Work From Home คอมพิวเตอร์วิชั่นซินโดรม วิธีดูแลสุขภาพ สุขภาพดวงตา

วิธีการสังเกตอาการ คอมพิวเตอร์วิชั่นซินโดรม Work from Home ต้องระวัง!

โควิดทำให้หลายคนต้องชีวิตเปลี่ยน เรียนออนไลน์ Work From Home ซึ่งมีความเสี่ยงกับสุขภาพดวงตา Computer Vision Syndrome

Home / HEALTH / วิธีการสังเกตอาการ คอมพิวเตอร์วิชั่นซินโดรม Work from Home ต้องระวัง!

โควิดทำให้หลายคนต้องชีวิตเปลี่ยน เรียนออนไลน์ Work From Home เพื่อลดความเสี่ยงจากโควิด แต่จริงๆ แล้วก็มีความเสี่ยงอย่างอื่นตามมา โดยเฉพาะโรคที่เกิดขึ้นกับทางสายตาที่เรียกว่า Computer Vision Syndrome รวมถึงในเรื่องการเคลื่อนไหวร่างกายระหว่างวันที่น้อยลง และโรคจากออฟฟิศซินโดรมที่เกิดการจากการนั่งทำงานกับอุปกรณ์ต่างๆ ในท่านั่งที่ไม่ถูกสุขลักษณะ

คอมพิวเตอร์วิชั่นซินโดรม Work from Home ต้องระวัง!

รศ.พญ.งามจิตต์ เกษตรสุวรรณ ภาควิชาจักษุวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ หัวหน้าศูนย์เลเซอร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย กล่าวว่า คอมพิวเตอร์วิชั่นซินโดรม หรือ CVS (Computer Vision Syndrome) คือ กลุ่มอาการทางตาที่เกิดจากการใช้สายตากับคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน ทำให้เกิดอาการปวดเมื่อย มีปัญหาทางตา คอ บ่า ไหล่ โดยเฉพาะการทำงานแบบ Work from Home ทำให้เรามีการใช้คอมพิวเตอร์ แท็บเล็ต และสมาร์ทโฟนมากจนเกินไป โดยอาการคอมพิวเตอร์วิชั่นซินโดรม มักเกิดกับผู้ที่ใช้อุปกรณ์ดังกล่าวต่อเนื่องนานเกินกว่า 2 ชั่วโมงติดต่อกัน

วิธีการสังเกตอาการ คอมพิวเตอร์วิชั่นซินโดรม

  • ตาแห้ง แสบและเคืองตา
  • ปวดเมื่อยตา เหนื่อยตา ไม่ค่อยอยากลืมตา
  • ตาพร่ามัว มองเห็นไม่ชัด โฟกัสได้ช้าลง
  • เวลากระพริบตาอาจมีน้ำตาไหลออกมา
  • ปวดบริเวณกระบอกตา รวมไปถึงปวดศีรษะ หลัง ไหล่ หรือปวดต้นคอ เป็นอาการที่เรียกว่า Office Syndrome

เซต REMAX หูฟัง TRUE WIRELESS รุ่น TWS-3

หูฟังบลูทูธ REMAX แบรนด์สัญชาติอเมริกา เชื่อมต่อแบบไร้สาย ดีไซน์ทันสมัย มีให้เลือก 4 สี น้ำหนักเบา เสียงคมชัด คุณภาพระบบ Stereo ใช้งานต่อเนื่องนานสูงสุดถึง 2 ชั่วโมง ใช้งานสะดวก เพลิดเพลินกับเสียงเพลงในทุกกิจกรรมได้ทุกที่ทุกเวลา

ราคา 2,898 บาท แถมฟรี ลำโพง BLUETOOTH REMAX (รุ่น RB-M11)


วิธีการช่วยลดอาการ คอมพิวเตอร์วิชั่นซินโดรม

  • จัดคอมพิวเตอร์และแป้นพิมพ์ให้อยู่ในระดับที่พอดี
  • ปรับระดับหน้าจอคอมพิวเตอร์ให้เหมาะสมโดยให้จอคว่ำลงประมาณ 15
    องศา
  • ระยะห่างของคอมพิวเตอร์จนถึงระยะสายตาประมาณ 80 – 100
    เซนติเมตร
  • ขนาดตัวหนังสือที่ใช้ต้องมีความสบายตา ไม่เล็กไม่ใหญ่จนเกินไป
  • สีของตัวหนังสือต้องมีความแตกต่างกัน ไม่จ้าเกินไป
  • ปรับความสว่างในห้องทำงาน และหน้าอุปกรณ์ที่ใช้งานให้เหมาะสม
    กะพริบตาบ่อย
  • พักสายตาตามหลัก 20 : 20 : 20 คือ ทุก 20 นาที พักสายตาจากหน้าจอ และมองออกไปไกลระยะ 20 ฟุต เป็นเวลา 20 วินาทีต่อครั้ง
  • วางแก้วน้ำที่ใส่น้ำ 1 แก้วไว้ข้างๆ เพื่อให้น้ำระเหยเพิ่มความชุ่มชื้นมากขึ้น

รศ.พญ.งามจิตต์ กล่าวต่อไปว่า ในยุคที่เด็กๆ ต้องเรียนออนไลน์ โดยใช้อุปกรณ์หลากหลายซึ่งมีทั้ง คอมพิวเตอร์ แท็บเล็ต สมาร์ทโฟน ส่งผลให้เกิดอุบัติการณ์ตาแห้งในเด็กสูงขึ้นถึง 50 % เมื่อเด็กใช้อุปกรณ์เหล่านี้ในการเรียนต่อเนื่องกันกันเป็นเวลานาน รวมถึงการเล่นเกม ก็จะทำให้กล้ามเนื้อตาเกิดอาการเกร็ง ทำให้เด็กต้องบีบตา เค้นตา หรือกระพริบตาแน่นๆ ทำให้ตาแกว่งไปมาซึ่งเป็นความผิดปกติ ร่วมกับอาการตาแห้ง ดังนั้นผู้ปกครองจึงควรเอาใจใส่ให้เด็กๆ หยุดพักการใช้อุปกรณ์เหล่านี้บ้าง รวมถึงดูแลในเรื่องระยะห่างระหว่างสายตากับอุปกรณ์ที่เด็กใช้งานด้วย นอกจากนี้ รศ.พญ.งามจิตต์ ยังได้ฝากถึงการดูแลป้องกันสุขภาพดวงตาของผู้สูงอายุที่เกิดจากต้อซึ่งมีอยู่ 4 ประเภท คือ

  • ต้อลม ต้อเนื้อ เกิดจากความเสื่อมของเยื่อบุตา ที่ผ่านการโดนฝุ่น ลม แสงยูวี ดูแลรักษาด้วยการใส่แว่น หยอดน้ำตาเทียม หรือหยอดยาบางชนิดได้ ต้อชนิดนี้ไม่เกิดอันตราย
  • ต้อกระจก เกิดจากแก้วตาขุ่นมัวจากการใช้งานมานาน
    ทำให้มองเห็นได้ไม่ชัด รักษาได้ด้วยการลอกออกแล้วใส่แก้วตาเทียมใหม่เพื่อทำให้กลับมามองเห็นได้ชัดเหมือนเดิม
  • ต้อหิน พบได้ในผู้ทีมีอายุ 50 ปีขึ้นไป

ต้องมาทำการตรวจตัดกรองว่าเป็นต้อหินชนิดใดเพื่อหาวิธีการในการรักษาที่เหมาะสมต่อไป