ผื่นแพ้ ภูมิแพ้อาหารแฝง แพ้อาหาร

ความแตกต่างของ แพ้อาหาร กับ ภูมิแพ้อาหารแฝง

หากพูดถึงการแพ้อาหาร ส่วนใหญ่จะนึกถึงอาการมีผื่นคันขึ้นตามตัว หายใจไม่ออก บวมที่ใบหน้า คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย อาการดังกล่าวนี้เรียกว่าการแพ้อาหารแบบเฉียบพลัน

Home / HEALTH / ความแตกต่างของ แพ้อาหาร กับ ภูมิแพ้อาหารแฝง

หากพูดถึงการแพ้อาหาร ส่วนใหญ่จะนึกถึงอาการมีผื่นคันขึ้นตามตัว หายใจไม่ออก บวมที่ใบหน้า คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย อาการดังกล่าวนี้เรียกว่าการแพ้อาหารแบบเฉียบพลัน แต่ ภูมิแพ้อาหารแฝง คือ อาการผิดปกติที่เกิดขึ้นในระบบย่อยอาหารหลังจากกินอาหารที่แพ้เข้าไป โดยอาการจะไม่รุนแรงเหมือนเวลาแพ้อาหารที่เกิดขึ้นฉับพลัน แต่จะสร้างความรำคาญให้กับคนที่มีอาการ ซึ่งทั้งสองอาการมีความแตกต่างกัน

อาการแพ้อาหาร เกิดจากสิ่งที่รับประทานเข้าไปได้ไปกระตุ้นระบบภูมิต้านทานชนิด IgE ให้ทำงานเกินกว่าปกติ ทำให้ร่างกายเข้าใจว่าสิ่งที่รับประทานเข้าไปเป็นอันตรายต่อร่างกาย จึงแสดงอาการแพ้เกิดขึ้นอย่างเฉียบพลัน แม้ว่าจะรับประทานเพียงเล็กน้อยก็มีผลได้

ในขณะที่ ภูมิแพ้อาหารแฝง ร่างกายจะสร้างสารภูมิต้านทานชนิดอิมมูโนโกลบูลินจี (IgG) ทำปฏิกริยากับอาหารที่แพ้ หากรับประทานในปริมาณเล็กน้อยก็อาจไม่ส่งผลกระทบอะไร โดยส่วนใหญ่ผู้มีอาการจึงมักไม่รู้ว่าตัวเองแพ้อาหารแฝงชนิดไหน นอกจากนี้ภูมิแพ้อาหารแฝงจะแสดงอาการช้ากว่าการแพ้อาหารทั่วไป อาจใช้เวลาถึง 48 ชั่วโมงกว่าจะแสดงอาการ โดยสารภูมิต้านทานชนิดชนิด IgG ที่ร่างกายสร้างขึ้นมานั้นจะค่อยๆทำลายเนื้อเยื่อ หรือไปรบกวนระบบภูมิต้านทานทั้งร่างกาย ทำให้แปรปรวนจนร่างกายเข้าใจผิดว่าเป็นสิ่งแปลกปลอม

ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ภูมิแพ้อาหารแฝงเป็นอาการผิดปกติที่แฝงอยู่ในชีวิตประจำวันโดยที่เราไม่รู้ตัว และเป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องสังเกตอาการผิดปกติต่าง ๆ ของตัวเอง

สำหรับอาการของภูมิแพ้อาหารแฝง ได้แก่ ท้องอืด หรือมีอาการเหมือนกรดไหลย้อน ท้องผูกสลับกับท้องเสีย ปวดท้อง ปวดไมเกรนเรื้อรัง หรือปวดหัว ไอ คลื่นไส้ มีน้ำมูก รู้สึกไม่สบาย ครั่นเนื้อครั่นตัว อ่อนเพลีย มีผื่นขึ้น เป็นลมพิษ

ทั้งนี้การตรวจหาภูมิแพ้อาหารแฝง สามารถทำได้โดยการตรวจจากเลือด วิธีนี้จะนำเลือดไปตรวจหาสารภูมิต้านทานชนิด อิมมูโนโกลบูลินจี (IgG) ต่อสารแปลกปลอม หรืออาหาร หากภูมิต้านทานตอบสนองต่อสารอาหารที่ทดสอบกว่า 200 ชนิด ก็อาจบอกได้ว่ามีภาวะแพ้อาหารแฝงชนิดใดบ้าง

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เพื่อการนำเสนอเนื้อหาที่ดี รวมถึงการจัดการข้อมูลส่วนบุคคล เพื่อให้คุณได้รับประสบการณ์ที่ดีบนบริการของเว็บไซต์เรา หากคุณใช้บริการเว็บไซต์นี้ต่อไปโดยไม่มีการปรับตั้งค่าใดๆนั้น แสดงว่าคุณยอมรับนโยบายคุกกี้และนโยบายส่วนบุคคลของเรา