ย่านาง มีชื่อภาษาอังกฤษว่า Bai-ya-nang ชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Tiliacora triandra (Colebr.) Diels ใบย่านางเป็นสมุนไพรรสจืด เป็นยาเย็น มีฤทธิ์ดับพิษและลดไข้ ตามภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยจะใช้รากย่านางเป็นยา ซึ่งคนส่วนใหญ่นิยมนำใบย่านางไปใช้ในการประกอบอาหารพื้นบ้านไทย เช่น แกงหน่อไม้ ซุปหน่อไม้ แกงเลียง แกงหวาน
สรรพคุณของ ย่านาง
- ใบย่านางมีวิตามินเอสูงใบย่านาง 100 กรัม มีปริมาณวิตามินเอถึง 30,625 IU จึงช่วยบำรุงสายตาได้ดี
- ใบย่านาง 100 กรัม มีปริมาณวิตามินซี 141 มิลลิกรัม จึงช่วยต้านอนุมูลอิสระและช่วยกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน
- รักษาอาการวิงเวียนศีรษะ หน้ามืด เป็นลม
- ป้องกันโรคภูมิแพ้ ไอจาม มีน้ำมูกและเสมหะ
- ช่วยรักษาโรคความดันโลหิตสูง
- ช่วยป้องกันการเกิดโรคหัวใจ
- ช่วยในการบำรุงรักษาตับและไต
- รักษาโรคอีสุกอีใส ตุ่มผื่น ฝีดาษ
- ป้องกันการเกิดโรคเกาต์ โรคปวดข้อ ปวดกระดูก
- บรรเทาอาการท้องเสีย เพราะช่วยฆ่าเชื้อโรคที่ทำให้เกิดการท้องเสียได้
- ช่วยบำบัดอาการของโรคไซนัสอักเสบ
- ช่วยรักษาโรคกระเพาะอาหาร ลำไส้อักเสบ รักษาอาการกรดไหลย้อน
- ช่วยรักษาไทรอยด์เป็นพิษ
- สามารถล้างสารพิษที่สะสมในระบบต่าง ๆ ของร่างกาย
- รักษาเหงือกอักเสบ
- ช่วยรักษามดลูกโต แก้ปวดมดลูก รักษาอาการตกขาว
- ช่วยในการรักษาโรคเริม งูสวัด
- แก้ลิ้นเป็นฝ้าขาว ลิ้นแข็งกระด้าง
- ช่วยแก้พิษจากแมลงสัตว์กัดต่อย
- ช่วยชะลอการเกิดริ้วรอยและความแก่ชรา
- ช่วยรักษาอาการเกร็ง ชัก หรือเป็นตะคริวบ่อย ๆ
- น้ำสมุนไพรใบย่านาง นำใบไปคั้นสดๆ ดื่มเป็นประจำเพื่อปรับสมดุลในร่างกายและยังมีคลอโรฟิลล์จากธรรมชาติอีกด้วย
- ใบย่านางช่วยดับพิษไข้ แก้อาการผิดสำแดง แก้พิษเมา แก้เลือดตก แก้กำเดา ลดความร้อนได้ด้วย
- สารสกัดจากใบมีฤทธิ์แก้ปวด บรรเทาอาการปวดตามกล้ามเนื้อ ปวดชาบริเวณต่างๆ
- รากใบย่างนางใช้แก้ไข้พิษ ไข้หัด ไข้ฝีดาษ ไข้กาฬ ไข้ทับระดู สุกใส
- เถาย่านาง ใช้แก้ไข้ ลดความร้อนในร่างกายได้ดี
- ใบย่านาง มีส่วนช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อมาลาเรีย
- ใบย่านางมีฤทธิ์เย็น สามารถลดน้ำตาลในเลือด ช่วยรักษาโรคเบาหวาน
- ย่านางมีเบต้าแคโรทีนในปริมาณสูง จึงช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระและช่วยชะลอความเสื่อมของเซลล์ในร่างกาย
- นักวิจัยพบว่าสารสกัดจากใบและรากย่านาง มีฤทธิ์ในการรักษาโรคมะเร็ง ทำให้ก้อนมะเร็งฝ่อและเล็กลง และยังลดการดื้อยาจากการรักษาโรคมะเร็ง
ตำรับยาเบญจโลกวิเชียร หรือ ยาห้าราก หรือ แก้ว 5 ดวง
ได้แก่ รากย่านาง รากชิงชี่ รากท้าวยายหม่อม รากคนทา และรากมะเดื่อชุมพร ในอัตราส่วนที่เท่ากัน ซึ่งจัดอยู่ในกลุ่มยาแก้ไข้ที่กระทรวงสาธารณสุขประกาศใช้ในบัญชียาจากสมุนไพรที่มีการใช้ตามองค์ความรู้ดั้งเดิมในบัญชียาหลักแห่งชาติ โดยมีสรรพคุณในการใช้แก้ไข้ กระทุ้งพิษ หรือถอนพิษต่างๆ มีฤทธิ์ต้านการอักเสบ แก้ปวด
ย่านาง 100 กรัม มีคุณค่าทางโภชนาการดังนี้
พลังงาน 95 กิโลแคลอรี่
เส้นใย 7.9 กรัม
แคลเซียม 155 มิลลิกรัม
ฟอสฟอรัส 11 มิลลิกรัม
เหล็ก 7.0 มิลลิกรัม
วิตามินเอ 30625 IU
วิตามินบี1 0.03 มิลลิกรัม
วิตามินบี2 0.36 มิลลิกรัม
ไนอาซิน 1.4 มิลลิกรัม
วิตามินซี 141 มิลลิกรัม
โปรตีน 15.5 เปอร์เซนต์
ฟอสฟอรัส 0.24 เปอร์เซนต์
โพแทสเซียม 1.29 เปอร์เซนต์
แคลเซียม 1.42 เปอร์เซนต์
แทนนิน 0.21 เปอร์เซนต์