โฟเลต หรือ กรดโฟลิก เป็นสารอาหารที่พบมากในอาหารจำพวกผักผลไม้ มีความสำคัญในการสร้างเซลล์เนื้อเยื่อต่างๆ ในร่างกายให้เจริญเติบโต อีกทั้งยังสามารถป้องกันโรคมะเร็ง โรคโลหิตจาง ปากแหว่งเพดานโหว่ในเด็กแรกเกิด ได้มีการวิจัยพบว่าหากปริมาณสารโฟเลตในเลือดต่ำจะทำให้สารก่อมะเร็งเข้าโจมตีเซลล์ได้ง่าย โดยการเปลี่ยนแปลงของเซลล์ที่นำไปสู่การเกิดมะเร็งได้นั่นเอง
โฟเลตเป็นสารอาหารที่จำเป็นอย่างมากสำหรับหญิงวัยเจริญพันธุ์ที่เตรียมความพร้อมสำหรับการตั้งครรภ์และผู้หญิงที่กำลังตั้งครรภ์ซึ่งมีผลต่อการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ ทั้งยังมีผลต่อกลุ่มคนที่เป็นโรคที่มีความผิดปกติของพันธุกรรม เช่น ผู้ป่วยโรคธาลัสซีเมีย
ร่างกายของคนเราต้องการโฟเลตวันละ 400 ไมโครกรัม ซึ่งโฟเลตสามารถสูญสลายได้ง่ายด้วยการปรุงอาหารด้วยความร้อน เช่น การต้ม การลวก การผัด ดังนั้นควรรับประทานผักผลไม้สดเพื่อคงคุณค่าสารอาหารไว้ ผักผลไม้ที่มีโฟเลตสูงมีดังต่อไปนี้ ….
ถั่วเหลือง 2 ช้อนโต๊ะ มีปริมาณ โฟเลต 53.7 ไมโครกรัม
ผักคะน้า 1 ช้อนโต๊ะ มีปริมาณโฟเลต 3.2 ไมโครกรัม
ผักโขม 1 ช้อนโต๊ะ มีปริมาณโฟเลต 6.4 ไมโครกรัม
ตำลึง 1 ทัพพี มีปริมาณโฟเลต 12.2 ไมโครกรัม
ขึ้นฉ่าย 1 ทัพพี มีปริมาณโฟเลต 11.4 ไมโครกรัม
ผักกาดหอม 1 ทัพพี มีปริมาณโฟเลต 37.8 ไมโครกรัม
ถั่วงอกหัวโต 1 ทัพพี มีปริมาณโฟเลต 16 ไมโครกรัม
บร็อคโคลี่ 1 ทัพพี มีปริมาณโฟเลต 17 ไมโครกรัม
มะเขือเทศ 1 ทัพพี มีปริมาณโฟเลต 9.8 ไมโครกรัม
ทุเรียน 1 เม็ดกลาง มีปริมาณโฟเลต 23.6 ไมโครกรัม
ส้ม 2 ผล มีปริมาณโฟเลต 70 ไมโครกรัม
องุ่น 7 ผล มีปริมาณโฟเลต 5.5 ไมโครกรัม
สตรอเบอร์รี่ 5 ผล มีปริมาณโฟเลต 9.8 ไมโครกรัม