ตรวจสุขภาพ ป้องกันโรคกระดูกพรุน โรคกระดูกพรุน

โรคกระดูกพรุน มองไม่เห็นแต่อย่าชะล่าใจ รู้ทันป้องกันได้

ประเด็นน่าสนใจ ประเทศไทยมีผู้ป่วยโรคกระดูกพรุนมากกว่า 1 ล้านคน คนไทยประมาณร้อยละ 25 หรือ 1 ใน 4 ไม่รู้ว่าโรคกระดูกพรุนรุนแรงถึงขั้นทำให้พิการหรือเสียชีวิต โรคกระดูกพรุน เป็นโรคที่เกิดขึ้นได้ง่ายกว่าที่คิด มักพบในวัยผู้สูงอายุและพบเพิ่มขึ้นเฉลี่ยปีละ 5…

Home / HEALTH / โรคกระดูกพรุน มองไม่เห็นแต่อย่าชะล่าใจ รู้ทันป้องกันได้

ประเด็นน่าสนใจ

  • ประเทศไทยมีผู้ป่วยโรคกระดูกพรุนมากกว่า 1 ล้านคน
  • คนไทยประมาณร้อยละ 25 หรือ 1 ใน 4 ไม่รู้ว่าโรคกระดูกพรุนรุนแรงถึงขั้นทำให้พิการหรือเสียชีวิต

โรคกระดูกพรุน เป็นโรคที่เกิดขึ้นได้ง่ายกว่าที่คิด มักพบในวัยผู้สูงอายุและพบเพิ่มขึ้นเฉลี่ยปีละ 5 แสนคน ส่วนใหญ่จะพบในช่วงวัยเข้าเลขสี่ เพราะคนวัยนี้มักจะมีความเสื่อมของระบบต่าง ๆ ในร่างกายที่อาจทำให้พิการหรือเสียชีวิตได้ เป็นภัยเงียบที่ต้องให้ความสำคัญและควรระมัดระวังอย่างมาก

สาเหตุของโรคกระดูกพรุนยังไม่ทราบถึงอาการที่แน่ชัด แต่จะพบเมื่ออายุมากขึ้น โดยมวลกระดูกสะสมจะลดลงเรื่อย ๆ สำหรับผู้หญิงเมื่อถึงวัยหมดประจำเดือนก็มีความเสี่ยงที่ทำให้เป็นโรคกระดูกพรุนได้ เพราะฮอร์โมนเอสโตรเจนที่ทำหน้าที่ดูดซึมแคลเซียมในเนื้อกระดูกลดลงอย่างรวดเร็ว เมื่อไม่มีฮอร์โมนชนิดนี้ก็จะทำให้กระดูกบางลง

Osteoporosis

ส่วนผู้ชายมีฮอร์โมนเทสเตอโรนที่ทำหน้าที่ในการสร้างเนื้อกระดูก แต่พออายุขึ้นเลขห้า ฮอร์โมนชนิดนี้ก็จะลดลงอย่างช้า ๆ ทำให้กระดูกบางจนกลายเป็นโรคกระดูกพรุน สุดท้ายแล้วไม่ว่าจะผู้หญิงหรือผู้ชายก็มีโอกาสที่จะเป็นโรคนี้ได้ไม่แตกต่างกัน เพราะความหนาแน่นของมวลกระดูกจะลดลง ทำให้กระดูกพรุนมีโอกาสเสี่ยงต่อกระดูกหักได้ 

ดังนั้นจะต้องใส่ใจดูแลสุขภาพกันมากขึ้น เพราะร่างกายคนเราต้องการแคลเซียมวันละประมาณ 1,000 ถึง 5,000 มิลลิกรัม โดย…

  • ควรรับประทานอาหารที่มีแคลเซียมสูงอย่าง นม โยเกิร์ต ปลาตัวเล็กตัวน้อย เต้าหู้ ถั่วเหลือง เป็นต้น
  • ลดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือคาเฟอีน น้ำอัดลม อาหารเค็มจัด อาหารที่มีโปรตีนจากสัตว์ เลิกสูบบุหรี่ เพื่อป้องกันการลดลงของแคลเซียม
  • หมั่นออกกำลังกายที่ไม่หนัก เช่น เดิน วิ่งเหยาะ ๆ เพื่อป้องกันการเกิดโรคกระดูกพรุน

นอกจากนี้ หากมีอาการเจ็บปวดข้อ ข้อเข่าเสื่อม ข้อสะโพกเสื่อม ข้อมือหรือข้อเท้าได้รับการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ หรือการเล่นกีฬา ควรรีบไปตรวจสุขภาพกระดูกและตรวจกระดูกพรุน ซึ่งสามารถปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางได้ที่ ศูนย์โรคกระดูกและข้อ โรงพยาบาลธนบุรี โดยใช้เทคโนโลยีการรักษาที่เหมาะกับผู้ป่วยแต่ละราย เพื่อการวินิจฉัยอย่างถูกต้อง พร้อมให้บริการกายภาพบำบัด รวมถึงให้คำปรึกษาเรื่องค่าใช้จ่ายเพื่อความสบายใจอุ่นใจในการรักษา ไม่ว่าคุณอยู่ที่ไหน…ความห่วงใยมีให้เสมอ