คนไทยรับประทานโซเดียมกันถึง 3,000-5,000 มิลลิกรัมต่อวันซึ่งเกินกว่าค่ามาตราฐานไปมาก การกินเค็มมากๆ จะทำให้เสี่ยงต่อภาวะความดันโลหิตสูงและ โรคไต ร่างกายคนเราควรได้รับปริมาณโซเดียมในอาหารไม่เกิน 2,000 มิลลิกรัมต่อวัน เทียบเท่ากับเกลือ 1 ช้อนชา อีกทั้งการรับประทานยาไม่ถูกวิธีหรือสะสมเป็นเวลานานก็เป็นสาเหตุให้ไตวายได้ ดังนั้นจึงควรหมั่นดูแลใส่ใจสุขภาพของตัวเอง
10 พฤติกรรมป้องกัน โรคไต
รับประทานอาหารที่มีประโยชน์
หลีกเลี่ยงอาหารไขมันสูง อาหารกระป๋อง อาหารหมักดอง อาหารแปรรูป บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป
ดื่มน้ำเปล่าวันละ 6-8 แก้วต่อวัน
การดื่มน้ำเป็นสิ่งที่สำคัญมาก หากดื่มน้ำน้อยเกินไปก็จะทำให้ปัสสาวะมีความเข้มข้น ซึ่งดื่มน้ำที่ดีควรค่อยๆดื่มทีละนิดทั้งวัน ไม่ควรดื่มน้ำทีเดียวหลายๆแก้ว เพราะจะทำให้ไตทำงานหนักเกินไป
ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
การออกกำลังกายมีหลากหลายวิธีแล้วแต่ความชอบของแต่ละคน ไม่ว่าจะเต้นซุมบ้า เล่นโยคะ พิลาทิส วิ่ง เข้าฟิตเนส ถ้าอยากให้ไตแข็งแรงควรออกกำลังกายปานกลางไม่หักโหมจนเกินไป
ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตราฐาน
ไม่ควรปล่อยตัวเองให้อ้วน เพราะความอ้วนเป็นปัจจัยเสี่ยงที่จะทำให้ป่วยเป็นโรคไตได้ การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดก็ช่วยป้องกันโรคไตได้
นอนพักผ่อนให้เพียงพอ
อย่างนอน 6-8 ชั่วโมงต่อวัน ฝึกนอนหลับให้เป็นเวลา ยิ่งเข้านอนเร็วร่างกายก็จะฟื้นฟูร่างกายได้เร็วขึ้นเท่านั้น
ชิมก่อนปรุงทุกครั้ง
บางคนชอบปรุงอาหารทั้งที่ความจริงแล้วอาหารนั้นๆ อาจมีรสชาติเค็มอยู่แล้ว การยิ่งเทน้ำปลาลงไปเพิ่มจะยิ่งทำให้ได้รับโซเดียมสูงเกินจากความต้องการ ชิมก่อนปรุงทุกครั้งเพื่อสุขภาพที่ดี
ลดการกินอาหารกึ่งสำเร็จรูปให้น้อยลง
ลดปริมาณน้ำจิ้มของการกินต่างๆ เช่น ไก่ทอด สุกี้ หมูกระทะ หอยทอด เฟรนช์ฟรายด์ เพราะในน้ำจิ้มต่างๆมีปริมาณโซเดียมสูง
หลีกเลี่ยงการกลั้นปัสสาวะเป็นเวลานานๆ
หลายคนที่นั่งทำงานออฟฟิศมักกลั้นปัสสาวะเป็นเวลานานๆ ก็จะยิ่งเพิ่มเสี่ยงในการเป็นโรคไตได้
หลีกเลี่ยงการทานยาที่มีผลต่อไต
เช่น ยาแก้อักเสบ ยาแก้ปวดข้อ ปวดเส้น ยาแก้ปวดกล้ามเนื้อ และยามีฤทธิ์ลดอาการอักเสบอย่างรุนแรง
หมั่นตรวจสุขภาพประจำปี
ลองหาเวลาว่างไปตรวจสุขภาพบ้าง ซึ่งมีหลากหลายแพคแกจให้เลือกหรือจะเลือกตรวจเฉพาะโรคก็ได้ ตรวจน้ำตาลในเลือด ความดันโลหิต การทำงานของไต