อากาศร้อน ฮีทสโตรก โรคลมแดด

ฮีทสโตรก หรือ โรคลมแดด มีอาการอย่างไรและวิธีปฐมพยาบาลที่ถูกต้อง

โรคลมแดด หรือ โรคฮีทสโตรก (Heat Stroke) เป็นโรคที่เกิดจากความร้อนที่ร่างกายสร้างขึ้นและได้รับจากภายนอกด้วย จึงส่งผลให้ร่างกายระบายความร้อนไม่ทัน ทำให้ร่างกายมีอุณหภูมิสูงขึ้นเรื่อยๆ จนอาจทำให้ระบบต่างๆภายในร่างกายเป็นอันตรายจนถึงขั้นเสียชีวิตได้ โรคนี้ถ้าหากได้รับการรักษาที่ถูกต้องมีโอกาสรอดชีวิตถึง 90 % แต่ถ้าปล่อยทิ้งไว้เกินกว่า 2 ชั่วโมงก็มีความเสี่ยงที่จะเสียชีวิตได้…

Home / HEALTH / ฮีทสโตรก หรือ โรคลมแดด มีอาการอย่างไรและวิธีปฐมพยาบาลที่ถูกต้อง

โรคลมแดด หรือ โรคฮีทสโตรก (Heat Stroke) เป็นโรคที่เกิดจากความร้อนที่ร่างกายสร้างขึ้นและได้รับจากภายนอกด้วย จึงส่งผลให้ร่างกายระบายความร้อนไม่ทัน ทำให้ร่างกายมีอุณหภูมิสูงขึ้นเรื่อยๆ จนอาจทำให้ระบบต่างๆภายในร่างกายเป็นอันตรายจนถึงขั้นเสียชีวิตได้ โรคนี้ถ้าหากได้รับการรักษาที่ถูกต้องมีโอกาสรอดชีวิตถึง 90 % แต่ถ้าปล่อยทิ้งไว้เกินกว่า 2 ชั่วโมงก็มีความเสี่ยงที่จะเสียชีวิตได้ ดังนั้นจึงควรสังเกตอาการของโรคนี้ไว้ให้ดี

อาการของโรคฮีทสโตรก

  • มีอาการหน้ามืด เมื่อยล้า อ่อนเพลียไม่มีแรง ปวดศีรษะ คลื่นไส้อาเจียน หอบหายใจเร็ว ใจสั่น หัวใจเต้นเร็วมาก
  • อุณหภูมิในร่างกายสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว รูขุมขนจะปิดจนไม่สามารถระบายเหงื่อได้
  • ตัวร้อนมาก ผิวแดงจัด วัดอุณหภูมิได้มากกว่า 40 องศาเซลเซียส
  • มีอาการสับสน หงุดหงิด พูดจาไม่รู้เรื่อง อาจถึงขั้นชักกระตุก เกร็ง และหมดสติไป

สัญญาณของ ฮีทสโตรก

สัญญาณสำคัญ คือ ไม่มีเหงื่อออก รู้สึกกระหายน้ำมาก ตัวร้อนขึ้นเรื่อยๆ ปวดศีรษะ มึนงง หัวใจเต้นเร็ว เมื่อเกิดอาการดังกล่าวควรหยุดพักทันที หากดูแลรักษาไม่ทันท่วงทีอาจมีอันตรายถึงแก่ชีวิตได้

 ฮีทสโตรก
โรคฮีทสโตรก

ผู้ที่มีความเสี่ยงจะเกิดโรคฮีทสโตรก

  • ผู้ที่ทำงานกลางแจ้งในที่อากาศร้อนจัดเป็นเวลานานๆ กรรมกร เกษตรกร นักกีฬา และทหารที่เข้ารับการฝึก
  • ผู้สูงอายุ เด็ก ผู้ที่อดนอนพักผ่อนไม่เพียงพอ ผู้ที่ดื่มเหล้าจัด
  • ผู้ที่เป็นโรคเรื้อรัง เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคปอด คนที่กินยาขับปัสสาวะ

การปฐมพยาบาลเบื้องต้น

  1. นำผู้ป่วยเข้าที่ร่มในบริเวณที่อากาศเย็นหรืออากาศถ่ายเทได้สะดวก ให้ผู้ป่วยนอนราบ ยกเท้าสูงทั้งสองข้าง เพื่อเพิ่มการไหลเวียนของเลือด
  2. ควรคลายเสื้อผ้าให้หลวม เพื่อให้ร่างกายระบายความร้อนได้เร็วขึ้น
  3. ใช้ผ้าชุบน้ำอุณหภูมิปกติ แล้วเช็ดตัว ซอกรักแร้ คอ ขาหนีบ และหน้าผาก โดยเช็ดย้อนรูขุมขนเพื่อระบายความร้อน
  4. ใช้พัดลมเป่าระบายความร้อน หรือพัดแรงๆ เพื่อลดอุณหภูมิร่างกายให้ลดต่ำลงโดยเร็วที่สุด
  5. หากยังไม่ฟื้นให้รีบโทร 1669 เพื่อนำตัวส่งโรงพยาบาลในทันที