ผู้ป่วยโรคไตต้องระมัดระวังอาหารที่มีฟอสฟอรัสสูง เพราะหากร่างกายได้รับในปริมาณที่มากเกินไปก็จะขับออกมาทางปัสสาวะ แต่ถ้าหากไตผิดปกติก็จะทำให้ฟอสฟอรัสสะสมอยู่ในร่างกาย ดังนั้นผู้ป่วยโรคไตจึงควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีปริมาณฟอสฟอรัสสูง นี่คือ อาหารผู้ป่วยโรคไต ที่ควรระวัง!!
อาหารที่มีส่วนผสมของนม เช่น นมสด นมพร่องมันเนย นมเปรี้ยว โยเกิร์ต นมข้นหวาน ไอศกรีม ชานม เนยแข็ง
อาหารที่มีไข่แดงเป็นส่วนประกอบ เช่น ขนมหวานไทย ฝอยทอง ทองหยิบ ขนมหม้อแกง สังขยา ขนมหวานฝรั่ง เบเกอรี่ต่างๆ
ธัญพืช เช่น ถั่วต้ม ถั่วคั่ว งา เมล็ดแตงโม ลูกเดือย ข้าวกล้อง น้ำข้าวกล้อง ข้าวโอ๊ต ข้าวโพด งา เม็ดมะม่วงหิมพานต์ เมล็ดฟักทอง จมูกข้าว ลูกชุบ
เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เช่น น้ำอัดลม น้ำหวาน ชาเย็น กาแฟ ช็อกโกแลต โกโก้ เบียร์ เครื่องดื่มบำรุงกำลัง
ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากถั่ว เช่น เต้าหู้ ซอสถั่วเหลือง น้ำเต้าหู้ นมถั่วเหลือง ฟองเต้าหู้ เต้าฮวย
ผลไม้อบแห้ง เช่น ลูกเกด ลูกพรุน อินทผาลัม สตรอเบอรี่อบแห้ง สับปะรดอบแห้ง ผิวส้มอบแห้ง
อาหารที่มีผงฟูหรือยีสต์ เช่น เค้ก พาย คุกกี้ วาฟเฟิล ขนมปัง แครกเกอร์ ครัวซองต์ โดนัท เวเฟอร์ แป้งซาลาเปา หมั่นโถว ปาท่องโก๋ ขนมปัง พิซซ่า
อาหารทะเลแช่แข็ง เช่น กุ้งแช่แข็ง ปลาแช่แข็ง อาหารสำเร็จรูปแช่แข็ง
เนื้อสัตว์แปรรูป เช่น แฮม ไส้กรอก ลูกชิ้น หมูยอ ไก่หยอง หมูหยอง กุนเชียง แหนม ปูอัด
อาหารที่รับประทานทั้งกระดูก เช่น ปลาเล็กปลาน้อย ปลาแห้ง ปลากรอบ กุ้งแห้ง แมลงทอด ปลากระป๋อง
อาหารผู้ป่วยโรคไต ที่ควรระวังอย่าง เนื้อสัตว์ ไก่ดำ แพะ แกะ ปลาเนื้ออ่อน ปลาดุก ปลาช่อน ปลาทูนึ่ง ปลาตะเพียน ปลากระบอก ปลากราย
ผักที่มีฟอสฟอรัสสูง เช่น กระเพรา ดอกขจร ขี้เหล็ก ชะอม มะเขือพวง ยอดฟัก คะน้า บร็อคโคลี่ แครอท ผักโขม โหระพา ฟักทอง