หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท โรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท

4 กลุ่มเสี่ยงที่จะเกิดโรค หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท ใช่คุณหรือไม่?

The Doctor เรื่องเล่าเรากับหมอ : ตอน หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท   หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท เกิดจากความเสื่อมสภาพของโครงสร้างกระดูกสันหลัง ซึ่งหากใช้งานหนักเกินไปก็จะส่งผลให้เกิดการเสื่อมของหมอนรองกระดูกสันหลังเร็วขึ้น สาเหตุหลักๆเกิดจากอายุและพฤติกรรมการใช้ชีวิตแบบเดิมซ้ำๆ เป็นเวลานาน และนี่คือ 4 กลุ่มเสี่ยงที่จะเป็นโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทได้…

Home / HEALTH / 4 กลุ่มเสี่ยงที่จะเกิดโรค หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท ใช่คุณหรือไม่?
The Doctor เรื่องเล่าเรากับหมอ : ตอน หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท

 

หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท เกิดจากความเสื่อมสภาพของโครงสร้างกระดูกสันหลัง ซึ่งหากใช้งานหนักเกินไปก็จะส่งผลให้เกิดการเสื่อมของหมอนรองกระดูกสันหลังเร็วขึ้น สาเหตุหลักๆเกิดจากอายุและพฤติกรรมการใช้ชีวิตแบบเดิมซ้ำๆ เป็นเวลานาน และนี่คือ 4 กลุ่มเสี่ยงที่จะเป็นโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทได้

หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท

อายุ 20-40 ปี

โรคนี้มักพบบ่อยในกลุ่มที่อายุ 20-40 ปี เป็นกลุ่มวัยทำงานซึ่งมีความสัมพันธ์กับโรคออฟฟิศซินโดรม หมอนรองกระดูกสันหลังจะมีองค์ประกอบของน้ำเป็นส่วนสำคัญ แล้วเมื่อเวลาผ่านไปอายุเพิ่มมากขึ้นน้ำในหมอนรองกระดูกสันหลังก็จะค่อยๆลดลง จะส่งผลให้หมอนรองกระดูกขาดความยืดหยุ่นปริแตกได้ง่าย และกระดูกสันหลังหลวมมากขึ้นอีกด้วย

หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท

ยกของหนัก

คนที่ต้องทำงานยกของหนักมากๆ ยกของไม่ถูกท่า ต้องระวังให้ดีๆเพราะจะทำให้หมอนรองกระดูกยุบตัวลงจนอาจกลายเป็นโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทได้ การทำงานยกของหนักในท่าที่ไม่ถูกต้องหรือมีน้ำหนักมากจนเกินไป โดยใช้กล้ามเนื้อหลังแทนกล้ามเนื้อขาและต้นขาการจะทำให้หมอนรองกระดูกต้องรับน้ำหนักมากเกินไป จนกลายเป็นตัวเร่งให้เกิดหมอนรองกระดูกเสื่อม ดังนั้นจึงควรใช้ท่าย่อเข่าแทนการก้มตัวเพราะอาจจะทำให้เกิดการบาดเจ็บที่หลังได้

ทำงาน

นั่งทำงานทั้งวัน

ผู้ที่ทำงานออฟฟิศต้องทำงานนั่งอยู่หน้าคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานๆ โดยไม่ได้เปลี่ยนอิริยาบถเลย หรือการนั่งท่าที่ไม่ถูกต้องก็ส่งผลให้เกิดความเสี่ยงเป็นโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท เช่น นั่งหลังค่อมนานๆ การยืนเป็นระยะเวลานานๆ การก้มเก็บของโดยไม่ระวัง ดังนั้นควรปรับท่านั่งให้หลังตรงหรือเดินตัวตรง หมั่นเปลี่ยนอิริยาบถบ่อยๆ

ขับรถ

ขับรถทางไกล

การขับรถเป็นเวลานานๆก็ส่งผลต่อร่างกายทำให้เกิดอาการปวดเมื่อยล้าทั้งยังส่งผลเกี่ยวกับโรคกระดูกสันหลัง เพราะการขับรถนานๆโดยเฉพาะคนที่ต้องขับรถนานเกินกว่า 4 ชั่วโมงต่อวันโดยที่ไม่ได้หยุดพัก ยิ่งมีความเสี่ยงของอาการปวดหลังส่วนล่างและกล้ามเนื้อบริเวณสะโพกมากกว่าคนทั่วไปถึง 2 เท่า จึงส่งผลให้เป็นโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทได้