ค่างวดรถ ค้ำประกันรถยนต์ ถอนค้ำประกัน บุคคลผู้ค้ำประกัน ผู้ค้ำประกัน ยึดรถ ไฟแนนซ์

ค้ำประกันรถยนต์ ให้คนรู้จัก แต่อยาก ถอนค้ำประกัน ทำได้หรือไม่??

เชื่อว่าเคสนี้ต้องเคยเกิดขึ้นกับบางคนมาเเล้วสำหรับการ ค้ำประกันรถยนต์ ให้กับคนรู้จัก เเล้วมาวันหนึ่งอยากถอนตัวเองออกจากการเป็นบุคคล ผู้ค้ำประกัน อาจเพราะเนื่องด้วยสาเหตุหลายประการอย่างเช่น ผู้กู้ไม่ชำระหนี้ตามกำหนด หรือผู้ค้ำไม่ต้องการมีพันธะใดๆ กับผู้กู้จึงอยากถอนตัวจากการเป็น บุคคลค้ำประกัน คำถามคือในเมื่อเป็น บุคคลผู้ค้ำประกัน ให้ผู้อื่นในการกู้ยืมผ่อนชำระ ค่างวดรถ เเล้ว ผู้ค้ำสามารถ ถอนค้ำประกัน ได้หรือไม่?? คำตอบสำหรับเรื่องนี้คือ ผู้ค้ำประกันสามารถถอนตัวออกจากการเป็นบุคคลผู้ค้ำประกันได้…

Home / AUTO / ค้ำประกันรถยนต์ ให้คนรู้จัก แต่อยาก ถอนค้ำประกัน ทำได้หรือไม่??

เชื่อว่าเคสนี้ต้องเคยเกิดขึ้นกับบางคนมาเเล้วสำหรับการ ค้ำประกันรถยนต์ ให้กับคนรู้จัก เเล้วมาวันหนึ่งอยากถอนตัวเองออกจากการเป็นบุคคล ผู้ค้ำประกัน อาจเพราะเนื่องด้วยสาเหตุหลายประการอย่างเช่น ผู้กู้ไม่ชำระหนี้ตามกำหนด หรือผู้ค้ำไม่ต้องการมีพันธะใดๆ กับผู้กู้จึงอยากถอนตัวจากการเป็น บุคคลค้ำประกัน คำถามคือในเมื่อเป็น บุคคลผู้ค้ำประกัน ให้ผู้อื่นในการกู้ยืมผ่อนชำระ ค่างวดรถ เเล้ว ผู้ค้ำสามารถ ถอนค้ำประกัน ได้หรือไม่??

คำตอบสำหรับเรื่องนี้คือ ผู้ค้ำประกันสามารถถอนตัวออกจากการเป็นบุคคลผู้ค้ำประกันได้ เเต่มีข้อเเม้ว่า ผู้กู้จะต้องมีคนค้ำประกันคนใหม่มาเปลี่ยนแทนผู้ค้ำคนเก่าเรื่องนี้ ขึ้นอยู่กับบริษัทไฟแนนซ์จะยินยอมหรือไม่ถ้าหาผู้ค้ำที่น่าเชื่อถือได้ บริษัทไฟแนนซ์จะยินยอมให้เปลี่ยนผู้ค้ำแต่การเปลี่ยนสัญญาจะมีค่าใช้จ่ายตามระเบียบของบริษัทไฟแนนซ์สำหรับค่างวดที่ผิดนัดก็ต้องชำระให้เรียบร้อย แต่หากยังไม่มีู้ใดมาเเทน ผู้ค้ำคนเก่าไม่สามารถถอนการเป็นผู้ค้ำประกันได้ เเละหากผู้กู้เกิดการผิดนัดชำระจ่ายค่างวดเกินกว่าที่ไฟแนนซ์กำหนด ผู้ค้ำก็ต้องเป็นผู้รับผิดชอบหนี้ของผู้กู้ตามเดิม

ค้ำประกัน

ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ระบุว่าตัวผู้ค้ำประกันย่อมต้องผูกพันต่อเจ้าหนี้เพื่อชำระหนี้ในเมื่อผิดนัดไม่ชำระหนี้นั้น ตาม ป.พ.พ. มาตรา 680  ดังนั้น เมื่อมีหนี้ประธานระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้แล้ว  เจ้าหนี้มักจะให้ลูกหนี้หาผู้ค้ำประกันมาทำสัญญาค้ำประกันหนี้ประธานไว้ด้วย  ก็เพื่อเป็นการเพิ่มลูกหนี้เข้ามาเป็นผู้รับผิดตามมูลหนี้ประธานเข้ามาอีก  เพื่อเพิ่มโอกาสของเจ้าหนี้ในการที่จะให้ได้รับชำระหนี้นั้นสูงขึ้น

ค้ำประกัน

ตามกฎหมายแล้วผู้ค้ำประกันย่อมเป็นลูกหนี้ชั้นที่ 2  ในอันที่จะชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ เมื่อลูกหนี้ผิดชำระหนี้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 686  เจ้าหนี้โดยส่วนมากจะไม่ยอมยกเลิกสัญญาค้ำประกันปลดหนี้ให้แก่ผู้ค้ำประกันไปง่าย ๆ  เพราะจะเป็นการทำให้โอกาสที่เจ้าหนี้ได้รับการชำระหนี้ลดน้อยถอยลงโดยการเรียกเอาชำระหนี้แก่ลูกหนี้ชั้นต้นได้แต่เพียงผู้เดียว  เจ้าหนี้จึงมักไม่ดำเนินการยกเลิกสัญญาค้ำประกันจึงยังไม่เกิดขึ้น  ตาม ป.พ.พ. มาตรา 686  ท่านก็ย่อมสามารถที่จะทำธุรกรรมเกี่ยวกับการเงินของตนเองได้ ไม่มีบทบัญญัติห้ามท่านไว้แต่ประการใด

ขั้นตอนในกรณีที่ผู้ค้ำประกันประสงค์ที่จะยกเลิกการเป็นผู้ประกันตามสัญญาค้ำประกัน สามารถติดต่อกับไฟแนนซ์ที่เป็นคู่สัญญากับท่านโดยตรง ฉะนั้นหากไม่อยากยุ่งยากในการดำเนินการเปลี่ยนตัวผู้ค้ำประกัน ก่อนจะค้ำประกันให้ใคร ควรพิจารณาให้ดีว่าคนที่คุณจะค้ำประกันให้มีคุณสมบัติเหมาะสม เป็นบุคคลที่น่าเชื่อถือได้หรือไม่ อย่าค้ำประกันให้ใครด้วยความเกรงใจ เพราะผลลัพธ์ที่ออกมาจะส่งผลเสียให้กับผู้ค้ำเอง