อาหารที่เรามองดูว่าธรรมดาๆก็อาจจะไม่ปลอดภัยที่จะรับประทาน อย่าง มะเขือเทศ ชาดำที่คุณโปรดปราน หรือ ขนมปังชีส เมนูอาหารธรรมดาๆเหล่านี้สามารถทำร้ายร่างกายของคุณได้โดยเฉพาะอย่างยิ่งกระเพาะอาหาร เป็นเพราะความเป็นกรดของอาหารบางชนิดนั้นสูงมากจึงทำให้เกิดอาการเสียดท้อง กรดไหลย้อน และรู้สึกไม่สบายท้อง นี่จึงเป็นเหตุผลสำคัญที่คุณควรจะรู้ว่าอาหารชนิดใดเป็นอันตรายต่อกระเพาะอาหารแล้วก็พยายามลดการบริโภคอาหารเหล่านี้ซะ!
อาหารต่างๆที่เรารับประทานจะมีค่า pH ในระดับ 1 ถึง 14 อาหารที่มีค่า pH ต่ำกว่า 7 ถือว่าเป็นกรด
- pH 0 – แสดงถึงความเป็นกรด
- pH 7 – แสดงว่ามีความเป็นกลาง
- pH 14 – แสดงถึงความเป็นด่าง
โดยหลักการแล้วเลือดของเราควรมีค่า pH 7.35 – 7.45 ซึ่งถือว่าเป็นด่างเล็กน้อย ส่วนค่า pH ในกระเพาะอาหารของเราควรอยู่ที่ประมาณ 3.5 ถึง 5.5 ซึ่งมีความเป็นกรดค่อนข้างสูง
อาหารรสจัดจ้านและซอสต่างๆ
อาหารรสจัดและซอสปรุงรสต่างๆสามารถทำให้เกิดการระคายเคืองของเยื่อบุหลอดอาหารและทำให้รู้สึกไม่สบายท้อง การบริโภคสอาหารที่เผ็ดมากๆ มักจะทำให้เกิดอาการเสียดท้อง ดังนั้นจึงควรระวังซอสเผ็ดต่างๆ ที่คุณบริโภค เพื่อป้องกันปัญหาเกี่ยวกับโรคกระเพาะอาหาร
pH ของซอสพริก 2.8 – 3.7
เครื่องดื่มคาเฟอีน
เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เช่น กาแฟ ชา เครื่องดื่มชูกำลัง อาจทำให้เกิด กรดไหลย้อน และอาการแสบร้อนกลางอก อีกทั้งยังทำให้หลอดอาหารระคายเคืองหรือส่งผลให้การทำงานของกล้ามเนื้อหูรูดของหลอดอาหารผิดปกติซึ่งจะทำให้เป็นโรคไหลย้อนได้
pH ของกาแฟ 4
pH ของชาดำ 4.9 – 5.5
ค่า pH ของชาเขียว 7 – 10
pH ของเครื่องดื่มให้พลังงาน 3.4
ผลไม้รสเปรี้ยว
ผลไม้รสเปรี้ยวมักมีความเป็นกรด จึงเป็นอาหารอีกชนิดหนึ่งที่คุณควรหลีกเลี่ยงหากคุณมักมีอาการแสบร้อนกลางอก น้ำส้ม น้ำมะนาว น้ำเกรพฟรุต อาจทำให้ระคายเคืองกระเพาะอาหารและทำให้รู้สึกไม่สบายท้องได้
pH ของมะนาว 2.2 – 2.4
pH ของเกรพฟรุต 3.0 – 3.7
pH ของส้ม 3.0 – 4.0
สะระแหน่
เรามักคิดว่าสะระแหน่หรือสเปียร์มินท์ช่วยบรรเทาอาการผิดปกติเกี่ยวกับระบบย่อยอาหาร แต่สิ่งนี้ผิดเพราะสเปียร์มินต์อาจทำให้เกิดกรดไหลย้อนและอาการแสบร้อนกลางอก นอกจากนี้หากคุณดื่มชาเปปเปอร์มิ้นท์ทุกวัน คุณจะมีความเสี่ยงเพิ่มเป็น 2 เท่าในการเกิดอาการแสบร้อนกลางอก
pH ของชาเปปเปอร์มิ้นท์ 6 – 7
มะเขือเทศ
มะเขือเทศมีความเป็นกรดสูงและอาจทำให้เกิดอาการแสบร้อนกลางอกหากคุณรับประทานมากเกินไป อีกทั้งยังไปกระตุ้นการทำงานของต่อมน้ำลายให้ผลิตน้ำลายมากขึ้น
pH ของมะเขือเทศ 4.3 – 4.9
pH ของน้ำมะเขือเทศ 4.1 – 4.6
pH ของมะเขือเทศบดละเอียดเข้มข้น 4.3 – 4.5
เครื่องดื่มแอลกอฮอล์
เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เช่น ไวน์ เบียร์ จะไปกระตุ้นการผลิตกรดในกระเพาะอาหารและการดื่มในระดับปานกลางหรือมากเกินไปอาจทำให้เกิดอาการแสบร้อนกลางอก แอลกอฮอล์จะทำให้กล้ามเนื้อหูรูดผ่อนคลายไม่กระชับ และยังเป็นอันตรายต่อเยื่อบุหลอดอาหาร
pH ของไวน์ 2.5 – 4.5
อาหารไขมันสูงและอาหารทอด
อาหารที่มีไขมันสูงทั้งหลายรวมถึงอาหารทอด เมื่อรับประทานแล้วจะไปรวมกับกรดในกระเพาะอาหารจึงทำให้เกิดอาการจุกเสียดแน่น เนื่องจากไปทำให้กล้ามเนื้อหูรูดผ่อนคลายไม่กระชับ ดังนั้นจึงควรหลีกเลี่ยงอาหารเหล่านี้
อาหารทอด : เฟรนช์ฟรายส์, หัวหอมทอด, มันฝรั่งทอด
ผลิตภัณฑ์นมที่มีไขมัน: ชีส (pH 5.1 – 5.9), นมสด (pH 4.1 – 5,3), เนย (pH 6.7 – 6.9), โยเกิร์ต (pH 4.4 – 4.6)
เนื้อสัตว์ที่มีไขมันสูง : เนื้อหมู, เนื้อแกะ, เบคอน, แฮม น้ำมันหมู (pH 5.8)
ถั่ว: เม็ดมะม่วงหิมพานต์ (pH 5.9), ถั่ววอลนัท (pH 5.4)
น้ำอัดลม
เครื่องดื่มอัดลมต่างๆ ทำให้เพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นกรดไหลย้อน น้ำอัดลมมีฟองที่จะไปขยายตัวในกระเพาะอาหารและยังไปเพิ่มกรดในกระเพาะอาหารอีกด้วย
pH ของ โคคา-โคล่า 2.37
ค่า pH ของ แฟนต้าน้ำส้ม 2.82
ค่า pH ของ สไปรท์ 3.24
กระเทียมและหัวหอมใหญ่
สำหรับผู้ที่เป็นโรคกรดไหลย้อนไม่แนะนำให้รับประทานกระเทียม เพราะจะทำให้เกิดอาการแสบร้อนกลางอกและปวดท้องอีกด้วย หากคุณมีอาการแสบร้อนกลางอกและคุณชอบทานเบอร์เกอร์ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานหัวหอมดิบๆ
pH ของกระเทียม 5.8
pH ของหัวหอมแดง 5.30 – 5.8
ที่มาจาก https://brightside.me/