คนเราควรนอนพักผ่อนวันละ 8-10 ชั่วโมง บางครั้งการนอนน้อยเกินไปหรือมากเกินไปเมื่อตื่นนอนขึ้นมาจะรู้สึกไม่สดชื่น กระปรี้กระเปร่า ซึ่งการนอนหลับจะเป็นวงจรวนไปตลอดทั้งคืน 1 วงจรจะใช้เวลาประมาณ 90 นาที และนี่ก็คือ กฎนอนหลับ 90 นาที ในแต่ละคืนเราจะนอนหลับตามวงจรได้ประมาณ 5 รอบ ซึ่งหากเราต้องตื่นในช่วงที่หลับลึกอยู่ก็จะทำให้เมื่อตื่นนอนรู้สึกงัวเงีย ไม่สดชื่น นี่คือเหตุผลที่ว่าทำไมนอนมากเกินไปตื่นขึ้นมาแล้วกลับไม่สดชื่น
1. NON REM (NON Rapid Eye Monement)
stage 1 ระยะแรกเป็นช่วงหลับตื้น เราเพิ่งเริ่มหลับประมาณ 5-10 นาที
stage 2 ระยะต่อมาเป็นช่วงเริ่มต้นหลับไปยังหลับลึก ประมาณ 20 นาที
stage 3-4 ช่วงของการหลับลึก เป็นช่วงที่ร่างกายหลั่งโกรทฮอร์โมน หรือ ฮอร์โมนเพื่อการเจริญเติบโต (Growth Hormone) เพื่อฟื้นฟูร่างกาย ถ้าถูกปลุกในช่วงเวลานี้จะรู้สึกงัวเงีย ช่วงนี้ใช้เวลาประมาณ 30 นาที
2. REM (Rapid Eye Monement) ช่วงเวลานี้อาจจะเกิดความฝันขึ้นได้ ประมาณ 10 นาที
ดังนั้นถ้าเราเข้าใจร่างกายและวงจรการนอนหลับก็จะช่วยทำให้การนอนหลับมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ซึ่งมีเทคนิคการนอนที่จะทำให้เราตื่นขึ้นมาแล้วรู้สึกสดชื่นคือ กฎนอนหลับ 90 นาที โดยการนับย้อนกลับไป 90 นาที เป็นจำนวน 5 รอบ เช่น ถ้าอยากตื่นนอน 6 โมงเช้า ก็ควรเข้านอนเวลา 22.30 น. แต่ทั้งนี้ก็สามารถยืดหยุ่นเวลาตามรอบได้ เช่น
ถ้าอยากตื่นนอนตี 5 โมง ควรเข้านอนเวลา 21.30 น. / 23.00 น. / 00.30 น. / 02.00 น.
ถ้าอยากตื่นนอน 6 โมงเช้า ควรเข้านอนเวลา 21.00 น. / 22.30 น. / 24.00 น. / 01.30 น.
ถ้าอยากตื่นนอน 7 โมงเช้า ควรเข้านอนเวลา 22.00 น. / 23.30 น. / 01.00 น. / 02.30 น.
ถ้าอยากตื่นนอน 8 โมงเช้า ควรเข้านอนเวลา 23.00 น. / 00.30 น. / 01.30 น. / 03.30 น.
แต่ทั้งนี้ก็ได้มีการคำนวณเวลาการนอนหลับไว้ที่เว็บไซต์ที่ชื่อว่า https://sleepcalculator.com/ ที่จะช่วยคำนวณเวลาก่อนนอนให้ง่ายขึ้น ซึ่งในเว็บไซต์จะเผื่อเวลาก่อนเข้านอน 15 นาที เพื่อให้เราได้มีเวลาเตรียมตัวก่อนเข้านอน
ลองใช้วิธีนี้ก็จะช่วยทำให้เราตื่นตามรอบการนอนไม่ตื่นในช่วงที่ร่างกายกำลังหลับลึก คราวนี้เมื่อตื่นนอนแล้วก็จะรู้สึกสดชื่นแจ่มใสพร้อมรับวันใหม่แล้ว
เรียบเรียงโดย Health Mthai Team