คุณแม่ตั้งครรภ์ ตั้งครรภ์ ฝากครรภ์

ทำไมต้อง ฝากครรภ์ – การปฏิบัติตัวขณะตั้งครรภ์ คุณแม่มือใหม่ควรรู้

สำหรับคุณแม่ทุกท่าน การตั้งครรภ์ อย่างมีคุณภาพ ต้องอาศัยความรู้ความเข้าใจในการดูแลครรภ์ คำแนะนำเกี่ยวกับการ ฝากครรภ์

Home / HEALTH / ทำไมต้อง ฝากครรภ์ – การปฏิบัติตัวขณะตั้งครรภ์ คุณแม่มือใหม่ควรรู้

สำหรับคุณแม่ทุกท่าน การตั้งครรภ์ อย่างมีคุณภาพ ต้องอาศัยความรู้ความเข้าใจในการดูแลครรภ์ รวมถึงการพบแพทย์ตามนัดหมายทุกครั้ง เพื่อติดตามสุขภาพของคุณแม่และเจ้าตัวเล็ก การอบรมครรภ์คุณภาพจึงมีความสำคัญกับคุณพ่อคุณแม่ เพราะจะช่วยเตรียมความพร้อมตลอดการตั้งครรภ์อย่างถูกต้อง ช่วยให้ลูกน้อยลืมตาดูโลกอย่างราบรื่น

ฝากครรภ์ เป็นเรื่องที่สำคัญมาก ข้อควรรู้เมื่อตั้งครรภ์

พญ.คัคณางค์ มิ่งมิตรพัฒนะกุล สูติ – นรีแพทย์ โรงพยาบาลกรุงเทพ กล่าวว่า คุณแม่ที่รู้ตัวว่ากำลังตั้งครรภ์ การฝากครรภ์เป็นเรื่องที่สำคัญมาก สรุปดังนี้

  • เพราะจะช่วยวางแผนให้คุณแม่ดูแลรักษาสุขภาพของทั้งตนเองและทารกในครรภ์ตลอดการตั้งครรภ์จนถึงคลอด
  • ทำให้เจ้าตัวเล็กมีสุขภาพที่แข็งแรงสมบูรณ์ ลดอัตราการเสียชีวิตและภาวะแทรกซ้อนของแม่และเด็ก
  • แพทย์สามารถวินิจฉัย ป้องกัน รักษาความผิดปกติได้ทัน ซึ่งปัญหาที่ตรวจพบระหว่างการตั้งครรภ์ในระยะเริ่มแรกจนถึงก่อนคลอด เช่น ครรภ์แฝด ภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ภาวะครรภ์เป็นพิษ และการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด
  • จึงจำเป็นที่จะต้องมีการตรวจเช็กเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้
  • สำหรับคุณแม่จะมีการตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ตรวจธาลัสซีเมีย ตรวจคัดกรองเบาหวาน ตรวจเชื้อสเตรปโตคอคคัส กลุ่ม บี เป็นเชื้อโรคที่สามารถตรวจพบในช่องคลอดและทวาร ฯลฯ
  • เด็กในครรภ์จะเริ่มด้วยการตรวจอัลตราซาวนด์ ตรวจน้ำคร่ำ ตรวจคัดกรองภาวะดาวน์ซินโดรม โดยจะแปลผลเป็นค่าความเสี่ยง ใช้ระดับฮอร์โมนในเลือดร่วมกับความหนาของ Nuchal Translucency(NT) ถ้าความเสี่ยงสูงแนะนำพิจารณาการเจาะน้ำคร่ำ ถ้าความเสี่ยงต่ำไม่ได้หมายความว่า “ไม่เป็นแน่นอน” ต้องติดตามและดูแลอย่างใกล้ชิด และรวมถึงการตรวจอื่น ๆ เช่น การเจาะเลือดคุณแม่เพื่อประเมินโอกาสเสี่ยงที่ทารกจะมีโครโมโซมผิดปกติ NIFTY Test (Non – Invasive Prenatal Genetic Testing)

การปฏิบัติตัวขณะตั้งครรภ์

การปฏิบัติตัวขณะตั้งครรภ์เป็นสิ่งที่สำคัญมากต่อคุณแม่และเจ้าตัวเล็กที่อยู่ในครรภ์

  1. คุณแม่ควรที่จะแต่งกายด้วยเสื้อผ้าที่หลวมใส่สบาย
  2. ไม่ใส่รองเท้าส้นสูง
  3. ดูแลรักษาฟัน ขูดหินปูน
  4. ดูแลหน้าท้อง ทรวงอก ระบบขับถ่าย
  5. มีเพศสัมพันธ์ด้วยท่าที่เหมาะสม
  6. นอนพักผ่อน 8 – 14 ชั่วโมง
  7. ต้องรับประทานอาหารให้สะอาด ถูกสุขลักษณะ เพิ่มโปรตีน แร่ธาตุ วิตามิน เน้นเนื้อสัตว์ ไข่ นม ถั่ว ผัก และผลไม้
  8. ทานอาหารที่มีแคลอรี่เพิ่มขึ้นร้อยละ 20 งดอาหารรสจัด สุรา ยาเสพติด งดสูบบุหรี่
  9. ไม่ควรทำงานหนักหรือออกกำลังกายจนเหนื่อย โดยการออกกำลังกายควรเริ่มหลังตั้งครรภ์ได้ 4 เดือน
  10. และสิ่งที่สำคัญที่สุดคือคุณแม่ควรลดความเครียด ความกังวลเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ เพื่อสุขภาพจิตที่ดีของตัวคุณแม่และสุขภาพที่แข็งแรงของเจ้าตัวเล็กภายในครรภ์

การตัดสินใจว่าจะคลองเองหรือผ่าตัด

การคลอดเองจะเป็นธรรมชาติที่สุด ซึ่งจะดีต่อคุณแม่และเจ้าตัวเล็ก ทั้งในการปรับตัวหลังคลอดและระหว่างการคลอด แต่การผ่าตัดจะสงวนไว้สำหรับคุณแม่ที่ผิดปกติ ซึ่งแพทย์จะทำการประเมินช่องทางคลอด ตรวจภายใน และประเมินน้ำหนักเด็ก ถ้าประเมินระหว่างคลอดแล้วคุณแม่แข็งแรง ผลตรวจทุกอย่างเป็นปกติ ย่อมหมายถึงโอกาสราบรื่นสูง ได้แก่ การเปิดของปากมดลูกโดยการตรวจภายใน การหดรัดตัวของมดลูกต้องสม่ำเสมอ เสียงหัวใจเด็กรวมกับการเปิดของปากมดลูกการลดลงส่วนนำ หรือเข้าไปในอุ้งเชิงกราน

เมื่อคุณแม่ฝากครรภ์และวางแผนคลอดบุตรกับโรงพยาบาลกรุงเทพ ทางโรงพยาบาลจะจัดอบรมครรภ์คุณภาพเพื่อให้ความรู้แก่คุณพ่อคุณแม่ โดยจะจัดอบรม 2 ครั้ง คือ ครั้งแรกการอบรมคุณแม่ตั้งครรภ์ และครั้งที่ 2 การอบรมเตรียมดูแลบุตร เพื่อเตรียมความพร้อมคุณพ่อคุณแม่ก่อนคลอดให้คลอดบุตรได้อย่างสบายใจ

ข้อมูลจาก: รพ.กรุงเทพ