กลุ่มเสี่ยง วัคซีนโควิด-19 โรคประจำตัว

7 กลุ่มเสี่ยง โรคประจำตัว ที่ต้องรับวัคซีนโควิด19 โดยเร็ว มีอะไรบ้าง?

หากพบว่าอยู่ใน 7 กลุ่มเสี่ยง โรคประจำตัว ควรได้รับการฉีดวัคซีนโควิด19 ให้เร็วที่สุด เนื่องจากร่างกายของคุณเสื่อมลง อาจจะเกิดความรุนแรงหรืออันตรายถึงชีวิตได้

Home / HEALTH / 7 กลุ่มเสี่ยง โรคประจำตัว ที่ต้องรับวัคซีนโควิด19 โดยเร็ว มีอะไรบ้าง?

สำหรับการรับวัคซีนโควิด19 ผู้ที่มีโรคประจำตัว 7 กลุ่มเสี่ยง หรือคนที่เป็นกลุ่มเสี่ยงที่จะเกิดโรคที่รุนแรงได้นั้น มีอะไรบ้าง หากพบว่าอยู่ในกลุ่มเสี่ยงควรได้รับการฉีดวัคซีนให้เร็วที่สุด เนื่องจากร่างกายของคุณมีประสิทธิภาพการทำงานของอวัยวะในร่างกายเสื่อมลง นอกจากนี้ภูมิคุ้มกันลดลง จึงมีความเสี่ยงสูงหากติดเชื้อโควิด19 ว่าอาจจะเกิดความรุนแรงหรืออันตรายถึงชีวิตได้

7 กลุ่มเสี่ยง โรคประจำตัว รับวัคซีนโควิด19 มีอะไรบ้าง?

1.ผู้ป่วยโรคปอด และโรคทางเดินหายใจเรื้อรัง

ผู้ป่วยโรคปอดและทางเดินหายใจที่มีความเสี่ยงสูง คือ ผู้ป่วยโรคหืดหอบระดับปานกลางถึงรุนแรงและผู้ป่วยโรคปอดเรื้อรัง เช่น โรคหลอดลมอุดกั้นเรื้อรัง ,โรคแอดอักเสบเรื้อรัง และโรคซิสติก ไฟโบรซิส เนื่องจากโควิด-19 มีผลกระทบต่อระบบทางเดินหายใจ กระตุ้นอาการหอบหืดและอาจทำให้เกิดโรคปอดบวมและโรคร้ายแรงอื่นๆ สำหรับผู้ป่วยโรคปอด โควิด-19 อาจทำให้โรคปอดกำเริบหนักขึ้น ทำให้ผู้ป่วยมีอาการรุนแรง

2.ผู้ที่เป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด

ผู้ป่วยโรคหัวใจหากติดโควิด-19 อาจมีอาการหัวใจวาย หรือภาวะหัวใจล้มเหลวได้ อาการโรคหัวใจที่รุนแรงยิ่งขึ้นนี้เกิดจากอาการป่วยของการติดเชื้อไวรัสและการที่หัวใจต้องทำงานหนักขึ้น เช่น หัวใจเต้นเร็วขึ้นจากภาวะไข้ ประกอบกับระดับออกซิเจนที่ต่ำลงจากปอดบวมและโอกาสในการเกิดลิ่มเลือดอุดตันที่สูงขึ้น นอกจากนี้ยังอาจพบภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบเฉียบพลัน (Myocarditis) ในกลุ่มผู้ป่วยโควิด-19 อีกด้วย

3.ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง

ผู้ป่วยโรคไตที่อยู่ในขั้นที่ 3 ถึงขั้นที่ 5 ผู้ป่วยที่รักษาด้วยการฟอกเลือดและผู้ป่วยที่เปลี่ยนถ่ายไตอยู่ในกลุ่มเสี่ยงในการมีอาการรุนแรง ผู้ป่วยที่รักษาด้วยการฟอกเลือดอาจมีภูมิคุ้มกันต่ำกว่าคนปกติทั่วไป นอกจากนี้ผู้ป่วยที่ได้รับการเปลี่ยนถ่ายไตต้องได้รับยากดภูมิคุ้มกันทำให้ภูมิคุ้มกันลดต่ำลงทำให้ติดเชื้อได้ง่ายขึ้น

4.ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง

เป็นปัญหาที่พบได้บ่อย และเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทย สามารถเกิดขึ้นได้ทุกเพศทุกวัย โดยเป็นสาเหตุการตายอันดับต้นๆ ของ ประชากรทั้งหญิงและชาย และยังเป็นสาเหตุของความพิการ และทุพพลภาพ ที่สำคัญ อีกด้วย

5.โรคมะเร็งทุกชนิด

ที่อยู่ระหว่างการรักษาด้วยเคมีบำบัด รังสีบำบัด และภูมิคุ้มกันบำบัด

6.โรคเบาหวาน

ทั้งเบาหวานชนิดที่ 1 และชนิดที่ 2 รวมถึงผู้ป่วยโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ล้วนมีความเสี่ยงในการเกิดอาการรุนแรงหากติดโรคโควิด-19 เนื่องจากผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลได้ไม่ดีและมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าเป้าหมาย มักมีโรคแทรกซ้อนอื่นๆร่วมด้วย นอกจากนี้การติดเชื้อยังทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดผันผวนและควบคุมได้ยาก ทำให้ภูมิคุ้มกันต่ำลงและติดเชื้อได้ง่ายขึ้น รวมถึงเชื้อโรคเจริญเติบโตได้ดีในภาวะน้ำตาลในเลือดสูง

7.โรคอ้วน

ผู้ที่เป็นโรคอ้วนชนิดรุนแรงคือผู้ที่มีค่าดัชนีมวลกายตั้งแต่ 40 ขึ้นไปหรือตั้งแต่ 30 ขึ้นไป สำหรับชาวเอเชีย ผู้ที่เป็นโรคอ้วนชนิดรุนแรงมีความเสี่ยงในการเกิด กลุ่มอาการหายใจลำบากเฉียบพลัน (ARDS) ซึ่งเป็นภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญของโรคโควิด-19 นอกจากนี้ผู้ที่เป็นโรคอ้วนชนิดรุนแรงยังมีโรคประจำตัวเรื้อรังอื่นๆที่ยิ่งเพิ่มความเสี่ยงของการมีอาการที่รุนแรงได้

ข้อควรรู้ การเตรียมตัวก่อนฉีดวัคซีนโควิด-19 กรณีผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว

  • หากรับประทานยา ควรแจ้งให้แพทย์ทราบก่อนได้รับวัคซีน
  • ผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง หัวใจ อัมพฤต อัมพาต ไม่ควรหยุดยา ยกเว้นกรณีที่แพทย์แนะนำให้หยุดยาชั่วคราว เพื่อให้ผลลัพธ์ของวัคซีนมีความแม่นยำ
  • ผู้ที่เป็นโรคเลือดออกได้ง่าย ต้องแจ้งให้แพทย์ทราบก่อนเข้ารับการฉีดวัคซีน เพราะอาจต้องใช้เวลากดแผลบริเวณที่ฉีดให้นานขึ้น เช่น จาก 5 นาทีเป็น 15 นาที หรือนานกว่านั้น และหลังฉีดวัคซีน มีอาการห้อเลือดหรือจ้ำเลือดขึ้น ควรรีบพบแพทย์

ที่มา : รพ.วิชัยเวชฯ หนองแขม