แมลงก้นกระดก ด้วงก้นกระดก หรือ แมลงเฟรชชี่ (Rove beetles) มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า
Paederus fuscipes Curtis โดยมากจะพบได้ในฤดูฝน และอาศัยอยู่บริเวณที่มีใกล้แหล่งน้ำ เช่น นาข้าว ตามพงหญ้า เป็นแมลงขนาดเล็ก หัวและปล้องสุดท้ายมีสีดำ ส่วนลำตัวและท้องสีส้ม แมลงก้นกระดกสามารถสังเกตได้ง่ายๆ เมื่อเกาะกับพื้นจะงอส่วนท้องส่ายขึ้นลง
แมลงก้นกระดกชอบเล่นกับไฟในเวลากลางคืนจึงมักบินเข้าไปในบ้านที่เปิดแสงไฟสว่าง แมลงชนิดนี้ไม่กัดหรือต่อยแต่เมื่อบินไปเกาะตามร่างกายหากไปปัด บี้ ขยี้ หรือตบตีแมลงก้นกระดกก็จะปล่อยสารพิษจากบริเวณช่องท้องออกมา สารพิษชนิดนี้มีชื่อว่า พีเดอริน (Paederin) สารชนิดนี้มีฤทธิ์กรดอ่อนๆ สามารถทำลายผิวหนังและเนื้อเยื่อ จึงทำให้มีผื่นรอยไหม้ ตุ่มน้ำพองใส ผื่นจะมีลักษณะเป็นแนวยาวเส้นตรงตามแนวมือที่ปัดแมลงออกไป ซึ่งจะหายได้ใน 1–2 สัปดาห์ และจะมีตุ่มหนองในเวลา 2-3 วันต่อมา หากพิษเข้าตาก็อาจทำให้ตาบอดได้
วิธีการปฐมพยาบาลเบื้องต้น เมื่อสัมผัสแมลงก้นกระดก
- ให้รีบล้างบริเวณที่สัมผัสด้วยน้ำสะอาดหรือล้างด้วยสบู่
- เช็ดด้วยแอมโมเนีย
- หากแมลงก้นกระดกมาเกาะที่ร่างกาย ห้ามปัดหรือขยี้ด้วยมือเปล่า เพราะจะทำให้ท้องแตก
แล้วจะทำให้ผิวหนังสัมผัสกับสารพิษ ควรใช้ปากเป่าแมลงออกไป - ประคบด้วยผ้าชุบน้ำเย็นบริเวณที่สัมผัสประมาณ 10 – 15 นาที ก็จะช่วยบรรเทาอาการแสบร้อนและแผลพุพอง
- ควรประคบด้วยน้ำเกลือ ครั้งละ 5-10 นาที วันละ3-4 ครั้ง จนกว่าแผลจะแห้ง
- อาการเจ็บปวดจะไม่ได้เกิดขึ้นทันที แต่จะมีอาการหลังสัมผัสแล้วประมาณ 12 ชั่วโมง ถ้าอาการผื่นหรือมีตุ่มพุพองมากขึ้นควรรีบพบแพทย์ทันที
- ตอนกลางคืนควรเปิดไฟเฉพาะที่จําเป็น เพื่อไม่ให้แมลงก้นกระดกมาเล่นกับไฟโดยเฉพาะไฟนีออน
- ก่อนนอนควรปัดที่นอน หมอน ผ้าห่ม ให้เรียบร้อยเพื่อป้องกันแมลงกระด้ก