ผักผลไม้เป็นสิ่งที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย แต่สำหรับผู้ป่วย โรคไต ผักผลไม้บางชนิดอาจก่อให้เกิดพิษต่อร่างกายหากรับประทานในปริมาณที่มากเกินไป ซึ่งผู้ป่วยต้องระมัดระวังผักผลไม้ที่มี สารเหล่านี้
- กรดอ็อกซาลิกสูง สารชนิดนี้เมื่อไปจับกับแคลเซียมจะตกตะกอนเป็นก้อนนิ่วที่ไต ทำให้เกิดเป็นนิ่วอุดตันทางเดินปัสสาวะได้ ดังนั้นผู้ป่วยโรคไตควรหลีกเลี่ยง เช่น แครอท ผักโขม ผักแพว ปวยเล้ง ใบชะพลู มันสำปะหลัง กระเทียม
- โพแทสเซียม เมื่อไตทำงานลดลงการขับโพแทสเซียมทางปัสสาวะก็จะลดลงตามไปด้วย จึงทำให้เกิดการสะสมของโพแทสเซียม ดังนั้นถ้าหากร่างกายได้รับปริมาณโพแทสเซียมมากเกินไปก็จะส่งผลให้ไตทำงานหนัก
ถ้าหากโพแทสเซียมในเลือดสูงเกินกว่า 5.2 ควรงดทานผักผลไม้ที่มีโพแทสเซียมสูง แต่สามารถเลือกทานผลไม้ที่มีโพแทสเซียมต่ำแทน เช่น ชมพู่ แตงโม เงาะ มังคุด ลองกอง ถ้าหากผู้ป่วยไตได้รับโพแทสเซียมสูงเกินไปก็จะมีอันตรายได้ ทำให้ใจสั่น คลื่นไส้ เป็นตะคริว ชีพจรเต้นช้าลง ทำให้หัวใจเต้นผิดปกติจนหยุดเต้นได้
ทุเรียนก้านยาว มีปริมาณโพแทสเซียม 680 มิลลิกรัม
กล้วยหอม มีปริมาณโพแทสเซียม 350 มิลลิกรัม
ลำไย มีปริมาณโพแทสเซียม 220 มิลลิกรัม
แคนตาลูป มีปริมาณโพแทสเซียม 267 มิลลิกรัม
แก้วมังกร มีปริมาณโพแทสเซียม 270 มิลลิกรัม
มะพร้าว มีปริมาณโพแทสเซียม 356 มิลลิกรัม
พลับ มีปริมาณโพแทสเซียม 310 มิลลิกรัม
อะโวคาโด มีปริมาณโพแทสเซียม 480 มิลลิกรัม
เสาวรส มีปริมาณโพแทสเซียม 350 มิลลิกรัม
ทับทิม มีปริมาณโพแทสเซียม 256 มิลลิกรัม
กีวี ปริมาณโพแทสเซียม 310 มิลลิกรัม
น้อยหน่า ปริมาณโพแทสเซียม 247 มิลลิกรัม
ขนุน ปริมาณโพแทสเซียม 448 มิลลิกรัม
ส้มสายน้ำผึ้ง มีปริมาณโพแทสเซียม 230 มิลลิกรัม
ขี้เหล็ก มีปริมาณโพแทสเซียม 520 มิลลิกรัม
น้ำลูกยอ มีปริมาณโพแทสเซียม 2,000 มิลลิกรัม
บร็อคโคลี่ มีปริมาณโพแทสเซียม 300 มิลลิกรัม
ฟักทอง มีปริมาณโพแทสเซียม 310 มิลลิกรัม
มันฝรั่ง มีปริมาณโพแทสเซียม 420 มิลลิกรัม
ผักแพว มีปริมาณโพแทสเซียม 360 มิลลิกรัม
กระถิน มีปริมาณโพแทสเซียม 380 มิลลิกรัม
มันสำปะหลัง มีปริมาณกรดอ็อกซาลิก 1,250 มิลลิกรัม
ใบชะพลู มีปริมาณกรดอ็อกซาลิก 690 มิลลิกรัม
ผักโขม มีปริมาณโพแทสเซียม 550 มิลลิกรัม และ มีปริมาณกรดอ็อกซาลิก 1,090 มิลลิกรัม
แครอท มีปริมาณโพแทสเซียม 370 มิลลิกรัม และ มีปริมาณกรดอ็อกซาลิก 500 มิลลิกรัม