นิสสัน ฟิวเจอร์ส เปิดเผยผลวิจัยล่าสุดของฟรอสต์ แอนด์ ซัลลิแวน (Frost & Sullivan) องค์กรที่ปรึกษาด้านกลยุทธ์และงานวิจัยทางธุรกิจชื่อดังระดับโลก เปิดเผยว่า ผู้บริโภคชาวไทยมีความต้องการ มีความสนใจและตื่นตัวต่อระบบขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าเป็นอันดับหนึ่งในภูมิภาคอาเซียน ผลวิจัยชี้ให้เห็นถึง 3 เทรนด์หลักที่เกิดขึ้นในประเทศไทย ได้แก่ความตระหนักในเรื่องสิ่งแวดล้อมที่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ความเข้าใจที่ดีขึ้นในเทคโนโลยีรถยนต์ไฟฟ้า และเทคโนโลยี e-POWER
โดยงานวิจัยด้านระบบขับเคลื่อนพลังงานไฟฟ้าจัดทำขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อปี 2561 เพื่อเก็บข้อมูลเปรียบเทียบผู้บริโภคในประเทศต่าง ๆ จากนั้นในเดือนกันยายน 2563 บริษัท ฟรอสต์ แอนด์ ซัลลิแวน ได้ทำการศึกษาอีกครั้งจาก 6 ตลาดในภูมิภาคอาเซียน ประกอบไปด้วยประเทศไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ และเวียดนาม ทั้งนี้ งานวิจัยฉบับที่ 2 เพิ่งได้รับการเผยแพร่ ในงานสัมมนาออนไลน์ “นิสสัน ฟิวเจอร์ส – เดินหน้าสู่สังคมแห่งการขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าและอนาคตแห่งวงการรถยนต์ (Nissan FUTURES- Electrification and Beyond)” ในระดับภูมิภาคเมื่อไม่นานมานี้
สำหรับประเทศไทย จากการสำรวจพบว่า มีจำนวนร้อยละ 43 ของผู้ใช้รถยนต์ที่ไม่ใช่พลังงานไฟฟ้าจะเลือกพิจารณารถยนต์ไฟฟ้าอย่างแน่นอนหากจะต้องซื้อรถยนต์คันต่อไปในอีกสามปีข้างหน้า ผลสำรวจยังระบุอีกว่าผู้ตอบแบบสอบถามมีความกระตือรือร้นในการพิจารณาเลือกซื้อรถยนต์พลังงานไฟฟ้ามากที่สุดในภูมิภาคอาเซียน เช่นเดียวกับอินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์
แต่ผลงานวิจัยที่น่าสนใจที่สุด คือ ประเทศไทยมีจำนวนผู้ที่เข้าใจเรื่องเทคโนโลยีรถยนต์ไฟฟ้ารวมถึงวิธีการใช้งานเพิ่มมากขึ้นร้อยละ 53 โดยวัดจากผู้ที่ร่วมตอบแบบสำรวจนอกจากนี้ ผลสำรวจยังชี้ให้เห็นว่า จำนวนที่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยถึงร้อยละ 33 ของผู้ร่วมตอบแบบสำรวจ จะเลือกพิจารณาซื้อรถยนต์ไฟฟ้าเมื่อเทียบกับห้าปีที่ผ่านมา
ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมเป็นแรงผลักดันใหม่ที่ช่วยกระตุ้นให้เกิดความต้องการด้านพลังงานไฟฟ้า
ปัจจัยอันดับต้น ๆ ในประเทศไทยที่ทำให้ผู้ตอบแบบสอบถามเลือกซื้อรถยนต์ไฟฟ้า คือการใช้รถยนต์ไฟฟ้านั้นจะช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เป็นอย่างมาก ซึ่งกระแสสร้างโลกสีเขียวนี้ทำให้ร้อยละ 90 ของผู้ใช้รถตระหนักว่า ‘รถยนต์ไฟฟ้าเป็นทางเลือกที่ดีกว่าสำหรับสิ่งแวดล้อม’ ซึ่งถือว่าสูงกว่าค่าเฉลี่ยของทั้งภูมิภาคอาเซียน (ร้อยละ 88) เล็กน้อย ในขณะที่ผู้ร่วมตอบแบบสำรวจคนไทยมากถึงร้อยละ 91 กล่าวว่า ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมนั้นมีผลต่อการพิจารณาเลือกซื้อรถยนต์ไฟฟ้า นอกจากนี้ 3 ใน 4 ของผู้ใช้รถในประเทศไทยกล่าวว่าแหล่งพลังงานหมุนเวียนจะเป็นเทรนด์ใหม่! ช่วยส่งเสริมให้มีการซื้อหรือเช่าซื้อรถยนต์ไฟฟ้า
งานวิจัยนี้ยังเผยถึงกระแสการตื่นตัวต่อเรื่องสิ่งแวดล้อมที่กำลังสูงขึ้นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งผู้ตอบแบบสำรวจเชื่อว่าการใช้รถยนต์ไฟฟ้านั้นทำให้พวกเขามีส่วนช่วยปกป้องสิ่งแวดล้อมได้อย่างไม่ต้องสงสัย ในปี 2563 ร้อยละ 39 ของผู้ตอบแบบสำรวจชาวไทยถูกจัดอยู่ในกลุ่ม “นักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม” ซึ่งเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 34 เมื่อเทียบกับงานวิจัยเดียวกันเมื่อปี 2561
อุปสรรคต่อการใช้รถยนต์ไฟฟ้าลดลง เหลือเพียงแค่เรื่องเดียว
เมื่อทำการสำรวจกับคนไทยจำนวนหนึ่งพบว่า ผู้บริโภคคลายกังวลเกี่ยวกับอุปสรรคต่อการเลือกใช้รถยนต์ไฟฟ้าน้อยลงในช่วงปี 2561 ถึง 2563 โดยผู้ตอบแบบสอบถามกังวลเรื่องพลังไฟฟ้าจะหมดระหว่างทางก่อนไปถึงสถานีชาร์จ ซึ่งผลการสำรวจลดลงมาจากร้อยละ 58 ในปี 2561 เหลือร้อยละ 53 ในปี 2563 เช่นเดียวกับข้อสงสัยต่อเทคโนโลยีรถยนต์ไฟฟ้าที่ลดลงมาจากร้อยละ 48 เหลือร้อยละ 40 ในปี 2563
อุปสรรคต่อการใช้รถยนต์ไฟฟ้าลดลง เหลือเพียงแค่เรื่องเดียวเมื่อทำการสำรวจกับคนไทยจำนวนหนึ่งพบว่าผู้บริโภคคลายกังวลเกี่ยวกับอุปสรรคต่อการเลือกใช้รถยนต์ไฟฟ้าน้อยลงในช่วงปี 2561 ถึง 2563โดยผู้ตอบแบบสอบถามกังวลเรื่องพลังไฟฟ้าจะหมดระหว่างทางก่อนไปถึงสถานีชาร์จ ซึ่งผลการสำรวจลดลงมาจากร้อยละ 58 ในปี 2561 เหลือร้อยละ 53 ในปี 2563
เช่นเดียวกับข้อสงสัยต่อเทคโนโลยีรถยนต์ไฟฟ้าที่ลดลงมาจากร้อยละ 48 เหลือร้อยละ 40 ในปี 2563 เทรนด์รถยนต์ไฟฟ้าของประเทศไทยในอนาคต ซึ่งก็คือเครื่องยนต์แบบอี-พาวเวอร์ (e-POWER) ที่ใช้เทคโนโลยีขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าโดยไม่ต้องชาร์จไฟฟ้า
เทรนด์ของระบบขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าในอนาคต
จากผลสำรวจระบุว่าหนึ่งในเทรนด์ที่น่าจับตามองในอนาคตสำหรับระบบขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าในประเทศไทย ได้แก่ เทคโนโลยีอี-พาวเวอร์ของนิสสัน ที่มอบประสบการณ์ขับขี่แบบรถยนต์ไฟฟ้าแก่ผู้บริโภคโดยไม่ต้องชาร์จไฟฟ้าจากภายนอก อีกปัจจัยหนึ่งที่สนับสนุนผลการสำรวจนี้คือ ร้อยละ 76 ของผู้ตอบแบบสำรวจชาวไทยระบุว่า อุปสรรคต่อการเปลี่ยนไปใช้รถยนต์ไฟฟ้า คือ สถานีชาร์จไฟฟ้าที่จำเป็นต้องมีมากขึ้นในเขตบริเวณที่พักอาศัย และความกังวลเกี่ยวกับระบบแท่นชาร์จไฟฟ้าตามแหล่งสาธารณะ (ร้อยละ 47) อีกด้วย
ดังนั้น เมื่อเทียบกับเทคโนโลยีอี-พาวเวอร์ กับระบบไฮบริด ปลั๊กอินไฮบริด และระบบสันดาปภายใน (Internal Combustion Engine Vehicle: ICE Vehicle) แล้ว ปัจจัยที่เป็นสิ่งดึงดูดสำหรับผู้ใช้รถในไทยมากที่สุดคือเทคโนโลยีอี-พาวเวอร์ ซึ่งให้สมรรถนะเฉกเช่นรถยนต์ไฟฟ้าโดยไม่ต้องชาร์จไฟจากภายนอก และเมื่อลูกค้าได้เรียนรู้ว่าเทคโนโลยีอี-พาวเวอร์ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า 100% ได้อย่างไร ผู้ตอบแบบสำรวจถึงร้อยละ 82 ระบุว่า ขุมพลังอี-พาวเวอร์นั้น “น่าสนใจมาก” และ “ค่อนข้างน่าสนใจ” เป็นรองแค่รถยนต์ไฟฟ้าพลังงานแบตเตอรี่เท่านั้น
ภูมิภาคอาเซียนที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า
ผลการวิจัยของประเทศไทยสะท้อนให้เห็นถึงความสนใจเรื่องการขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า ที่กำลังแผ่ขยายไปทั่วภูมิภาคอาเซียน จากงานวิจัยผู้บริโภคในประเทศไทย ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย มาเลเซีย เวียดนาม และสิงคโปร์ พบว่า จำนวนร้อยละ 66 ของผู้บริโภคในภูมิภาคเชื่อว่าพวกเขาไม่อาจหลีกเลี่ยงการหันมาใช้ระบบขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าได้ ซึ่งสิ่งนี้จะกลายมาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตในอนาคตอันใกล้ สอดคล้องกับผลวิจัยในปี 2561 ผู้ตอบแบบสำรวจทั้งหมดจากงานวิจัยล่าสุดพบว่ามากกว่า 3 ใน 4 (ร้อยละ 77) ได้ระบุว่าสิทธิประโยชน์ทางภาษีและการมีแท่นชาร์จติดตั้งตามอาคารที่พักอาศัย (ร้อยละ 75) คือสองแรงจูงใจสำคัญในการเปลี่ยนไปใช้รถยนต์พลังงานไฟฟ้า สำหรับประเทศไทย แรงจูงใจที่มาเป็นอันดับหนึ่งคือสถานีแท่นชาร์จในเขตบริเวณที่พักอาศัย (ร้อยละ 76) ตามด้วยสิทธิประโยชน์ทางภาษี (ร้อยละ 73) และช่องทางพิเศษสำหรับรถยนต์ไฟฟ้า (ร้อยละ 50)
“จากผลงานวิจัยของเราจะเห็นได้ว่า การมาของเทคโนโลยีอี-พาวเวอร์นั้นมีแนวโน้มว่าจะขยายวงกว้างสู่ตลาดรถยนต์พลังงานไฟฟ้าในประเทศไทย ถึงแม้ว่าอี-พาวเวอร์จะเป็นเทคโนโลยีที่ใหม่แต่สำหรับผู้ที่ตั้งใจมองหารถยนต์ไฟฟ้าเพื่อใช้งานกลับรู้สึกว่าเทคโนโลยีอี-พาวเวอร์ ของนิสสันนั้นน่าสนใจ รวมถึงยังให้ความสนใจที่จะซื้อรถยนต์นิสสันอี-พาวเวอร์ ภายหลังจากที่ได้รับฟังถึงระบบขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าที่มีความแตกต่าง และเข้าใจถึงฟีเจอร์การใช้งานต่าง ๆ ของเทคโนโลยีอี-พาวเวอร์ของนิสสัน” วิเวก ไวเดีย พันธมิตรทางธุรกิจ รองประธานอาวุโสฝ่ายนวัตกรรมการขับเคลื่อนอัจฉริยะ บริษัท ฟรอสต์ แอนด์ ซัลลิแวน เอเชียแปซิฟิก กล่าว