ประกันรถยนต์ภาคบังคับ ของทั้ง รถยนต์ จักรยานยนต์ หรือที่คนส่วนใหญ่พูดติดปากกันว่า พ.ร.บ. ที่ต้องทำควบคู่กันทุกครั้งที่นำรถไป เสียภาษี ในทุกปี จะมีใครรู้บ้างไหมว่า สิทธิประโยชน์ ที่มีในนั้นคุ้มครองอะไรกับเราบ้าง และที่ว่าสามารถเบิกเงินได้ร่วมหลักแสนนั้นจริงหรือไม่อย่างไร ลองมาดูกัน
สำหรับการคุ้มครองที่เราจะได้รับจาก พ.ร.บ. ของทั้ง รถยนต์ จักรยานยนต์ นั้นก็มีดังนี้คือ ค่าใช้จ่ายที่เราสามารถเบิกได้เลยโดยที่ไม่ต้องสืบหาว่าเราผิดหรือถูก
- ค่ารักษาพยาบาล จากการบาดเจ็บ จ่ายตามจริง สูงสุดไม่เกิน 30,000 บาท
- ในกรณีที่เกิดการเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ รวมไปถึงทุพพลภาพถาวรจ่าย 35,000 บาท
- ในกรณีที่มีทั้ง 2 ข้อข้างบนรวมกันจ่ายทันที ไม่เกิน 65,000 บาท
ในส่วนของ ค่าสินไหมทดแทน ผู้เคลมจะได้รับหลังจากที่ผ่านการสืบสวน และได้ข้อสรุปตามกฏหมายแล้วว่าเป็นฝ่ายถูก ซึ่งจะแบ่งเป็นจำนวนเงินได้ดังนี้คือ
- จ่ายค่ารักษาพยาบาลสูงสุดไม่เกิน 80,000 บาท
- ในกรณีที่เกิดการเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ รวมไปถึงทุพพลภาพถาวร เช่น สูญเสียข้อมือหรือแขน รวมไปถึงตาบอด ตั้งแต่สองส่วนขึ้นไป จ่าย 300,000 บาท
– หากมีการสูญเสียอวัยวะ เช่นแขน หรือข้อมือ รวมไปถึงการส่งผลกระทบเป็นเหตุให้หูหนวกตาบอด พูดไม่ได้ สูญเสียอวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่ง จ่าย 250,000 บาท
– สูญเสียข้อนิ้ว 1 นิ้วขึ้นไป จ่าย 200,000 บาท - ค่ารักษาตัวในกรณีที่ต้องนอนรักษาตัวในโรงพยาบาลจ่ายไม่เกิน 200 บาท/วัน แต่จะจ่ายให้ไม่เกิน 20 วัน คิดเป็นยอดรวมไม่เกิน 4,000 บาท
- จำนวนเงินที่คุ้มครองยอดรวมนั้นไม่เกิน 304,000 บาท
ส่วนเอกสารที่ต้องเตรียมเพื่อใช้ในการยื่นเพื่อเคลมก็แบ่งได้เป็นกรณีดังนี้ คือ
บาดเจ็บ
- สำเนาบัตรประชาชนผู้ประสบอุบัติเหตุ
- ใบเสร็จรับเงินตัวจริง หากมีการเบิกค่าชดเชยหรือเป็นผู้ป่วยใน
ทุพพลภาพ
- สำเนาบัตรประชาชนผู้ประสบอุบัติเหตุ
- ใบรับรองแพทย์ และหนังสือรับรองการเป็นผู้ป่วยใน
เสียชีวิต
- สำเนาบัตรประชาชนผู้ประสบอุบัติเหตุ รวมไปถึงใบมรณบัตร
- สำเนาบัตรประชาชนทายาท และสำเนาทะเบียนบ้าน
- สำเนาบันทึกประจำวันนคดีจากพนักงานสอบสวน หลักฐานที่แสดงว่าผู้ประสบอุบัติเหตุนั้นเสียชีวิตจากรถ
เมื่อเราเตรียมเอกสารดังกล่าวที่ว่ามาครบแล้ว เราก็ทำเรื่องขอเบิกเงิน จาก บริษัท กลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถได้ทุกสาขาทั่วประเทศ หลังจากนั้นก็รอการดำเนินการและรับเงินชดเชย