โกโก้ ได้มาจาก Cocoa Liquor ถูกทำให้เป็นผงโดยรีดไขมันโกโก้ออกไปจนหมด หรือเกือบหมด การกินโกโก้ 100% ผสมกับน้ำเปล่านั้นมีข้อดีกับสุขภาพอยู่มากมาย ดังนั้นแล้วสำหรับสายเฮลท์ตี้ต้องเลือกโกโก้ที่ดีต่อสุขภาพ เพราะผลิตภัณฑ์โกโก้แปรรูปที่วางขายอยู่ทั่วไปไม่ว่าจะเป็น ช็อคโกแลตแท่ง ขนม เบเกอรี่ต่าง ๆ ล้วนแล้วแต่มีส่วนผสมของน้ำตาล ครีมอยู่ด้วย
การกินโกโก้ 100% ผสมกับน้ำเปล่านั้นมีข้อดีกับสุขภาพอยู่มากมาย
1.มีสารต้านอนุมูลอิสระ
โกโก้อุดมไปด้วยโพลีฟีนอล (Pholyphenols) ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยลดการอักเสบ ช่วยให้เลือดไหลเวียนได้ดี ลดความดันโลหิต และยังช่วยควบคุมคอเลสเตอรอลและน้ำตาลในเส้นเลือด แต่กระบวนการในการแปรรูปเป็นช็อคโกแลตหรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ก็อาจจะทำให้โพลีฟีนอล (Pholyphenols) ลดลงได้นะ อย่างที่ยำไปว่าควรเลือกกินโกโก้ 100%
2.ลดความเสี่ยงโรคหัวใจ/เบาหวาน
ในโกโก้มีฟลาโวนอยด์ มีคุณสมบัติช่วยเพิ่มไนตริกออกไซด์ ช่วยขยายหลอดเลือด ลดคอเลสเตอรอลร้าย (LDL) จึงช่วยให้หัวใจมีสุขภาพที่ดี ลดโอกาสเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมอง อัมพฤกษ์อัมพาต นอกจากนี้ฟลาโวนอยด์ ในโกโก้จะช่วยชะลอการย่อยและการดูดซึมคาร์โบไฮเดรตในลำไส้ โดยจะไปกระตุ้นการหลั่งอินซูลิน ที่เป็นฮอร์โมนที่ควบคุมการเผาผลาญคาร์โบไฮเดรต ลดความเสี่ยงในการเป็นเบาหวาน และช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้
3.บำรุงสมอง
ฟลาโวนอยด์ในโกโก้ช่วยการทำงานของระบบประสาทและสมอง เช่น ความจำ ความคิด การตัดสินใจ การรับรู้ และสามารถป้องกันโรคอัลไซเมอร์ในผู้สูงอายุได้ด้วย
4.ช่วยให้อารมณ์ดี
จากการศึกษาหลายการศึกษาพบว่า การกินโกโก้ส่งผลดีต่ออารมณ์ และภาวะซึมเศร้า ช่วยลดความเครียด และรทำให้ผ่อนคลาย คาดว่าในโกโก้อาจจะมีสารที่ไปกระตุ้นให้สมองหลั่ง สารโดปามีน และสารเซโรโทนิน (สารแห่งความสุข) จึงทำให้คนเรามีอารมณ์ดีและมีความสุขหลังได้ดื่มหรือกิน
5.เร่งการเผาผลาญ
สำหรับคนที่ต้องการควบคุมน้ำหนักไม่ต้องกังวล เพราะในโกโก้มี สารโพลีฟีนอล ช่วยเรื่องการไหลเวียนเลือด เร่งการเผาผลาญในร่างกาย
6.ดีต่อสุขภาพผิวและฟัน
จากงานวิจัยในวารสารโภชนาการของยุโรปพบว่า การกินหรือดื่มโกโก้เป็นเวลานาน 12 สัปดาห์ ช่วยให้ผิวชุ่มชื้นขึ้น 25% และโกโก้ยังดีต่อสุขภาพฟัน สามารถช่วยป้องกันแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของฟันผุได้ด้วย
7.ช่วยรักษาโรคหอบหืด
จากการทดลองกับสัตว์พบว่า โกโก้สามารถช่วยรักษาอาหารหืดหอบได้ ช่วยขยายทางเดินหายใจ และลดการหนาตัวของเนื้อเยื่อในระบบทางเดินหายใจ อย่างไรก็ตามยังไม่มีการศึกษาเรื่องนี้กับมนุษย์
ที่มา