29 LifeSmart : GOOD HEALTH กินเกลือเกินขนาด เสี่ยงป่วยหลายโรค
โรคหัวใจและหลอดเลือด (CVDs) เป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้นๆ ของโลก ในปี 2017 มีคนเสียชีวิตจากโรคนี้โดยประมาณ 17.8 ล้านคน คิดเป็น 32% ของการเสียชีวิตจากทั่วโลก ความดันโลหิตสูงมีความเสี่ยงทำให้เกิดผลแทรกซ้อนของโรคหัวใจและหลอดเลือด โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคหัวใจวายและโรคหลอดเลือดสมอง
มีหลักฐานที่บ่งชี้ว่าการลด กินเค็ม สามารถช่วยลดความดันโลหิตได้ โซเดียมไม่พบเพียงแค่ในเกลือเท่านั้น แต่เรายังพบได้ในอาหารหลากหลายประเภท เช่น นม ครีม ไข่ เนื้อสัตว์ และหอย ซึ่งพบมากในอาหารแปรรูป เช่น ขนมปัง แครกเกอร์ เนื้อสัตว์แปรรูป เบคอน ขนมขบเคี้ยว ชีส พัฟ ข้าวโพดคั่ว รวมทั้งเครื่องปรุงรสต่างๆ เช่น ซอสถั่วเหลือง น้ำปลา น้ำซุป หรือ ซุปก้อน
องค์การอนามัยโลก (WHO) จึงแนะนำให้ลดการบริโภคโซเดียมเพื่อลดความดันโลหิตและลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด โรคหลอดเลือดสมอง และโรคหลอดเลือดหัวใจ WHO ยังแนะนำว่า ผู้ใหญ่ควรบริโภคโซเดียมไม่เกินวันละ 2,000 มิลลิกรัม หรือเทียบเท่ากับเกลือ 1 ช้อนชา
จากผลสำรวจพบว่าคนไทยบริโภคโซเดียมสูงถึง 4,351.7 มิลลิกรัม/วัน ซึ่งสูงกว่าค่าที่องค์การอนามัยโลกแนะนำถึง 2 เท่า จึงทำให้คนไทยเป็นโรคความดันโลหิตสูงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และนี่คืออาหารที่มีโซเดียมแฝงอยู่มากมาย
นม 1 แก้ว มีโซเดียม 120 มิลลิกรัม
ไข่ 100 กรัม มีโซเดียม 124 มิลลิกรัม
หอยต่างๆ 100 กรัม มีโซเดียม 111 มิลลิกรัม
ขนมปัง 1 แผ่น มีโซเดียม 150 มิลลิกรัม
แครกเกอร์ 100 กรัม มีโซเดียม 748 มิลลิกรัม
เบคอน 100 กรัม มีโซเดียม 1,717 มิลลิกรัม
มันฝรั่งทอดกรอบ 1 ซองเล็ก มีโซเดียม 160 มิลลิกรัม
คุกกี้ 100 กรัม มีโซเดียม 524 มิลลิกรัม
ชีส 100 กรัม มีโซเดียม 621 มิลลิกรัม
ซุปก้อน 1 ก้อน มีโซเดียม1,750 มิลลิกรัม
ที่มาจาก https://www.who.int