นายสุรศักดิ์ สุทองวัน รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด รายงานสถิติการขายรถยนต์ประจำเดือนพฤษภาคม 2564 ยอดขายรวมทั้งสิ้น 55,948 คัน เพิ่มขึ้น 38.4% ประกอบด้วย รถยนต์นั่ง 15,569 คัน เพิ่มขึ้น 32.7% รถยนต์เพื่อการพาณิชย์ 40,379 คัน เพิ่มขึ้น 40.6% ขณะที่ รถกระบะขนาด 1 ตัน ในเซกเมนท์นี้ มีจำนวน 31,778 คัน เพิ่มขึ้น 37.3%
ตลาดรถยนต์เดือนพฤษภาคม 2564 มีปริมาณการขาย 55,948 คัน เพิ่มขึ้น 38.4% โดยตลาดรถยนต์นั่งมีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้น 32.7% ตลาดรถยนต์เพื่อการพาณิชย์มีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้น 40.6% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา สืบเนื่องจากข้อเสนอพิเศษที่หลากหลาย และกิจกรรมส่งเสริมการขายจากค่ายรถยนต์ที่มีการแข่งขันอย่างเข้มข้นต่อเนื่อง ส่งผลกระตุ้นการตัดสินใจซื้อของลูกค้า ตลอดจนการจัดการฉีดวัคซีน COVID-19 ของภาครัฐที่เป็นรูปธรรมมากขึ้น ส่งผลให้ผู้บริโภคมีความเชื่อมั่น คลายความวิตกกังวล และจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น ผนวกกับการทยอยส่งมอบรถที่ลูกค้าจองในงาน บางกอก อินเตอร์เนชั่นแนล มอเตอร์โชว์ ที่ผ่านมา เป็นปัจจัยเสริมที่สำคัญอีกประการหนึ่ง
ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ เดือนพฤษภาคม 2564
1.ตลาดรถยนต์รวม ปริมาณการขาย 55,948 คัน เพิ่มขึ้น 38.4%
อันดับที่ 1 Toyota 19,767 คัน เพิ่มขึ้น 45.2% ส่วนแบ่งตลาด 35.3%
อันดับที่ 2 Isuzu 14,866 คัน เพิ่มขึ้น 46.8% ส่วนแบ่งตลาด 26.6%
อันดับที่ 3 Honda 4,998 คัน เพิ่มขึ้น 19.6% ส่วนแบ่งตลาด 8.9%
2.ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 15,569 คัน เพิ่มขึ้น 32.7%
อันดับที่ 1 Toyota 4,824 คัน เพิ่มขึ้น 35.6% ส่วนแบ่งตลาด 31.0%
อันดับที่ 2 Honda 4,380 คัน เพิ่มขึ้น 24.6% ส่วนแบ่งตลาด 28.1%
อันดับที่ 3 Mazda 1,527 คัน เพิ่มขึ้น 50.9% ส่วนแบ่งตลาด 9.8%
3.ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 40,379 คัน เพิ่มขึ้น 40.6%
อันดับที่ 1 Toyota 14,943 คัน เพิ่มขึ้น 46.8% ส่วนแบ่งตลาด 36.8%
อันดับที่ 2 Isuzu 14,866 คัน เพิ่มขึ้น 48.6% ส่วนแบ่งตลาด 37.0%
อันดับที่ 3 Ford 2,702 คัน เพิ่มขึ้น 94.9% ส่วนแบ่งตลาด 6.7%
4.ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน (Pure Pick up และ รถกระบะดัดแปลง PPV*) ปริมาณการขาย 31,778 คัน เพิ่มขึ้น 37.3%
อันดับที่ 1 Isuzu 13,403 คัน เพิ่มขึ้น 43.8% ส่วนแบ่งตลาด 42.2%
อันดับที่ 2 Toyota 12,519 คัน เพิ่มขึ้น 37.0% ส่วนแบ่งตลาด 39.4%
อันดับที่ 3 Ford 2,702 คัน เพิ่มขึ้น 94.9% ส่วนแบ่งตลาด 8.5%
*ปริมาณการขายรถกระบะดัดแปลง (ในตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน) 4,039 คัน
- Toyota 2,023 คัน
- Isuzu 1,143 คัน
- Mitsubishi 451 คัน
- Ford 390 คัน
- Nissan 32 คัน
5. ตลาดรถกระบะ Pure Pick up ปริมาณการขาย 27,739 คัน เพิ่มขึ้น 34.9%
อันดับที่ 1 Isuzu 12,260 คัน เพิ่มขึ้น 36.9% ส่วนแบ่งตลาด 44.2%
อันดับที่ 2 Toyota 10,496 คัน เพิ่มขึ้น 34.0% ส่วนแบ่งตลาด 37.8%
อันดับที่ 3 Ford 2,312 คัน เพิ่มขึ้น 108.5% ส่วนแบ่งตลาด 8.3%
สถิติการจำหน่ายรถยนต์ เดือนมกราคม – เมษายน 2564
1.ตลาดรถยนต์รวม ปริมาณการขาย 308,217 คัน เพิ่มขึ้น 13.9%
อันดับที่ 1 Toyota 94,848 คัน เพิ่มขึ้น 17.3% ส่วนแบ่งตลาด 30.8%
อันดับที่ 2 Isuzu 79,067 คัน เพิ่มขึ้น 33.1% ส่วนแบ่งตลาด 25.7%
อันดับที่ 3 Honda 35,376 คัน ลดลง 0.4% ส่วนแบ่งตลาด 11.5%
2.ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 97,813 คัน ลดลง 1.1%
อันดับที่ 1 Honda 30,164 คัน เพิ่มขึ้น 1.6% ส่วนแบ่งตลาด 30.8%
อันดับที่ 2 Toyota 24,289 คัน ลดลง 3.3% ส่วนแบ่งตลาด 24.8%
อันดับที่ 3 Nissan 9,739 คัน ลดลง 10.7% ส่วนแบ่งตลาด 10.0%
3.ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 210,404 คัน เพิ่มขึ้น 22.2%
อันดับที่ 1 Isuzu 79,067 คัน เพิ่มขึ้น 33.1% ส่วนแบ่งตลาด 37.6%
อันดับที่ 2 Toyota 70,559 คัน เพิ่มขึ้น 26.6% ส่วนแบ่งตลาด 33.5%
อันดับที่ 3 Ford 13,575 คัน เพิ่มขึ้น 38.6% ส่วนแบ่งตลาด 6.5%
4.ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน (Pure Pick up และ รถกระบะดัดแปลง PPV*) ปริมาณการขาย 163,765 คัน เพิ่มขึ้น 19.7%
อันดับที่ 1 Isuzu 72,457 คัน เพิ่มขึ้น 31.3% ส่วนแบ่งตลาด 44.2%
อันดับที่ 2 Toyota 59,669 คัน เพิ่มขึ้น 22.0% ส่วนแบ่งตลาด 36.4%
อันดับที่ 3 Ford 13,575 คัน เพิ่มขึ้น 38.6% ส่วนแบ่งตลาด 8.3%
*ปริมาณการขายรถกระบะดัดแปลง (ในตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน) 24,130 คัน
- Toyota 10,540 คัน
- Isuzu 8,250 คัน
- Mitsubishi 3,079 คัน
- Ford 2,145 คัน
- Nissan 116 คัน
5.ตลาดรถกระบะ Pure Pick up ปริมาณการขาย 139,635 คัน เพิ่มขึ้น 13.7%
อันดับที่ 1 Isuzu 64,207 คัน เพิ่มขึ้น 21.7% ส่วนแบ่งตลาด 46.0%
อันดับที่ 2 Toyota 49,129 คัน เพิ่มขึ้น 12.9% ส่วนแบ่งตลาด 35.2%
อันดับที่ 3 Ford 11,430 คัน เพิ่มขึ้น 42.8% ส่วนแบ่งตลาด 8.2%
ตลาดรถยนต์ในเดือนมิถุนายนมีแนวโน้มชะลอตัว สืบเนื่องจากความกังวลต่อการระบาดของไวรัส COVID-19 มีแนวโน้มรุนแรงอย่างต่อเนื่อง โดยการแพร่ระบาดในระลอกนี้มีความรุนแรงมากกว่าระลอกก่อน รวมถึงการตรวจพบผู้ติดเชื้อในคลัสเตอร์ใหม่ๆ เพิ่มขึ้น เป็นปัจจัยสำคัญที่กระทบต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจให้ต้องชะลอ หรือเลื่อนกำหนดการออกไป ทั้งนี้ยังส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่มีต่อเศรษฐกิจโดยรวม และทำให้ผู้บริโภคชะลอการตัดสินใจซื้อรถยนต์ด้วยเช่นกัน อย่างไรก็ดียังมีความหวังว่าสถานการณ์ต่างๆ จะฟื้นตัวดีขึ้นจากความพยายามของภาครัฐในการแก้ไขปัญหา ควบคู่ไปกับการดำเนินการฉีดวัคซีนเข็มแรกให้กับคนไทยครบ 50 ล้านคนภายในสิ้นปี ซึ่งจะก่อให้เกิดภูมิคุ้มกันหมู่ และสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชนในการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจได้อย่างเป็นรูปธรรม