เทศกาลกินเจ

ใกล้ถึงช่วง เทศกาลกินเจ นั่นเอง ทั้งนี้เราควรจะมีการเตรียมตัวกันอย่างไร Horoscope.mthai ไม่รอช้าที่จะนำข้อมูลดีๆมาฝากเพื่อนๆกันครับ

Home / ดูดวง / เทศกาลกินเจ

ใกล้ถึงช่วงถือศีลกินเจกันแล้ว หรือที่เรียกว่า เทศกาลกินเจ นั่นเอง ทั้งนี้เราควรจะมีการเตรียมตัวกันอย่างไร Horoscope.mthai ไม่รอช้าที่จะนำข้อมูลดีๆมาฝากเพื่อนๆกันครับ

เทศกาลกินเจ
กินเจ

ทั้งนี้บางคนอาจกินเจล่วงหน้า 1 วัน หรือที่เรียกว่า “ล้างท้อง“การ บูชาจะกำหนดในวันขึ้น 1 ค่ำ ขึ้น 3 ค่ำ ขึ้น 6 ค่ำ และขึ้น 9 ค่ำ ซึ่งชาวจีนจะนุ่งห่มชุดขาวไปไหว้พระ ไหว้เจ้าตามวัดหรือศาลเจ้า และถือศีล 5 บางคนเคร่งขนาดถือศีล 8 ก็มี

ในช่วงท้ายของ เทศกาลกินเจ ก็จะมีการลอยประทีปที่คำจีนเรียกว่าปั่งจุ้ยเต็ง ลักษณะคล้ายกับลอยกระทงของไทยเรา และพิธีจะจบด้วยการส่งเทพเจ้าในวันขึ้น 10 ค่ำ  ดังนั้นสีเหลืองจึงเป็นสีของพุทธศาสนา หรือผู้ทรงศีล บนธงจะเขียนตัวอักษรสีแดง อ่านว่า “ไจ” หรือ “เจ” มีความหมายว่า “ของไม่มีคาว” เหตุที่ใช้สีแดง เพราะชาวจีนเชื่อว่า เป็นสีมงคล สร้างความเจริญให้แก่ชีวิต ธงเจนอกจากจะเป็นสัญลักษณ์ของอาหารเจแล้ว ยังเป็นการเตือนให้พุทธศาสนิกชนที่ปฏิบัติตนถือศีลกินเจได้ตระหนักถึงการไม่ เบียดเบียนชีวิตสัตว์ และการตั้งอยู่ในศีลตลอดช่วงระยะเวลา 9 วัน 9 คืน

เทศกาลถือศีลกินเจ
กินเจปี57

ช่วงเวลา 9 วันที่กินเจนั้น ผู้ที่ต้องการเป็นผู้ถือศีลกินเจอย่างครบสมบูรณ์ตามประเพณี ต้องปฏิบัติตัวดังนี้
1.    งดเว้นเนื้อสัตว์ และทำอันตรายต่อสัตว์
2.    งดนม เนย และน้ำมันที่มาจากสัตว์
3.    งดอาหารรสจัด ทั้งอาหารเผ็ด หวานจัด เปรี้ยวจัด เค็มจัด
4.    งดผักหรือเครื่องเทศที่มีกลิ่นแรง เช่น ผักชี กระเทียม หัวหอม ต้นหอม หลักเกียว กุยช่าย รวมทั้งใบยาสูบ
5.    รักษาศีลห้า  รักษาจิตใจให้บริสุทธิ์ รักษาอารมณ์
6.    ทำบุญทำทาน สำหรับคนที่เคร่งครัดจะนุ่งขาวห่มขาว
7.    สำหรับผู้ที่เคร่งครัดมากๆ แยกภาชนะสำหรับใส่เนื้อสัตว์ออก เพื่อปรุงอาหารเจ โดยไม่ปล่อยให้ดับ เพื่อเป็นพุทธบูชา และรำลึกถึงบุญคุณของพ่อแม่ญาติพี่น้อง ตลอดจนผู้ที่มีบุญคุณต่อผืนแผ่นดินเกิด

อย่างไรก็ดี หยุดกินคือหยุดฆ่า กรรมที่สร้างนี้ จักติดตามสนองเราในไม่ช้า ทำให้สุขภาพร่างกาย อายุขัยของเราสั้นลง เป็นบ่อเกิดของโรคภัยไข้เจ็บ จากเวรกรรมซึ่งรักษาได้ยากและเรื้อรังด้วยการแพทย์แผนปัจจุบัน ชีวิตบั้นปลายจะไม่มีความสุข เพราะมีแต่โรคภัยไข้เจ็บ

ขอบคุณข้อมูลจากบทความ อ .ตั้ม  ศรีนเรศพยากรณ์