ข้อมือ ชาที่มือ พังผืดกดทับเส้นประสาท วิธีดูแลสุขภาพ อาการมือชา เส้นประสาท

ชาที่มือ เวลากลางคืน เวลาตื่นนอน ระวังภาวะ “พังผืดกดทับเส้นประสาทบริเวณข้อมือ”

ข้อมูลเบื้องต้นในการสังเกตอาการ วิธีการป้องกัน รวมไปถึงการรักษา พังผืดกดทับเส้นประสาทบริเวณข้อมือ

Home / HEALTH / ชาที่มือ เวลากลางคืน เวลาตื่นนอน ระวังภาวะ “พังผืดกดทับเส้นประสาทบริเวณข้อมือ”

อาการชาที่มือ ใช้งานไม่สะดวก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเวลากลางคืน เวลาตื่นนอน หรือแม้กระทั่งต้องตื่นกลางดึก มานั่งสะบัดมืออยู่พักใหญ่ อาการจึงจะดีขึ้น พอที่จะกลับไปนอนต่อได้ แสดงว่าท่านกำลังมีภาวะ “พังผืดกดทับเส้นประสาทบริเวณข้อมือ” (Carpal Tunnel Syndrome)

ข้อมูลเบื้องต้นในการสังเกตอาการ วิธีการป้องกัน รวมไปถึงการรักษาพังผืดกดทับเส้นประสาทบริเวณข้อมือ เอาไว้ในบทความให้ความรู้อย่างรอบด้าน

สาเหตุ อาการชาที่มือ

พังผืดกดทับเส้นประสาทบริเวณข้อมือ เป็นอีกโรคหนึ่งที่มักจะเกิดกับผู้ป่วยที่มีความขยันในการทำกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การทำงานบ้าน ทำกับข้าว ทำสวน เล่นกีฬาที่ใช้ข้อมือ และที่พบมากในปัจจุบันคือ การทำงานออฟฟิต รวมไปถึงการใช้โทรศัพท์มือถือเป็นระยะเวลานาน ๆ

อาการ

• มีอาการชา ร้าว รู้สึกแปล๊บ จากข้อมือไปที่บริเวณนิ้วโป้ง นิ้วชี้ นิ้วกลาง หรือนิ้วนาง

• รู้สึกใช้งานมือได้ไม่ปกติ โดยเฉพาะการหยิบจับสิ่งของชิ้นเล็ก ๆ

• ไม่มีแรงในการใช้มือ ทำให้รบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน

• กล้ามเนื้อฝ่อไม่สามารถใช้งานได้

การป้องกัน

• หลีกเลี่ยงการใช้งานที่ต้องมีการขยับข้อมือต่อเนื่องเป็นเวลานาน

• หลีกเลี่ยงท่าที่จะต้องทำให้ข้อมืออยู่ในลักษณะพับงอ

การตรวจวินิจฉัยและการรักษา

เนื่องจากอาการของโรคพังผืดทับเส้นประสาทบริเวณข้อมือนี้ อาจมีอาการคล้ายหรือร่วมกับโรคกระดูกต้นคอทับเส้นประสาทได้ ฉะนั้น หากผู้ป่วยรีบมาพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยได้ในระยะเริ่มแรก จะทำให้การรักษาได้ผลดี และเหมาะสมกับผู้ป่วยที่สุด โดยการรักษาในปัจจุบัน มีดังนี้

• การใส่ตัวประคองข้อมือ

• การทานยาลดการอักเสบ

• การฉีดยากลุ่มสเตียรอยด์

หากรักษาตามวิธีการข้างต้นแล้ว อาการยังไม่ดีขึ้น การรักษาขั้นต่อไป จะเป็นการรักษาโดยการผ่าตัดเพื่อไปเปิดช่องโพรงประสาท โดยมีอยู่ 2 วิธี ดังนี้

• การผ่าตัดส่องกล้อง

• การผ่าตัดเปิดแบบแผลเล็ก

ทั้งนี้ การรักษาแต่ละวิธีจะมีข้อดีและข้อเสียที่แตกต่างกัน ผู้ป่วยจึงควรปรึกษาแพทย์เฉพาะทางมือ เพื่อรับข้อมูลสำหรับใช้ในการวางแผนการรักษาที่เหมาะสมที่สุด

ขอบคุณข้อมูลจาก : พ.ต.ต.นพ.วรพล เจริญพร แพทย์เฉพาะทางด้านศัลยศาสตร์กระดูกและข้อ-ศัลยกรรมทางมือและจุลศัลยกรรม และเวชศาสตร์ป้องกัน ศูนย์กล้ามเนื้อ กระดูกและข้อ โรงพยาบาลนวเวช