ภาวะภาวะถุงน้ำในรังไข่ หรือ ภาวะ Polycystic Ovary Syndrome (PCOS) คือ ภาวะที่มีถุงน้ำขนาดเล็ก หรือถุงหุ้มไข่ (follicle) จำนวนมากกระจุกในรังไข่หลายใบ อาจพบได้ในรังไข่ทั้งสองข้างหรือข้างใดข้างหนึ่ง ภาวะนี้จะส่งผลให้ท้องยาก เพราะไข่ไม่โตตามเกณฑ์ ด้อยคุณภาพ และส่งผลให้ประจำเดือนมาช้า หรือ ขาดหาย ซึ่งผู้หญิงแต่ละคนจะมีการแสดงออกของอาการPCOSที่แตกต่างกัน โดยในทางการแพทย์จะทำการการตรวจร่างกายประเมินอาการการแสดงออกของฮอร์โมนเพศชายเกิน และเจาะเลือดเพื่อวัดระดับของฮอร์โมนเพศ ระดับน้ำตาลในเลือดเพื่อตรวจหาภาวะดื้ออินซูลิน รวมถึงตรวจวัดระดับไขมันในเลือด การตรวจภายใน หรือการตรวจอัลตร้าซาวด์ในอุ้งเชิงกราน เพื่อดูลักษณะรังไข่ว่ามีถุงน้ำในรังไข่หลายใบหรือไม่
PCOS เป็นภาวะที่ “ฮอร์โมนไม่สมดุล”
ครูก้อย นัชชา ลอยชูศักดิ์ ครูวิทยาศาสตร์และผู้ก่อตั้งเพจให้ความรู้เตรียมตั้งครรภ์สำหรับผู้มีบุตรยาก โดย บริษัท เบบี้แอนด์มัม (ประเทศไทย) จำกัด ให้ข้อมูลว่า สาเหตุของภาวะ PCOS ค่อนข้างมีความซับซ้อน มีงานวิจัยศึกษาภาวะนี้มากมายและสรุปได้ว่า PCOS เป็นภาวะที่ “ฮอร์โมนไม่สมดุล” ซึ่งเกี่ยวพันกับระบบหลายระบบในร่างกาย และสามารถสังเกตอาการบ่งชี้ได้ ได้แก่ ประจำเดือนมาช้า หรือ ขาดหาย มีบุตรยาก มีฮอร์โมนเพศชายสูง ขนดก เป็นสิว ผมร่วง มีน้ำหนักเกินและเสี่ยงต่อภาวะดื้อต่ออินซูลิน เป็นสาเหตุให้น้ำหนักเพิ่มขึ้น เกิดการสะสมไขมัน และอ้วนง่าย ซึ่งปัจจุบันการรักษา เยียวยาภาวะนี้สามารถทานวิตามินที่ช่วยปรับสมดุลฮอร์โมน ช่วยให้ประจำเดือนมาปกติ ปรับวงจรการตกไข่ และไม่มีผลข้างเคียง ได้แก่ “กรดโฟลิก”และ“อิโนซิทอล”
อิโนซิทอล (Inositol) วิตามินที่ละลายในน้ำ
โดย อิโนซิทอล (Inositol) เป็นวิตามินที่ละลายในน้ำ จัดอยู่ในกลุ่มของวิตามินบีรวม ช่วยให้อินซูลินทำงานดีขึ้น และเยียวยาภาวะถุงน้ำในรังไข่ หรือ ภาวะ Polycystic Ovary Syndrome (PCOS) เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ผู้หญิงมีบุตรยาก เพราะภาวะนี้ส่งผลให้ ไข่ไม่ตกเรื้อรัง ไข่ใบเล็ก ไข่ด้อยคุณภาพ ประจำเดือนขาดหาย ฮอร์โมนไม่สมดุล ซึ่งทำให้ผู้หญิงท้องยากเป็นอันดับต้นๆ และอิโนซิทอล ยังมีประโยชน์ด้านอื่นๆ ต่อร่างกายอีกด้วย โดยมีบทบาทสำคัญในระบบประสาท ช่วยให้พลังแก่เซลล์สมอง ช่วยเร่งกระบวนการเผาผลาญไขมันและคอเลสเตอรอล ช่วยลดการหลุดร่วงของเส้นผม ช่วยป้องกันผิวหนังอักเสบ ทำให้รู้สึกสงบ ช่วยป้องกันภาวะซึมเศร้า วิตกกังวล และ ช่วยฟื้นฟูอวัยวะต่าง ๆ ของผู้ป่วยเบาหวานให้ดีขึ้น
กรดโฟลิก (Folic Acid) หรือเรียกอีกอย่างว่า “โฟเลต” หรือ “วิตามินบี 9”
ส่วน กรดโฟลิก (Folic Acid) หรือเรียกอีกอย่างว่า “โฟเลต” หรือ “วิตามินบี 9” เป็นวิตามินบีชนิดหนึ่งมีปริมาณที่แนะนำให้ทานต่อวันอยู่ที่ 400 ไมโครกรัมสำหรับผู้หญิงเตรียมตั้งครรภ์โดยต้องทานล่วงหน้าอย่างน้อย 3 เดือนก่อนตั้งครรภ์ เพื่อป้องกันภาวะหลอดประสาทไม่ปิด (NTDs) ในทารก เพราะกรดโฟลิกนั้นมีส่วนช่วยในการสร้างตัวอ่อน ช่วยป้องกันและลดความผิดปกติของระบบประสาท ทั้งภาวะไม่มีเนื้อสมอง สมองโป่ง กระดูกสันหลังโหว่ และยังใช้รักษาภาวะเลือดจางจากการขาดกรดโฟลิก อีกด้วย นอกจากนี้กรดโฟลิกยังช่วยซ่อมแซมพันธุกรรม ควบคุมการสร้างกรดอะมิโนที่จำเป็นในการแบ่งเซลล์ ไปจนถึงการสร้างเม็ดเลือดแดงและเม็ดเลือดขาวในไขกระดูกของลูกน้อยในครรภ์ได้อีก
อิโนซิทอล และ กรดโฟลิก มีส่วนช่วยผู้หญิงที่มีภาวะมีบุตรยากที่มีปัญหา PCOS ได้อย่างไร
ครูก้อย นัชชา เผยว่า มีงานวิจัยศึกษาการรับประทานกรดโฟลิกร่วมกับอิโนซิทอลที่เยียวยาภาวะ PCOS ได้ และเป็นวิธีที่ปลอดภัย ไม่มีผลข้างเคียง นักวิจัยเสนอให้ใช้เป็นแนวทางการรักษาผู้มีบุตรยากอันเนื่องมาจากภาวะ PCOS โดยงานวิจัยฉบับนี้ตีพิมพ์ในวารสาร International Journal of Endocrinology เมื่อปี 2016 ของประเทศ Germany ได้ทำการศึกษากับผู้หญิงที่มีบุตรยาก 3,602 คน โดยให้ทานกรดโฟลิกและอิโนซิทอลเป็นเวลา 2-3 เดือน ปริมาณที่ให้ทานคือ โฟลิก 400 ไมโครกรัม และอิโนซิทอล 4 กรัม ต่อวัน
ผลการศึกษาพบว่า 70% ของผู้หญิงที่ทำการทดลอง มีการตกไข่กลับมาเป็นปกติ 545 คน ตั้งครรภ์ คิดเป็น 15.1% ฮอร์โมนเพศชายเทสโทสเตอโรนลดลง ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนสูงขึ้น ซึ่งเป็นฮอร์โมนจำเป็นสำหรับการตั้งครรภ์ ช่วยให้ผนังมดลูกฟอร์มตัวหนาขึ้น พร้อมรับการฝังตัวของตัวอ่อน
อีกงานวิจัยหนึ่งที่ตีพิมพ์ในวารสาร Journal of the Turkish-German Gynecological Association เมื่อปี 2018 ได้รวบรวมผลการศึกษาการเยียวยาผู้หญิงที่มีภาวะ PCOS โดยการให้ทานกรดโฟลิก 400 ไมโครกรัมร่วมกับอิโนซิทอล โดยได้ออกเป็น 3 กลุ่มดังนี้
กลุ่มที่ 1. ทดลองกับผู้หญิง 92 คนที่มีปัญหาเรื่องมาช้าเกิน 35 วัน ประจำเดือนมาน้อย หรือมาห่างกันเกิน 35 วัน (oligomenorrhea) และมีภาวะ PCOS โดยให้ทานโฟลิก 400 ไมโครกรัม และ อิโนซิทอล 4 กรัม ทุกวัน เป็นเวลา 12-16 สัปดาห์ พบว่า มีอัตราไข่ตกเพิ่มขึ้น น้ำหนักลดลง ฟองไข่เจริญเติบโตดีขึ้น ไขมันดี (HDL) เพิ่มขึ้น
กลุ่มที่ 2. ทดลองในผู้หญิง 25 คน ที่ไม่มีประจำเดือนเลย มีภาวะประจำเดือนขาดหาย หรือ บางรายไม่มีประจำเดือนเลยตั้งแต่เข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ (amenorrhea) และมีภาวะPCOS โดยให้ทานโฟลิกและ อิโนซิทอล อย่างละ 4 กรัม ต่อวันเป็นเวลา 6 เดือน พบว่า รอบเดือนเริ่มกลับมาเป็นปกติขึ้น สมรรถภาพของรังไข่ดีขึ้น ฮอร์โมนเพศชาย เทสโทสเตอโรนลดลง
กลุ่มที่ 3. ทดลองในผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์ 42 คน (ช่วงอายุ 18-40 ปี) ที่มีภาวะ PCOS โดยให้ทานโฟลิก 400 ไมโครกรัม และอิโนซิทอล 4 กรัมทุกวัน เป็นเวลา 12-16 สัปดาห์ พบว่า ระดับอินซูลินและฮอร์โมนเพศชายแอนโดรเจนลดลง ช่วยเพิ่มค่าความทนต่อน้ำตาล (glucose tolerance) ซึ่งส่งผลดีต่อการลดความเสี่ยงโรคเบาหวาน
แหล่งอาหารธรรมชาติที่อุดมไปด้วย อินโนซิทอล ได้แก่ ตับ จมูกข้าวสาลี ถั่วลิสง ลูกเกด แคนตาลูป เกรปฟรุต กะหล่ำปลี บริเวอร์ยีสต์ ปัจจุบันผลิตภัณฑ์อาหารเสริมสำหรับผู้มีบุตรยากนิยมใส่อินโนซิทอลเข้าไปด้วย โดยเฉพาะวิตามินเตรียมตั้งครรภ์สำหรับผู้มีบุตรยาก เนื่องจากสะดวกในการรับประทานและมีปริมาณที่เหมาะสม ช่วยบำรุงไข่ให้อ้วนโต ปรับฮอร์โมนให้สมดุล ประจำเดือนมาสม่ำเสมอ ไข่ตกเป็นปกติ
ยิ่งไปกว่านั้น โฟลิกจำเป็นอย่างมากต่อผู้หญิงเตรียมตั้งครรภ์ พบในไข่แดง ตับ ผักใบเขียวเข้ม ผักคะน้า ผักบุ้ง ตำลึง แครอต แคนตาลูป ฟักทอง ถั่ว หรือวิตามินโฟลิกในรูปแบบเม็ดที่องค์การอนามัยโลก (WHO) แนะนำให้ทานล่วงหน้าอย่างน้อย 3 เดือน เพื่อเสริมสร้างการพัฒนาของตัวอ่อนอย่างสมบูรณ์ ลดอัตราทารกพิการแต่กำเนิด โดยผู้มีบุตรยากที่วางแผนเตรียมตั้งครรภ์ ควรเลือกทานวิตามินที่ได้รับการรับรองจากสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ซึ่งนับเป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับผู้มีบุตรยากที่เตรียมตัวก่อนเข้าสู่กระบวนการทำเด็กหลอดแก้ว IVF หรือ ICSI ที่ต้องการจำนวนไข่ที่มีคุณภาพหลายใบ หรือคนที่มีปัญหา PCOS โดยสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิตามินเตรียมตั้งครรภ์และปรับสมดุลฮอร์โมนได้ที่เว็บไซต์ เฟสบุ๊คเพจ และไลน์แอดภายใต้ชื่อเดียวกันที่ BabyAndMom.co.th ครูก้อย นัชชา กล่าวทิ้งท้าย.