ปอดอักเสบ โรคติดต่อ โรคปอด โรควัณโรค ไอเรื้อรัง

โรควัณโรคหลังโพรงจมูก เป็นวัณโรคชนิดที่ติดต่อกันได้น้อย พบเพียง 1%

หลังจากที่ น้ำตาล เดอะสตาร์ เสียชีวิตลงด้วยอาการเลือดออกไม่หยุด คณะแพทย์ศิริราช ได้ทำการตรวจวินิจฉัยหาสาเหตุการเสียชีวิตแล้ว โดยทำการตัดชิ้นเนื้อหลังโพรงจมูก ผลตรวจชิ้นเนื้อ พบว่า มีเชื้อวัณโรคที่ด้านหลังโพรงจมูก ซึ่งเป็นโรคที่พบได้น้อยมาก ซึ่งวัณโรคเป็นโรคที่พบเจอได้บ่อยในประเทศไทย แต่เป็นโรคที่รักษาได้ โดยสถิติพบว่า คนไทยเป็นวัณโรคประมาณ…

Home / HEALTH / โรควัณโรคหลังโพรงจมูก เป็นวัณโรคชนิดที่ติดต่อกันได้น้อย พบเพียง 1%

หลังจากที่ น้ำตาล เดอะสตาร์ เสียชีวิตลงด้วยอาการเลือดออกไม่หยุด คณะแพทย์ศิริราช ได้ทำการตรวจวินิจฉัยหาสาเหตุการเสียชีวิตแล้ว โดยทำการตัดชิ้นเนื้อหลังโพรงจมูก

ผลตรวจชิ้นเนื้อ พบว่า มีเชื้อวัณโรคที่ด้านหลังโพรงจมูก ซึ่งเป็นโรคที่พบได้น้อยมาก ซึ่งวัณโรคเป็นโรคที่พบเจอได้บ่อยในประเทศไทย แต่เป็นโรคที่รักษาได้ โดยสถิติพบว่า คนไทยเป็นวัณโรคประมาณ 80,000 คนจากประชากร 69 ล้านคน ซึ่งส่วนใหญ่ 83% จะเจอในปอด แต่ 17% เจอนอกปอด ส่วนวัณโรคที่ด้านหลังโพรงจมูกนั้นพบเพียง 1% วัณโรคสามารถเป็นได้ตามอวัยวะอื่นๆ ในร่างกาย ซึ่งวัณโรคหลังโพรงจมูกนั้นมีรายงานทางการแพทย์ทั่วโลกพบว่า ผู้ป่วย 1 ใน 3 อาจไม่มีอาการใดๆ และ 70% อาจมีต่อมน้ำเหลืองที่คอโต หรือมีก้อนที่หลังบริเวณโพรงจมูก โดยการวินิจฉัยโรคนั้นทำได้โดยการตรวจชิ้นเนื้อที่ก้อนที่โต

ส่วนกรณีที่พบกับ น้ำตาล เดอะสตาร์ นั้นเป็นกรณีที่ไม่ปกติจริงๆ พบได้น้อยมากๆ เนื่องจากไม่มีอาการใดๆ เตือนเลย ดังนั้น หมอจึงแนะนำว่าควรตรวจสุขภาพประจำปีอย่างสม่ำเสมอ หากพบสิ่งผิดปกติควรค้นหาจนพบเจอสาเหตุของความผิดปกตินั้น และแม้ว่าจะตรวจร่างกายอยู่แล้ว แต่หากพบมีอาการผิดปกติในร่ายกาย เช่น น้ำหนักลดลงอย่างไม่รู้สาเหตุ เบื่ออาหาร มีไข้ต่ำๆ หรือคลำได้ก้อนผิดปกติ ควรพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุ

วัณโรค

เป็นโรคติดต่อทางเดินหายใจมาตั้งแต่อดีต ปัจจุบันโรคนี้ได้รับความสนใจจากองค์การอนามัยโลก เนื่องจากอัตราการติดเชื้อเริ่มมากขึ้นและมีเชื้อที่ดื้อยามากขึ้น ประมาณว่าปีหนึ่งจะมีคนติดเชื้อใหม่ประมาณ 8 ล้านคนและเสียชีวิตประมาณ 3 ล้านคนต่อปี

การแพร่ของเชื้อโรค Transmission

เชื้อวัณโรคจะแพร่โดยเชื้อจนอยู่ในเสมหะที่มีขนาด 1-5 ไมครอนซึ่งจะไปถึงถุงลมในปอดและทำให้เกิดการติดเชื้อ เสมหะนี้จะเกิดจากการไอ จาม พูดหรือร้องเพลง เชื้อโรคอาจจะอยู่ที่กล่องเสียงหรือในปอด หากเสมหะมีขนาดใหญ่กว่านี้จะถูกติดที่เยื่อบุโพรงจมูกวึ่งไม่ทำให้เกิดโรค

สภาวะที่เอื้อต่อการติดเชื้อได้แก่

จำนวนเชื้อวัณโรคที่อยู่ในอากาศ ความเข้มข้นของเชื้อโรคซึ่งขึ้นกับปริมาณเชื้อและการถ่ายเทของอากาศ ระยะเวลาที่คนอยู่ในห้องที่มีเชื้อโรค ภูมิคุ้มกันของคนที่สัมผัสโรค

วิธีการที่จะทำให้เชื้อในอากาศมีน้อยลง

หากเชื้อที่อยู่ในอากาศมีปริมาณมากคนที่อยู่ในสิ่งแวดล้อมก็มีโอกาศที่จะติดเชื้อโรค

สำหรับท่านที่พักอาศัยกับผู้ที่เป็นวัณโรคปอด ก็สามารถนำวิธีนี้ไปใช้เพื่อลดเชื้อในอากาศซึ่งจะทำให้ลดการติดเชื้อได้ วิธีที่จะลดปริมาณเชื้อได้แก่

เพิ่มการถ่ายเทของอากาศโดยให้มีปริมาตรของอากาศที่ไหลเวียนประมาณ 6 เท่าของห้องต่อชั่วโมงซึ่งจะทำให้เชื้อในห้องเจือจางลง ให้แสงแดดส่องเข้ามาในห้องซึ่งมี ultraviolet สามารถฆ่าเชื้อโรคได้ ให้ผู้ป่วยรับยารักษาวัณโรค ให้ผู้ป่วยผูกหน้ากากซึ่งจะต้องคลุมทั้งปากและจมูก

กลไกการเกิดโรควัณโรค

หลังจากที่เราหายใจเอาเชื้อโรคเข้าในปอด หการ่างกายเรามีภูมิก็จะฆ่าเชื้อโรคได้ หากฆ่าได้ไม่หมดเนื่องจากจำนวนหรือความรุนแรงของเชื้อ เชื้อก็จะอยู่ในเม็ดเลือดขาว และแบ่งตัวอย่างช้าประมาณว่าจะแบ่งตัวทุก 25-32 ชมจนกระทั่งเวลาผ่านไป 2-12 สัปดาห์จะมีปริมณเชื้อ 1000-10000 เซลล์ซึ่งมีปริมาณมากพอที่จำทำให้ร่างกายสร้างภูมิต่อโรคซึ่งสามารถตรวจพบภูมิโดยการทดสอบทางผิวหนัง ก่อนที่ร่างกายจะสร้างภูมิคุ้มกันเชื้อจะแพร่กระจายไปยังระบบน้ำเหลืองและกระแสเลือดไปยังอวัยวะต่างๆ เช่น ต่อมน้ำเหลือง ไขกระดูก ตับ ม้าม ปอดกลีบบน ไต กระดูก และสมอง เมื่อร่างการสร้างภูมิเต็มที่เชื้อจะไม่แบ่งตัวหรือแบ่งตัวช้ามากและจะไม่ติดต่อหรือเกิดโรค
สำหรับในบางภาวะที่ภูมิอ่อนแอเช่น ผู้ป่วยโรคเอดส์ เบาหวาน silicosis ผู้ป่วยที่ได้รับยากดภูมิ จะมีโอกาสเกิดติดโรคได้ง่ายโดยเฉพาะใน 2 ปีแรก

อาการและอาการแสดงของโรควัณโรค

คนที่ติดเชื้อวัณโรคมีอาการได้หลายรูปแบบ บางคนอาจจะไม่มีอาการบางคนอาจจะมีอาการมากทั้งนี้ขึ้นกับปัจจัยดังต่อไปนี้
ปัจจัยที่ตัวผู้ป่วย
ได้แก่อายุ สำหรับเด็กและคนสูงอายุ จะมีความรุนแรงมากกว่าคนหนุ่มสาว
สภาวะของภูมิคุ้มกันของผู้ป่วย เช่นคนที่เป็นโรคเอดส์ คนที่รับประทานยากดภูมิ ขาดอาหาร
โรคที่พบร่วม เช่นโรคถุงลมโป่งพอง เบาหวาน
ปฎิกิริยาระหว่างผู้ป่วยและตัวเชื้อโรค มีปฎิกิริยามากก็จะเกิดอาการมาก เช่นไข้หรือไอเป็นต้น

ความรุนแรงของโรควัณโรค

ก่อนหน้าที่จะมีการระบาดของโรคเอดส์เราจะพบว่าวัณโรคจะเป็นที่ปอดประมาณร้อยละ 85 ส่วนอีกร้อยละ 15 จะเป็นวัณโรคที่ปอดและนอกปอด แต่หลังจากที่มีโรคเอดส์พบว่าร้อยละ 38 เป็นวัณโรคปอด ร้อยละ 30 เป็นวัณโรคนอกปอด ร้อยละ 32 เป็นทั้งวัณโรคปอดและนอกปอด

อาการทั่วๆ ไปของโรควัณโรค

เป็นอาการที่เกิดจากโรคแต่ไม่ได้บอกว่าเป็นวัณโรคที่ตำแหน่งไหน อาการที่สำคัญได้แก่
ไข้ พบว่าผู้ป่วยโรควัณโรคจะมีไข้ได้ตั้งแต่ร้อยละ 37-80 แต่ก็มีผู้ป่วยร้อยละ 21 ที่ไม่มีไข้เลย หลังจากได้รับยารักษาวัณโรคพบว่าไข้จะลงในหนึ่งและสองสัปดาห ์ ร้อยละ34,64 ตามลำดับระยะเวลาเฉลี่ยที่ไข้ลงประมาณ 10 วัน
อาการอื่นๆ ที่พบได้ได้แก่ เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย น้ำหนักลด ครั่นเนื้อครั่นตัว เหงื่อออกกลางคืน พบว่าเม็ดเลือดขาวอาจจะต่ำ ปกติหรือสูงก็ได้ ในรายที่เป็นมานานจะพบภาวะโลหิตจางด้วย อาการของเลือแรโซเดียมต่ำซึ่งจากปอดที่ติดเชื้อวัณโรสร้าง antidiuretic hormone-like substance

อาการของวัณโรคปอด

อาการเป็นอาการที่พบได้บ่อยที่สุดในระยะแรกๆอาจจะไอแห้งๆไม่มีเสมหะ หากไม่รักษาเมื่อมีการอักเสบเพิ่มมากขึ้นและมีการทำลายเนื้อเยื่อก็จะทำให้มีเสมหะ ไอเสมหะมีเลือดออก ผู้ป่วยที่เป็นวัณโรคมักจะไม่มีเลือดออกในเสมหะนอกจากจะเกิดจากผู้ป่วยมีโรคอยู่เก่าเช่น ถุงลมโป่งพองจากวัณโรค (Tuberculosis bronchiectasis) เส้นเลือดที่ผนังฝีในปอดแตก การติดเชื้อราในปอด หรือการติดเชื้อแบคทีเรีย

การวินิจฉัยโรควัณโรค

การวินิจที่ถูกต้องจะต้องตรวจพบตัวเชื้อโรค โดยการนำสารหลั่งต่างมาตรวจ เช่น เสมหะ น้ำจากกระเพาะอาหาร น้ำจากช่องปอด น้ำไขสันหลัง นอกจากนั้นหากสามารถเพาะเชื้อโรคได้จะทำให้การวินิจฉัยถูกต้อง การนำมาเพาะเชื้อก็มีความจำเป็นเนื่องจากเชื้อวัณโรคมีการดื้อยาบ่อยทำให้ต้องทราบว่าเชื้อดื้อต่อยาอะไรบ้าง เพื่อจะได้ปรับยาที่ใช้รักษา นอกจากนั้นระยะเวลาก็มีความสำคัญ

 

– ที่มาข้อมูลเรื่องวัณโรค จาก กลุ่มงานโรคติดต่อ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดลพบุรี –