ดวงสุขภาพ เช็คดวงสุขภาพ

เช็คลิสต์ 7 ดวงสุขภาพประจำวันเกิด

สุขภาพถือเป็นเรื่องสำคัญอันดับหนึ่งของมนุษย์ เหมือนคำกล่าวที่ว่า “ไม่มีโรคเป็นลาภอันประเสริฐ” วันนี้เว็บไซต์ Mthai.com จะพาคุณไป เช็คลิสต์ 7 ดวงสุขภาพประจำวันเกิด และวิธีปฏิบัติตัว โดย อ.บุญลาด ไปดูกันค่ะว่าดวงของทั้ง 7 วันเกิดจะมีสุขภาพเป็นอย่างไรกันบ้าง…

Home / ไลฟ์สไตล์ / เช็คลิสต์ 7 ดวงสุขภาพประจำวันเกิด

สุขภาพถือเป็นเรื่องสำคัญอันดับหนึ่งของมนุษย์ เหมือนคำกล่าวที่ว่า “ไม่มีโรคเป็นลาภอันประเสริฐ” วันนี้เว็บไซต์ Mthai.com จะพาคุณไป เช็คลิสต์ 7 ดวงสุขภาพประจำวันเกิด และวิธีปฏิบัติตัว โดย อ.บุญลาด ไปดูกันค่ะว่าดวงของทั้ง 7 วันเกิดจะมีสุขภาพเป็นอย่างไรกันบ้าง   

วันอาทิตย์

โรคภัย

  • โรคที่เกี่ยวกับระบบทางช่องปาก 
  • โรคที่เกี่ยวกับระบบหายใจ เช่น หอบ ไซนัส 
  • โรคที่เกี่ยวกับกระเพาะปัสสาวะ 
  • โรคระบบสืบพันธุ์ 
  • โรคความดันโลหิต 
  • โรคทำงานผิดปกติของเนื้อเยื่อ

วิธีการปฏิบัติตน

  • ไม่ทานอาหารค้างคืนนานๆ 
  • ไม่ทานของทอด ปิ้งย่าง มันจัด 
  • ไม่อั้นปัสสาวะหรือระบบขับถ่ายนานๆ 
  • ควรงดแอลกอฮอล์และบุหรี่ 
  • ฝึกการหายใจเข้าและออก วันละ 10-15 นาทีอย่างน้อย อย่างสม่ำเสมอ

อาหารที่ควรรับประทาน

  • ดื่มน้ำมากๆ 
  • ทานผักและผลไม้มากๆ เพื่อช่วยให้ระบบขับถ่ายดีขึ้น 
  • ทานน้ำสมุนไพรที่บำรุงไตหรือขับปัสสาวะ เช่น กระเจี๊ยบแดง กับเตยหอม หรือ น้ำขิงและน้ำตะไคร้
  • ทานอาหารที่ควบคุมระบบเลือด เช่น กระเทียม ใบชะพลู เป็นต้น

วันจันทร์

โรคภัย

  • โรคเกี่ยวกับลำไส้ 
  • โรคที่เกี่ยวกับระบบขับถ่ายหนัก (ทวารหนัก )
  • โรคปวดหลัง เช่น กระดูกสันหลังผิดรูป สะบ้า
  • โรคเกี่ยวกับระบบการเคี้ยว (ฟันเปราะบาง)

วิธีการปฏิบัติตน 

  • จัดระเบียบท่านอน ท่านั่ง ที่ถูกต้อง
  • ตรวจเช็คระบบในช่องปากปีละครั้ง 
  • ออกกำลังกายประเภท พิลาทิส หรือโยคะ เพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นให้กล้ามเนื้อในร่างกาย 
  • ดีท็อกช่องปาก เช่น การขูด หรือแปลงลิ้น เพื่อช่วยลดแบคทีเรีย และเชื้อราในช่องปาก

อาหารที่ควรรับประทาน

  • ทานน้ำมากๆ 
  • ทานอาหารที่อุดมไปด้วยแคลเซียมมากๆ เช่น ปลาเล็กปลาน้อย นม ไข่ บร็อคโคลี่ 
  • ดื่มน้ำผักสด หรือสมูทตี้ ทานอาหารที่มีพรีไบโอติกมากๆ เช่น อาหารเสริมพรีไบโอติก โยเกิร์ต กิมจิ ของหมักดองที่ถูกโภชนาการ

วันอังคาร

โรคภัย

  • โรคภูมิแพ้ 
  • โรคที่เกี่ยวกับกล้ามเนื้อบนใบหน้าทำงานบกพร่อง 
  • โรคเกี่ยวกับ ระบบสืบพันธุ์ เช่น มดลูก หรือต่อมลูกหมาก 
  • โรคที่เกี่ยวกับต่อมทอนซิลอักเสบ

วิธีการปฏิบัติตน

  • พักผ่อนให้เพียงพอ 
  • หมั่นตรวจสุขภาพประจำปี 
  • ดูแลในเรื่องของความสะอาด เช่นไรฝุ่น หรือละอองฝุ่น 
  • ดีท็อกโพรงจมูก เช่น นำดอกเกลือละลายในน้ำอุ่น แล้วสูดลมเข้าไปในโพรงจมูก (วิธีการนี้ งดเว้นผู้ที่มีปัญหาทางปอดไม่ควรทำ)

อาหารที่ควรรับประทาน

  • ดื่มน้ำมากๆ 
  • ทานอาหารเพิ่มฮอร์โมนหรือเอสโตรเจนให้ร่างกาย เช่น น้ำมะพร้าว เต้าหู้ ไข่แดง 
  • ทานข้าวไรซ์เบอรี่ หรือข้าวกล้อง ทดแทนข้าวขัดสี
  •  ทานอาหารที่มีวิตามินซีสูง หรืออาหารเสริมวิตามินซีขนาด 1000 mg

วันพุธ

โรคภัย

  • โรคที่เกี่ยวกับการอักเสบต่างๆ 
  • โรคที่เกี่ยวกับกล้ามเนื้อบกพร่อง เช่น กล้ามเนื้อตรงบริเวณสะโพก
  • โรคกล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะ 
  • โรคกล้ามเนื้อลำไส้ใหญ่ ทำงานบกพร่อง 
  • โรคที่เกี่ยวกับม้าม

วิธีการปฏิบัติตน

  • ออกกำลังกายที่เกี่ยวกับการพัฒนากล้ามเนื้อ โยคะ จ๊อกกิ้ง Weight 
  • ไม่อั้นระบบขับถ่าย 
  • ทานอาหารปรุงสุก 
  • นวดท้องหลังรับประทานอาหาร แต่ต้องหลังทานอาหารแล้ว1-2 ชั่วโมง เพื่อเป็นการกระตุ้นการไหลเวียนของลมปราณ

อาหารที่ควรรับประทาน

  • ดื่มน้ำมากๆ 
  • ทานอาหารเสริมเช่น ขมิ้นชัน 
  • น้ำพุทราจีนต้มกับน้ำดื่ม
  • ทานอาหารประเภท พรีไบโอติก โยเกริต์ นมเปรี้ยว กิมจิ

วันพฤหัสบดี

โรคภัย

  • โรคที่เกี่ยวกับระบบการหายใจ 
  • โรคออฟฟิศซินโดรม หรือกล้ามเนื้อคอตึง 
  • ระบบการขับถ่ายมีปัญหา เช่น ระบบกล้ามเนื้อในระบบประสาทการขับถ่าย ระบบเนื้อเยื่อทำงานผิดปกติ เช่น ผดผื่น หูด 
  • เส้นเลือดขอด

วิธีการปฏิบัติตน

  • หมั่นฝึกการหายใจเข้าและออก อย่างยาวๆ 10-15 นาทีต่อวัน อย่างสม่ำเสมอ 
  • กายภาพด้วยการจัดระบบกล้ามเนื้อ เช่น แพทย์แผนจีน 
  • ขัดผิวกำจัดเซลล์ที่ตายแล้ว เพื่อช่วยในการระบายของเสียออกมาได้ง่ายขึ้น

อาหารที่ควรรับประทาน

  • ดื่มน้ำมากๆ 
  • ทานอาหารที่มีพรีไบโอติกส์ เช่น โยเกิร์ต อาหารเสริมพรีไบโอติกส์ นมเปรี้ยว ของหมักดอง ที่ถูกตามหลักโภชนาการ pickle
  • ทานอาหารที่ทำให้ลำไส้แข็งแรง เช่น Apple น้ำมะนาว ใบกระเพรา

วันศุกร์

โรคภัย

  • โรคเกี่ยวกับกล้ามเนื้อหัวใจ 
  • โรคที่เกี่ยวเนื่องจากระบบข้อต่อกระดูกคอ 
  • ไส้ติ่ง 
  • โรคกระดูกข้อต่อเข่า มือหรือ ข้อต่อต่างๆ

วิธีการปฏิบัติตน

  • การฝึกฝนวิธีการนั่งและนอนที่ถูกต้องตามหลักสุขลักษณะ 
  • หากเริ่มมีอาการเบื้องต้น ควรปรึกษาแพทย์ทันที 
  • หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ กาแฟ ชา 
  • ควบคุมน้ำหนักตัว ให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม

อาหารที่ควรรับประทาน

  • ทานอาหารที่มีแคลเซียมสูง เช่น ปลาเล็กปลาน้อย กุ้งแห้ง 
  • นม โยเกิร์ต 
  • ผลไม้ เช่น กีวี กล้วย 
  • ผักตระกูลกะหล่ำต่างๆ ผักใบเขียว บล็อกโคลี่

วันเสาร์

โรคภัย

  • โรคที่เกี่ยวกับลำไส้ 
  • โรคที่เกี่ยวกับหลอดลม โรคที่เกี่ยวกับการติดเชื้อต่างๆ 
  • ปัญหาเกี่ยวกับฟัน หรือช่องปาก 
  • ปัญหาที่เกี่ยวกับกล้ามเนื้อต้นคอ ไหล่ สะบ้า

วิธีการปฏิบัติตน

  • พยายามทำตัวให้อบอุ่นเพราะเกี่ยวกับปอดและหลอดลม 
  • ฝึกการขับถ่ายให้เป็นเวลา 
  • หมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อย3 วัน ต่อสัปดาห์
  • ดูแลระบบช่องปากและฟัน  และหมั่นตรวจเช็คประจำปี

อาหารที่ควรรับประทาน

  • ดื่มน้ำอุ่นมากๆ หรือ น้ำอุณหภูมิห้อง 
  • ไม่ทานอาหารที่ก่อเกิดกรดในกระเพาะอาหาร เช่น ตระกูลหัวหอมต่างๆ หน่อไม้ดอง 
  • รับประทานอาหารจำพวกแคลเซียมสูง เช่น บร็อคโคลี่ ไข่แดง ชีส