ยิ่งอายุเพิ่มมากขึ้นก็ยิ่งมีความเสี่ยงเป็นโรคความดันสูง โรคความดันโลหิตสูงมักพบในอายุตั้งแต่ 40-50 ปีขึ้นไป อีกทั้งผู้ที่ชอบรับประทานอาหารเค็มจะทำให้เสี่ยงต่อภาวะความดันโลหิตสูง สำหรับผู้ที่เป็นความดันโลหิตสูงจะต้องควบคุมความดันโดยการรับประทานผักผลไม้มากๆซึ่ง ผักลดความดันโลหิตสูง มีดังต่อไปนี้
มะรุม
มะรุมเป็นอาหารที่เหมาะสำหรับผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงอย่างมาก ทั้งใบและฝักของมะรุมมีสรรพคุณช่วยลดความดันโลหิต โดยนำรากหรือยอดมะรุมมาต้มดื่มเป็นประจำจะช่วยลดความดันได้
ผักกาดขาว
ผักกาดขาวเป็นผักที่มีเส้นใยอยู่สูงมากและเป็นเส้นใยที่ไม่ละลายน้ำจึงสามารถโอบอุ้มน้ำได้เป็นอย่างดี ผักกาดขาวมีแคลเซียมสูงจึงช่วยให้กล้ามเนื้อบีบตัวได้ดี แล้วยังช่วยให้หลอดเลือดทำงานได้ดีขึ้นจึงทำให้ความดันโลหิตลดลง
แตงกวา
แตงกวามีสรรพคุณช่วยแก้กระหาย เพิ่มความสดชื่นให้แก่ร่างกาย ช่วยลดความดันโลหิตและควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ช่วยขับสารพิษตกค้างในร่างกาย และน้ำแตงกวายังมีฤทธิ์ขับปัสสาวะอีกด้วย
บร็อคโคลี่
บร็อคโคลี่มีโพแทสเซียมสูงซึ่งเป็นสารอาหารที่ช่วยในการทำงานของหัวใจ กล้ามเนื้อ ช่วยในการควบคุมความดันโลหิต ป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจและโรคเส้นเลือดหัวใจตีบ
กระเทียม
กระเทียมเป็นพืชผักสวนครัวที่มีสรรพคุณช่วยลดความดันโลหิตสูงได้ดี ช่วยให้เลือดได้ไหลเวียนดีขึ้น ลดอาการเส้นเลือดตีบ ป้องกันโรคหัวใจ และโรคหลอดเลือด
ขิง
ขิงช่วยลดความดันโลหิต และยังช่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อบริเวณรอบๆ หลอดเลือด ทั้งยังช่วยให้ระบบการไหลเวียนโลหิตได้ดี เพียงแค่นำขิงสดฝานบางๆ มาต้มกับน้ำเปล่าดื่มทุกวัน วันละ 1 แก้ว จะช่วยลดความดันโลหิตได้
เซเลอรี่
เซเลอรี่หรือที่บ้านเราเรียกกันว่า ขึ้นฉ่ายฝรั่ง มีสารฟลาโวนอยด์ ที่ช่วยเสริมสร้างการทำงานของหลอดเลือดและช่วยควบคุมความดันโลหิต อีกทั้งยังช่วยบำรุงหลอดเลือดและหัวใจให้แข็งแรง
บีทรูท
ผักกาดฝรั่ง หรือ ผักกาดแดง ได้รับการศึกษาวิจัยว่าสามารถช่วยลดระดับความดันโลหิตได้ บีทรูทมีสารไนเตรตปริมาณสูงซึ่งจะถูกเปลี่ยนเป็นไนตริกออกไซด์ภายในร่างกาย ไนตริกออกไซด์เป็นสารที่มีคุณสมบัติในการทำให้ผนังหลอดเลือดขยายตัว บีทรูทจึงช่วยขยายหลอดเลือดซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงเกี่ยวกับโรคหัวใจและหลอดเลือด