ปัญหาสุขภาพ วิธีดูแลสุขภาพ สุขภาพ โรคคาวาซากิ โรคหัวใจ โรคหัวใจระยะยาว

รู้จักภัยเงียบ โรคหัวใจระยะยาว ที่ฝังในโรค “คาวาซากิ” แค่ขึ้นบันได BTS ก็รู้สึกยากเกินไป

แค่ขึ้นบันได BTS ก็ยากเกินไปสำหรับผม รู้จัก โรคหัวใจระยะยาว ที่ฝังในโรค “คาวาซากิ” ผ่านประสบการณ์ของผู้ที่เป็นโรคนี้

Home / HEALTH / รู้จักภัยเงียบ โรคหัวใจระยะยาว ที่ฝังในโรค “คาวาซากิ” แค่ขึ้นบันได BTS ก็รู้สึกยากเกินไป

“แค่ขึ้นบันได BTS ก็ยากเกินไปสำหรับผม” คุณไวท์ – ชาคริต จันทร์รุ่งสกุล Founder & CEO FireOneOne และหนึ่งในผู้ป่วยโรค “คาวาซากิ” (Kawasaki)

โรคหัวใจระยะยาว ที่ฝังในโรค “คาวาซากิ”

ถ้าใครเคยได้ยินเกี่ยวกับ โรคคาวาซากิ คงจะนึกถึงภาพเด็กตัวเล็กๆ ที่มีต่อมน้ำเหลืองโต ตาแดง และมีผื่นขึ้นตามมือ นั่นคืออาการของโรคที่พบบ่อยในเด็ก ส่วนใหญ่จะอายุต่ำกว่า 5 ขวบ และใน 25% จะพบในเด็กอายุต่ำกว่า 1 ขวบ

สาเหตุของโรค เริ่มต้นมาจากการติดเชื้อหรืออาจได้รับสารบางอย่างเข้าไป แล้วไปกระตุ้นภูมิคุ้มกันของร่างกายให้เกิดการทำงานผิดปกติในบางจุด ซึ่งในบางกรณีอาจไปกระตุ้นให้ขั้วหลอดเลือดหัวใจเกิดการโป่งพองขึ้น จนทำให้เกิดโรคหัวใจแทรกซ้อนในวันที่ผู้ป่วยเติบโตเป็นผู้ใหญ่

และนั่นคือกรณีที่ขึ้นเกิดกับคุณไวท์ และเขายังเล่าให้เห็นภาพอีกว่าในตอนอายุ 20 กว่าไม่เคยคิดว่าตัวเองจะใกล้ตาย เขามี heart attack ครั้งแรกในตอนอายุ 23 ครั้งที่สองเมื่ออายุ 28 และเขายังใช้เวลา 20 กว่าปี เพื่อหาสาเหตุการเกิดที่แท้จริงของโรคหัวใจในตัวเขาว่ามันคืออะไร

จนถึงวันที่คุณไวท์ต้องยืนหยุดเดินกลางบันไดระหว่างขึ้นรถไฟฟ้า จากอาการเหนื่อยและหัวใจเต้นด้วยความเร็วผิดปกติ ซึ่งเป็นเหตุการณ์ต่อเนื่อง ทำให้เขามาตรวจจนพบจุดผิดปกติของขนาดเส้นเลือดที่โป่งพองตรงขั้วหัวใจ และเป็นขนาดเฉพาะที่เกิดกับโรคคาวาซากิเท่านั้น

นายแพทย์ณัฐพล เก้าเอี้ยน อายุรแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคหัวใจ โรงพยาบาลพระรามเก้า ให้ข้อมูลว่า การโป่งพองของเส้นเลือดขั้วหัวใจที่เกิดจากโรคคาวาซากิ สามารถทำให้กล้ามเนื้อหัวใจมีความเสื่อม และอาจทำให้เกิด โรคหัวใจห้องบนเต้นสั่นพริ้ว (Atrial Fibrillation: AF) ตามมาได้ หรือหัวใจห้องบนจะไม่ค่อยเต้น แทนที่จะเต้นสัมพันธ์กันเป็นจังหวะระหว่างห้องบนกันล่างเหมือนปกติ แต่กลับทำให้เลือดในหัวใจไหลวนไปมาระหว่างห้องบน-ห้องล่างแทน และอาจทำให้เกิดลิ่มเลือดในหัวใจได้ ซึ่งความอันตรายคือ ลิ่มเลือดนี้มีโอกาสหลุดจากห้องบนมาห้องล่าง หลุดไปตามเส้นเลือดแดงใหญ่ หรืออาจหลุดไปอุดตามเส้นเลือดสมอง ส่งผลให้เกิดเป็นอาการอัมพฤตอัมพาตในท้ายที่สุด

ปัจจุบัน โรค AF และอาการโรคหัวใจที่เกิดจากโรคคาวาซากิ มีวิธีการรักษาด้วยการจี้ไฟฟ้าหัวใจ เพื่อลดอาการหัวใจเต้นผิดปกติลง เช่นเดียวกันกับคุณไวท์ ที่ใช้วิธีเดียวกันนี้ สอดสายเข้าไปตามเส้นเลือดใหญ่ หาจุดที่ไฟฟ้าลัดวงจรในหัวใจให้เจอ แล้วก็เอาไฟจี้ จนจากที่เคยมีอาการอาทิตย์ละครั้ง-สองครั้ง แต่หลังการรักษา 5 เดือนที่ผ่านมา อาการที่เคยเป็นก็หายไป และกลับมามีชีวิต …ที่มีความสุขอีกครั้ง

โรคหัวใจเป็นหนึ่งในภัยเงียบที่ถูกมองข้ามไป แต่กลับคร่าชีวิตคนไทยเฉลี่ยวันละ 48 คน บางชนิดอาจส่งผลในระยะยาวเหมือนในเคสของโรคคาวาซากิ

วิธีการที่จะพาตัวเองออกห่างจากการป่วยนี้ ทำได้ด้วยการหมั่นสังเกต-รู้จักตัวเอง รู้จักคุมอาหาร คุมเวลาพักผ่อน คุมการออกกำลังกาย คุมความเครียด-จัดการความกังวล หรือพาตัวเองไปตรวจสุขภาพกับโรงพยาบาล …อย่างน้อยเพื่อรู้ว่าเรามีสุขภาพหัวใจยังไง


นาฬิกาข้อมือสุขภาพ DTECH รุ่น NB125

นาฬิกาข้อมือ Smart watch เหมาะสำหรับผู้ที่ชื่นชอบออกกำลังกาย และลดน้ำหนัก ช่วยให้บรรลุเป้าหมายการออกกำลังกายได้ง่ายขึ้น มีการแจ้งเตือนเห็นภาพความคืบหน้าผ่านแอปพลิเคชั่น

ราคา 1,299 บาท


ข้อมูลจาก รพ.พระรามเก้า ตรวจความเสี่ยงโรคหัวใจกับโรงพยาบาลพระรามเก้าที่ https://bit.ly/3FnCbeo