ขี้หู ขี้หูอุดตัน

ขี้หูอุดตัน เกิดจากอะไร? ควรใช้ไม้พันสำลีเช็ดขี้หู หรือ ยาละลายขี้หู

ขี้หู หลายคนเข้าใจว่าขี้หูคือสิ่งสกปรกต้องเช็ดทำความสะอาดออกไปให้หมด ซึ่งความจริงแล้วขี้หูมีประโยชน์เพราะมีคุณสมบัติเป็นกรดอ่อนๆ และยังมีสารต่อต้านเชื้อโรคชนิดต่างๆ ที่สำคัญยังป้องกันไม่ให้สิ่งแปลกปลอมเข้าไปในหู ขี้หูยังช่วยเคลือบและป้องกันอันตรายจากสิ่งต่างๆ เช่น ฝุ่น แมลง ขี้หูจะเคลื่อนที่จากเยื่อบุแก้วหูออกไปยังหูชั้นนอกได้เอง ดังนั้นเราจึงไม่จำเป็นต้องเช็ดทำความสะอาด ขี้หูอุดตัน เกิดจาก ภายในช่องหูชั้นนอก และเมื่อปล่อยไว้นาน…

Home / HEALTH / ขี้หูอุดตัน เกิดจากอะไร? ควรใช้ไม้พันสำลีเช็ดขี้หู หรือ ยาละลายขี้หู

ขี้หู หลายคนเข้าใจว่าขี้หูคือสิ่งสกปรกต้องเช็ดทำความสะอาดออกไปให้หมด ซึ่งความจริงแล้วขี้หูมีประโยชน์เพราะมีคุณสมบัติเป็นกรดอ่อนๆ และยังมีสารต่อต้านเชื้อโรคชนิดต่างๆ ที่สำคัญยังป้องกันไม่ให้สิ่งแปลกปลอมเข้าไปในหู ขี้หูยังช่วยเคลือบและป้องกันอันตรายจากสิ่งต่างๆ เช่น ฝุ่น แมลง ขี้หูจะเคลื่อนที่จากเยื่อบุแก้วหูออกไปยังหูชั้นนอกได้เอง ดังนั้นเราจึงไม่จำเป็นต้องเช็ดทำความสะอาด

ขี้หูอุดตัน เกิดจาก ภายในช่องหูชั้นนอก และเมื่อปล่อยไว้นาน ขี้หูก็จะจับก้อนจนแข็งทำให้ หูอื้อ หูตึง ได้ยินเสียงจากภายนอกไม่ชัด มักจะพบขี้หูอุดตันมากในผู้ที่ชอบใช้ไม้พันสำลีเช็ดขี้หู ติดนิสัยชอบแคะหู เพราะยิ่งแคะขี้หูก็ยิ่งทำให้ขี้หูแข็งมากขึ้นจนเกิดการอุดตันในที่สุด

การใช้ไม้พันสำลีเช็ดทำความสะอาดหู
โดยเฉพาะหลังอาบน้ำแล้วมีน้ำเข้าไปในหูจนทำให้เกิดความรู้สึกรำคาญ เมื่อเรายิ่งไปแคะขี้หูก็ยิ่งเหมือนไปกระตุ้นให้ต่อมสร้างขี้หูผลิตขี้หูออกมาเพิ่มมากขึ้น แล้วยิ่งถ้าเราใช้ไม้ปั่นเข้าไปแรงๆ ลึกๆ อาจทำให้เกิดการถลอก อักเสบติดเชื้อขึ้นมาได้ จนถึงขั้นอาจทำให้เยื่อแก้วหูทะลุได้ เมื่อรู้สึกว่าหูมีอาการผิดปกติควรไปพบแพทย์เพื่อให้ทราบสาเหตุที่แท้จริง แพทย์จะใช้ที่ส่องหูตรวจช่องหูชั้นนอก และหาสาเหตุที่ทำให้หูอื้อหรือหูดับ

ยาละลายขี้หู
มักใช้กับคนที่ขี้หูอุดตันในหูชั้นนอก ขี้หูอาจจะแห้งและแข็งจึงทำให้เอาออกได้ยาก โดยการใช้ยาละลายขี้หูเพื่อให้ขี้หูอ่อนนิ่มลงสามารถเอาออกได้ง่าย การหยอดยาละลายขี้หูควรหยอดในหูเป็นประจำเพื่อล้างขี้หู อาจใช้วันละไม่ต่ำกว่า 4 ครั้ง เพียงหนึ่งสัปดาห์ ก็จะช่วยลดการอุดตันของขี้หูได้

ขี้หูอุดตัน

การตรวจหูโดยทั่วไปแพทย์จะใช้กล้องเอ็นโดสโคป ซึ่งจะให้ผู้ป่วยอยู่ในท่านั่งพิงเก้าอี้และมีที่พิงศีรษะ ถ้ามีอาการหน้าซีด มือชา เวียนหัว ควรรีบบอกแพทย์ทันที
ขั้นตอนแรก แพทย์จะใช้กล้องเอ็นโดสโคปเพื่อตรวจดูหูชั้นนอกและหูชั้นใน ซึ่งแพทย์จะถือไว้เพื่อส่องตรวจดูสักครู่
ขั้นตอนที่ 2 จากนั้นแพทย์จะใช้น้ำฉีดที่รูหู ซึ่งแรงดันของน้ำจะล้างทำความสะอาดรูหูได้ถึงข้างในซึ่งจะทำให้ขี้หูอ่อนนิ่มลงด้วย
ขั้นตอนสุดท้าย แพทย์จะใช้เครื่องมือเพื่อเขี่ยขี้หูออกมาและทำความสะอาดรูหูอีกครั้ง

ข้อควรระวังในการแคะหูด้วยตนเอง
-ไม่ควรใช้ไม้พันสำลีทำความสะอาดรูหู หรือ แคะหู ล้างหู อาจทำให้เกิดการติดเชื้อของหูชั้นนอกและทำให้แก้วหูทะลุได้
-ไม่ควรใช้ปลายเล็บหรืออุปกรณ์ที่มีปลายแหลมอาจทำให้ติดเชื้ออักเสบและแก้วหูทะลุได้
-เมื่ออาบน้ำควรป้องกันไม่ให้น้ำเข้าหูโดยการใช้วาสลีนทา หรือใช้ที่อุดหู หรือใช้หมวกอาบน้ำโดยคลุมให้ปิดใบหูก็จะช่วยป้องกันน้ำไม่ให้เข้าหูได้

เรียบเรียงโดย Health Mthai