health PM 2.5 ฝุ่นละออง สุขภาพ

8 วิธีรับมือ ฝุ่นละออง PM 2.5 ที่กลับมาเยือนประเทศไทยอีกครั้ง

หากใครจำกันได้เมื่อต้นปีที่ผ่าน ปัญหา ฝุ่นละออง PM 2.5 เข้ามาปกคลุมหลายจังหวัดของของประเทศไทย ทำให้ส่งผลเสียต่อสุขภาพของประชาชน โดยเฉพาะบุคคลกลุ่มเสี่ยง 4 โรค ได้แก่ โรคหัวใจ และหลอดเลือด, โรคระบบทางเดินหายใจ, โรคเยื่อบุตาอักเสบ…

Home / MEN / 8 วิธีรับมือ ฝุ่นละออง PM 2.5 ที่กลับมาเยือนประเทศไทยอีกครั้ง

หากใครจำกันได้เมื่อต้นปีที่ผ่าน ปัญหา ฝุ่นละออง PM 2.5 เข้ามาปกคลุมหลายจังหวัดของของประเทศไทย ทำให้ส่งผลเสียต่อสุขภาพของประชาชน โดยเฉพาะบุคคลกลุ่มเสี่ยง 4 โรค ได้แก่ โรคหัวใจ และหลอดเลือด, โรคระบบทางเดินหายใจ, โรคเยื่อบุตาอักเสบ และโรคผิวหนัง ถึงแม้ว่าฝุ่นละอองพิษจะหายไปแล้วหลายเดือนก็ตาม แต่ช่วงปลายเดือนกันยายน ฝุ่น PM 2.5 กลับมาเยือนชาวเมืองหลวงอีกครั้ง ถึงเวลานี้ปกคลุมหลายพื้นที่ในกรุงเทพ และปริมณฑล ส่วนสาเหตุหลักๆ ของฝุ่นพิษเกิดจาก ควันไอเสียจากรถ, การเผาป่าหรือเผาขยะ และโรงงานอุตสาหกรรม เป็นต้น ตอนนี้หลายๆ หน่วยงานราชการระดมกำลังช่วยเหลือประชาชนอย่างเร่งด่วน แต่วันนี้เรามีวิธีรับมือกับฝุ่นละออง PM 2.5 เพื่อรักษาสุขภาพ มาฝากชาว Men Mthai กัน ลองไปชมกันได้เลย… อย่าลืมทำตามกันละ!!

1. หากไม่จำเป็นควรอยู่แต่ในอาคารหรือที่พัก ไม่ควรออกมาสัมผัสฝุ่นพิษข้างนอก ยิ่งเป็นโรคกลุ่มเสี่ยง โรคหัวใจ-หลอดเลือด, โรคระบบทางเดินหายใจ, โรคเยื่อบุตาอักเสบ และโรคผิวหนัง ต้องระวังเป็นพิเศษ

2. แต่ถ้าจำเป็นต้องออกมาทำธุระข้างนอกจริงๆ ควรใส่เสื้อผ้าให้มิดชิด เพื่อช่วยลดโอกาสที่ร่างกายจะไปสัมผัสกับฝุ่น และสวมหน้ากากอนามัยที่ได้มาตรฐาน เช่น หน้ากากอนามัย N95 เป็นประจำเมื่องต้องออกมาข้างนอก

3. หลีกเลี่ยงการเดินทางไปในพื้นที่เสี่ยง ยิ่งเพิ่มความอันตรายของฝุ่น PM 2.5 เข้าสู่ร่างกายสองเท่าตัว

4. หลังจากกลับมาถึงบ้านทุกวัน ควรจะอาบน้ำ และสระผมให้สะอาดทุกครั้ง นอกจากนี้ เสื้อผ้าที่ใส่ออกไปสัมผัสฝุ่นข้างนอกมาแล้ว ควรจะซักทำความสะอาดทันที เพื่อป้องกันฝุ่นไปติดกับเสื้อผ้าตัวอื่น

5. หากอยู่ในเขตพื้นที่เสี่ยง ควรปิดประตูบ้าน และหน้าต่างให้สนิท ป้องกันฝุ่นละอองเข้ามาภายในตัวบ้าน

6. ใช้เครื่องฟอกอากาศสามารถช่วยให้ฝุ่นภายในบ้านลดลงได้ เพราะฝุ่นละอองมีขนาดเล็กมาก เราไม่สามารถทำความสะอาดหมดทุกซอกทุกมุมได้ด้วยตัวเอง

7. ควรงดออกกำลังกายกลางแจ้งในพื้นที่เสียงเด็ดขาด และห้ามใสหน้ากากอนามัยเพื่อออกกำลังกาย เพราะขณะออกกำลังกายระบบหายใจในตัวเราจะทำงานหนักขึ้น

8. กลุ่มเสี่ยง ได้แก่ ผู้สูงอายุ ผู้หญิงตั้งครรภ์, เด็กเล็ก และคนที่จำเป็นต้องทำงานกลางแจ้ง ผู้ใกล้ชิดจะต้องดูแลเป็นพิเศษ เพราะสภาพร่างกายง่ายต่อการเกิดโรคภัยต่างๆ ตามมาได้ง่ายกว่าคนปกติ