแรกเด็กทุกคนจะมีเซลล์สมองอยู่ที่ประมาณร้อยล้านล้านเซลล์ใกล้เคียงกัน แต่สมองจะมีพัฒนาการหรือเกิดการเชื่อมต่อกันได้ดีที่สุดในช่วงขวบปีแรก จากนั้นจะค่อย ๆ ลดความเร็วในการพัฒนาทางสมองลง ซึ่งการมาเสริมสร้างหรือบำรุงสมองไวให้ลูกในภายหลังอาจไม่ได้ผลดีนัก (3)สมองไว เกิดจาการที่เซลล์สมองสามารถส่งกระแสประสาทได้รวดเร็ว โดยอาศัย “ปลอกไมอีลิน” ที่เข้ามาช่วยให้การส่งกระแสประสาทให้รวดเร็วอย่างก้าวกระโดด การสร้างไมอีลิน เป็นกระบวนการที่สำคัญต่อการพัฒนาสติปัญญาอย่างมาก  จากการศึกษา พบว่า เด็กที่มีความสามารถสูงกว่าค่าเฉลี่ยจะมีปริมาณไมอีลินที่สูงกว่า เมื่อเทียบกับเด็กที่มีความสามารถเท่ากับค่าเฉลี่ยหรือต่ำกว่าค่าเฉลี่ย (2) แสดงว่า “ยิ่งมีปริมาณไมอีลินมีมากเท่าไหร่ จะยิ่งให้ทำให้เด็กมีการพัฒนาการทางสติปัญญาหรือสมองไวมากขึ้นเท่านั้น”

ปริมาณไมอีลิน ส่งผลต่อพัฒนาการทางสมองของลูกน้อย

การเสริมสร้างพัฒนาการทางสมองที่ไวหรือสมองไวสามารถเริ่มได้จากโภชนาการในนมแม่ เพราะนมแม่มีสารอาหารมากกว่า 200 ชนิด หนึ่งในนั้นมี “สฟิงโกไมอีลิน” สารอาหารสำคัญที่ช่วยพัฒนาสมอง ช่วยสร้างไมอีลินที่สูงกว่า และช่วยเสริมสร้างพัฒนาการด้านอื่น ๆ ได้ดีกว่า คือ

  • พัฒนาการด้านร่างกาย แบ่งเป็น กล้ามเนื้อมัดเล็ก (Fine Motor Development) เช่น กำมือ แบมือ ระบายสี ใช้ช้อนตักอาหาร และกล้ามเนื้อมัดใหญ่ (Gross Motor Development) เช่น นั่ง คลาน ยืน เดิน กระโดด ปีนป่าย
  • พัฒนาการด้านภาษา (Language Development) แบ่งออกเป็น การเข้าใจภาษา (Receptive Language) เช่น สามารถทำตามคำสั่ง ชี้ภาพได้ และการใช้ภาษา (Expressive Language) เช่น พูดอ้อแอ้ พูดเป็นคำ หรือใช้ท่าทางบอกความต้องการได้
  • พัฒนาการด้านอารมณ์และสังคม (Social emotional development) เช่น มองหน้า สบตา ยิ้มตอบ เลียนแบบ แสดงสีหน้าบอกอารมณ์ สื่อสารกับคนอื่นได้ 

การเรียนรู้เป็นประสบการณ์สำคัญในช่วงขวบปีแรกของชีวิต คุณพ่อคุณแม่สามารถสร้างความได้เปรียบในการเรียนรู้ที่ดี มีพัฒนาการและสมองที่ไวให้ลูกน้อยได้ ด้วยการเพิ่มไมอีลินที่สามารถสร้างขึ้นเพิ่มได้จากสารอาหารที่พบในนมแม่ เพื่อการสร้างโอกาสในความสำเร็จในอนาคตของลูกน้อยตั้งแต่ยังเล็ก

สมองลูกยังคงพัฒนาต่อ ไม่รอแล้วนะ!แม้ว่าในช่วงขวบปีแรกลูกน้อยจะมีการเติบโตและพัฒนาการอย่างรวดเร็ว แต่หลังจากอายุ 1 ปีขึ้นไปแล้ว ลูกน้อยยังคงมีพัฒนาการทางสมองและการเจริญเติบโตทางร่างกายอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่จึงควรใส่ใจเรื่องของอาหารและโภชนาการที่ดีให้เหมาะสมกับช่วงวัยของลูกน้อย ได้แก่ สฟิงโกไมอีลิน  ดีเอชเอ ลูทีน ที่พบมากในไข่ นม และชีส เพราะโภชนาการที่ดีย่อมส่งผลต่อขนาดสมอง และความสามารถต้านทานโรคที่ดี และหายป่วยได้เร็วกว่า (4) ควบคู่กับการกระตุ้นสมอง เช่น การพาลูกออกกำลังกาย เพราะการออกกำลังเป็นอีกวิธีที่ช่วยเตรียมพร้อมให้ร่างกายและสมองของลูกน้อยได้เรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ สามารถช่วยในเรื่องของการจดจำ การแก้ปัญหา การเข้าสังคม การทำงานร่วมกัน และการแลกเปลี่ยนความคิดได้ดี อยากสมองไว สร้างได้ ด้วยสฟิงโกไมอีลิน

References:

1. คู่มือเสริมสร้างไอคิวและอีคิวเด็กวัยแรกเกิด – 5 ปี สำหรับพ่อแม่/ผู้ปกครอง
2. Deoni, S. C. L. et al. (2016). )
3. สมองเด็กไทย…รอไม่ไหวแล้ว กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข
4. การส่งเสริมโภชนาการในเด็กก่อนวัยเรียน, ประไพพิศ สิงหเสม, ศักรินทร์ สุวรรณเวหา และอติญาณ์ ศรเกษตริณ, วาราสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาและการสาธารณสุขภาคใต้ ปีที่ 4 ฉบับที่ 3 กันยายน – ธันวาคม 2560 หน้า 226-234