โรคมะเร็งปากมดลูก พบมากเป็นอันดับ 2 ของผู้หญิงไทย รองจากมะเร็งเต้านม ปัจจุบันมะเร็งปากมดลูกและรอยโรคก่อนมะเร็งที่เกิดจากการติดเชื้อเอชพีวีสามารถป้องกันได้ด้วยการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก
ผู้ที่มีความเสี่ยงเป็นโรคมะเร็งปากมดลูก
- เกิดจากการมีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุยังน้อย
- การมีคู่นอนหลายคน ซึ่งความเสี่ยงจะสูงขึ้นตามจำนวนคู่นอน
- มีประวัติติดเชื้อหูดหงอนไก่ หรือติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์
อาการของมะเร็งปากมดลูก
- มีเลือดหรือตกขาวออกทางช่องคลอดผิดปกติหรือมีกลิ่น
- มีเลือดออกจากช่องคลอด หลังหมดประจำเดือนแล้ว
- มีอาการเจ็บ ขณะมีเพศสัมพันธ์
- มีสารคัดหลั่งออกมาจากช่องคลอดมากผิดปกติ หรืออาจปนเลือด
3 วิธีการตรวจคัดกรองป้องกัน โรคมะเร็งปากมดลูก
1. Pap Smear (แพปสเมียร์)
เป็นวิธีการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกวิธีดั้งเดิมโดยใช้ไม้ป้ายเก็บเซลล์บริเวณปากมดลูก จากนั้นป้ายลงบนแผ่นสไลด์ ซึ่งอาจมีมูกเลือดบดบังเซลล์มะเร็งได้จึงทำให้มีโอกาสผิดพลาดสูง
2. Liquid base Cytology
เป็นวิธีมาตรฐานในการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกสามารถพบรอยโรคได้ถึง 74% โดยใช้น้ำยารักษาสภาพเซลล์ที่ช่วยกำจัดมูกและเลือด การตรวจค่อนข้างมีความแม่นยำจึงทำให้มีโอกาสพบเซลล์มะเร็งสูง
3. การตรวจหาเชื้อไวรัส HPV
การตรวจหาเชื้อไวรัส HPV ด้วยวิธี เอชพีวี ดีเอ็นเอ เทสท์ (HPV DNA test) สามารถพบรอยโรคได้เกือบ 100% โดยการนำเซลล์ปากมดลูกมาตรวจแบบเจาะลึกถึงระดับ DNA ของเชื้อไวรัส HPV สายพันธุ์ที่ก่อให้เกิดมะเร็งปากมดลูก การตรวจด้วยวิธีนี้มีแม่นยำสูงจึงสามารถเว้นระยะตรวจได้ถึง 5 ปี