คอเลสเตอรอล เป็นไขมันที่จำเป็นต่อร่างกาย ซึ่งประกอบไปด้วย 2 ชนิด คือ คอเลสเตอรอลชนิดดี HDL (High-Density Lipoprotein) และ คอเลสเตอรอลชนิดไม่ดี LDL (Low-Density Lipoprotein) ซึ่งร่างกายจะได้รับมาจาก 2 แหล่งคือเอนไซม์ที่ตับสามารถผลิตได้ส่วนใหญ่และได้รับจากการรับประทานอาหารต่างๆ เมื่อได้รับคอเลสเตอรอลมาเกินไปก็จะทำให้ร่างกายเกิดภาวะ คอเลสเตอรอลในเลือดสูง และมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจขาดเลือด เกิดโรคอัมพฤกษ์
เกณฑ์ระดับคอเลสเตอรอลที่เหมาะสม
- ค่าระดับคอเลสเตอรอลรวม ควรน้อยกว่า 200 มิลลิกรัม/เดซิลิตร
- ระดับ LDL ไม่ควรเกินกว่า 130 มิลลิกรัม/เดซิลิตร
- ระดับ HDL ไม่ควรมากกว่า 40 มิลลิกรัม/เดซิลิตร
8 วิธีง่ายๆ ลดระดับ คอเลสเตอรอลในเลือดสูง
- คนทั่วไปสามารถกินอาหารที่มีคอเลสเตอรอลรวมกันไม่เกิน 300 มิลลิกรัมต่อวัน ส่วนผู้ป่วยโรคเบาหวานควรทานคอเลสเตอรอลไม่เกิน 200 มิลลิกรัมต่อวัน
- ถ้าได้รับค่าคอเลสเตอรอลรวมในเลือดสูงเกิน 200 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ควรลดปริมาณคอเลสเตอรอลที่ได้รับในแต่ละวันให้น้อยที่สุด โดยการควบคุมอาหารต่างๆ
- ทานอาหารที่มีกากใยสูง เช่น แอปเปิ้ล ฝรั่ง เม็ดแมงลัก ผักใบเขียว ถั่วฝักยาว ข้าวโพดอ่อน แครอท ข้าวกล้อง ขนมปังโฮลวีท ธัญพืชต่างๆ จะช่วยลดระดับโคเลสเตอรอล โดยจับกับน้ำดีที่มีโคเลสเตอรอลสูงจึงช่วยทำให้ลดการดูดซึมไขมันได้
- หลีกเลี่ยงอาหารหวานๆมันๆ ขนมปัง เบเกอรี่ อาหารฟาสต์ฟู้ด เนย ครีม เค้ก คุกกี้ โดนัท กะทิ
- ควรเลือกรับประทานอาหารที่มีกรดไขมันโอเลอิก (โอเมก้า 9) เช่น น้ำมันมะกอก น้ำมันรำข้าว ไม่ควรปรุงอาหารจากน้ำมันหมู น้ำมันมะพร้าว และน้ำมันปาล์ม
- หลีกเลี่ยงอาหารที่มีคอเลสเตอรอลสูง เช่น ตับ ไข่แดง เครื่องในสัตว์ หอยนางรม ปู ปลาหมึก เนื้อสัตว์ติดไขมัน ไขมันจากสัตว์
- ออกกำลังกาย 3 วันต่อสัปดาห์ ควรใช้เวลาในการออกกำลังกายประมาณ 20-30 นาทีต่อวันก็จะช่วยลดโคเลสเตอรอลชนิดไม่ดี LDL และช่วยเพิ่มไขมันชนิดดี HDLได้
- งดการดื่มแอลกอฮอล์และสูบบุหรี่ การดื่มเหล้าจะยิ่งทำให้ตับเสียหายและยังส่งผลต่อระดับคอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์
เรียบเรียงโดย Health Mthai Team