ก้อนถุงน้ำที่ข้อมือ ฉีดยาชาเฉพาะจุด ถุงน้ำ ผ่าตัด เนื้องอก

ก้อนถุงน้ำที่ข้อมือ เนื้องอกชนิดไม่ร้ายแรง พบได้บ่อยในเพศหญิง

ก้อนถุงน้ำที่ข้อมือ หรือ Ganglion Cyst เป็นเนื้องอกประเภทหนึ่งที่ไม่ได้ร้ายแรง มักจะพบว่าขึ้นบริเวณ “หลังข้อมือ” ซึ่งจะมีผนังของก้อนถุงน้ำเป็นเยื่อบุข้อหรือเยื่อหุ้มเส้นติดกับเอ็น ภายในก้อนถุงน้ำจะมีน้ำไขข้อบรรจุอยู่ ก้อนถุงน้ำนี้จะมีช่องติดต่อกับข้อมือ สามารถสังเกตเห็นได้ชัดเวลาง้อหรือพับข้อมือจะเป็นก้อนนูนขึ้นมา บางท่านเกิดใกล้เส้นประสาท ส่งผลให้เวลากดจะมีอาการเจ็บ แต่บางท่านก็สามารถกดได้โดยไม่มีอาการเจ็บ จนอาจลืมสังเกตไปได้…

Home / HEALTH / ก้อนถุงน้ำที่ข้อมือ เนื้องอกชนิดไม่ร้ายแรง พบได้บ่อยในเพศหญิง

ก้อนถุงน้ำที่ข้อมือ หรือ Ganglion Cyst เป็นเนื้องอกประเภทหนึ่งที่ไม่ได้ร้ายแรง มักจะพบว่าขึ้นบริเวณ “หลังข้อมือ” ซึ่งจะมีผนังของก้อนถุงน้ำเป็นเยื่อบุข้อหรือเยื่อหุ้มเส้นติดกับเอ็น ภายในก้อนถุงน้ำจะมีน้ำไขข้อบรรจุอยู่ ก้อนถุงน้ำนี้จะมีช่องติดต่อกับข้อมือ สามารถสังเกตเห็นได้ชัดเวลาง้อหรือพับข้อมือจะเป็นก้อนนูนขึ้นมา บางท่านเกิดใกล้เส้นประสาท ส่งผลให้เวลากดจะมีอาการเจ็บ แต่บางท่านก็สามารถกดได้โดยไม่มีอาการเจ็บ จนอาจลืมสังเกตไปได้

สำหรับสาเหตุหลักของการเกิดก้อนถุงน้ำที่ข้อมือ ไม่มีสาเหตุที่แน่ชัด แต่มักจะพบได้บ่อยในเพศหญิง ช่วงอายุระหว่าง 20-40 ปี ที่อาจมีกิจกรรมที่ใช้ข้อมือบ่อยเป็นระนะเวลายาวนาน จึงอาจจะทำให้เกิดก้อนถุงน้ำที่ข้อมือได้ง่าย

อย่างไรก็ตามเมื่อสังเกตตนเองแล้วว่ามีอาการผิดปกติ หรือลักษณะดังกล่าวเกิดขึ้น ควรจะพบแพทย์เพื่อปรึกษาและวินิจฉัยอาการดังกล่าว เนื่องจากลักษณะก้อนถุงน้ำของแต่ละบุคคล มีลักษณะและอาการแตกต่างกันไป การรักษาและดูแล จึงต่างกัน บางท่านสามารถรักษาได้โดยการใช้ยาทาและกลับไปนวดบริเวณที่มีก้อนนูนขึ้นมา เพื่อให้ถุงน้ำแตกและยุบตามลำดับ แต่บางท่านไม่มีอาการยุบแต่กลับโตมากขึ้น ก็ต้องอาศัยวิธีการเจาะหรือทำการผ่าตัดในลำดับต่อไป

ก้อนถุงน้ำที่ข้อมือ

สำหรับกรณีที่ต้องผ่าตัด แพทย์จะฉีดยาชาเฉพาะจุด แล้วก็เลาะเอาก้อนออก ถ้ามีหลายก้อนก็จะต้องผ่าตัด เอาก้อนออกให้หมด ในกรณีที่ช่องต่อเข้าไปในข้อมือมีขนาดใหญ่ ก็จะต้องตัดเยื่อหุ้ม ข้อมือบางส่วนออกไปด้วยแล้วเย็บซ่อมช่องที่เชื่อมต่อเข้าไปในข้อ มิฉะนั้นจะทำให้มีโอกาสเป็นซ้ำอีกได้

ทั้งนี้ก้อนถุงน้ำที่ข้อมือ มีโอกาสเกิดขึ้นได้กับทุกคน การระมัดระวังในการใช้ข้อมือเป็นสิ่งสำคัญ ควรสังเกตตนเองอย่างสม่ำเสมอ เพื่อการดูแลและรักษาตนในเบื้องต้นได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย

บทความสุขภาพโดย นายแพทย์ณัชพล คุณณะรักษ์ไทย แพทย์ผู้ชำนาญการด้าน ศัลยศาสตร์กระดูกและข้อ สอบถาม โทร. 02-836-9999 ต่อ 2621-3 ศูนย์ศัลยกรรมออร์โธปิดิกส์เฉพาะทาง ชั้น 2 โรงพยาบาลเวิลด์เมดิคอล ถนนเเจ้งวัฒนะ ( WMC )