จากกรณีอัยการสั่งไม่ฟ้อง นายวรยุทธ อยู่วิทยา หรือ บอส ในข้อหาขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย จนเป็นกระแสที่เกิดขึ้นอีกครั้ง ซึ่งจะมาย้อนรอยเหตุการณ์ อย่างละเอียดอีกครั้งว่า เกิดอะไรขึ้นบ้างในตลอดระยะเวลา 8 ปีที่ผ่านมา
ย้อนเหตุการณ์วันเกิดเหตุ
3 ก.ย. 2555 – 05.30 น.
มีรายงานแจ้งเหตุ รถสปอร์ตหรู สีดำ ชนชนด.ต.วิเชียร กลั่นประเสริฐ ขณะขับรถจักรยานยนต์ออกตรวจบนถนนสุขุมวิท ช่วงปากซอย 47 ในรายงานระบุว่า พบร่างของ ด.ต.วิเชียร ที่ปากซอยสุขุมวิท 49 หรือ 200 ม. จากจุดเกิดเหตุ
3 ก.ย. 2555 ช่วงรุ่งเช้า.
มีรายงานพบรอยคราบน้ำมันเครื่องของรถคันก่อเหตุ หน้าบ้านหลังหนึ่งในซอยสุขุมวิท 53 จนท.ตร. ดำเนินการปิดล้อม ไม่มีผู้ใดออกมาพบตำรวจแต่อย่างใด ซึ่งในระหว่างการดำเนินการมีรายงานรถยนต์คันหนึ่งขับออกจากบ้านไป
3 ก.ย. 2555 ประมาณ 07.00 น.
ตำรวจชุดแรกจากนครบาล-สน. ทองหล่อ เข้าตรวจสอบในบ้านราว 10 นาที ระบุไม่พบเจ้าของบ้าน, ผู้ก่อเหตุ, รถคันก่อเหตุ
3 ก.ย. 2555 – 08.00 น.
พล.ต.ท.คำรณวิทย์ ธูปกระจ่าง ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล เดินทางถึงหน้าบ้าน รอหมายศาลเพื่อค้นบ้านหลังดังกล่าว เนื่องจากไม่ได้รับความร่วมมือ ระบุ หากยังไม่ได้ตัวอีก ก็จะขอลาออกจากตำแหน่ง
3 ก.ย. 2555 – (ไม่ยืนยันช่วงเวลา)
พ.ต.ท.ปัณณ์ภณ นามเมือง สวป.สน.ทองหล่อ ผู้บังคับบัญชาโดยตรงของ ด.ต.วิเชียร นำตัว นายสุเวศ หอมอุบล อายุ 47 ปี (ขณะนั้น) พ่อบ้าน ที่เข้ามอบตัวอ้างว่า เป็นผู้ขับรถคันดังกล่าว ผลการสอบปากคำพบ นายสุเวศ พบว่าไม่ตรงกับข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น นำไปสู่การขอหมายค้นและหมายจับเพิ่มเติม ซึ่งระหว่างนั้นได้มี ทนายความประสานงานจะนำนายวรยุทธ์ เข้ามอบตัว พร้อมของกลาง
3 ก.ย. 2555 – ราว 09.00 น.
ทนายความเดินทางมาถึง ยินยอมให้มีการตรวจสอบ เบื้องต้นพบ รถเฟอร์รารีคันก่อเหตุ สภาพกันชนหน้าแตก มีเครื่องหมายยศ ของด.ต.วิเชียร ติดคาอยู่ที่กระจก ตรวจสอบบันทึก รปภ. พบว่า 05.12 – น้องบอสขับรถออกจากบ้าน จึงมั่นใจว่า นายวรยุทธ์ อยู่วิทยา หรือ บอส เป็นผู้ก่อเหตุ
3 ก.ย. 2555 – 10.00 น.
พล.ต.ท.คำรณวิทย์ และชุดสืบสวนเข้าตรวจสอบ เข้าตรวจสอบซ้ำ
3 ก.ย. 2555 – 10.20 น.
นายวรยุทธ์ เข้ามอบตัวถึงสน.ทองหล่อ และได้มีการนำตัวเข้าห้องสอบสวน ราว 6 ชั่วโมง ในรายงานเบื้องต้นนายบอสให้การภาคเสธ โดยรับว่าเป็นผู้ก่อเหตุจริง แต่รถผู้ตายขับปาดหน้า ซึ่งหลังก่อเหตุแล้วก็ได้กลับเข้าบ้าน แล้วรู้สึกตกใจ, เครียดกับเหตุการณ์ที่ก่อขึ้น มีการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
3 ก.ย. 2555 – 14.00 น.
พี่ชาย ด.ต. วิเชียรเดินทางไปรับร่างไปทำพิธีศพ
3 ก.ย. 2555 – ราว 16.30 น.
ตำรวจนำตัวผู้ก่อเหตุ ไปตรวจวัดปริมาณแอลกอฮอล์ที่ รพ.สมิตเวช โดยทางตำรวจได้แจ้งข้อกล่าวหา ขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ซึ่งทางตำรวจไม่คัดค้านประกันตัว โดยให้ประกันตัวออกไปในวงเงินประกัน 5 แสนบาท , มีข้อมูล
EDITOR Note :
ในคดีเมาแล้วขับ แนวทางการดำเนินคดีจะถือว่า เป็นเหตุการณ์ที่ไม่ควรเกิดขึ้น ไม่ใช่อุบัติเหตุ ดังนั้น จึงมีแนวทางให้เจ้าหน้าที่ “ส่งฟ้องศาลภายใน 48 ชม.” เพื่อรับโทษ
ไทม์ไลน์ของคดี
4 ก.ย. 2555
ผลตรวจแอลกอฮอล์ในเลือดผู้ต้องหา พบมีปริมาณ 64 มิลลิกรัมเปอร์เซ็น ตำรวจแจ้งข้อกล่าวหา เมาแล้วขับเพิ่มเติม
5 ก.ย. 2555
มีรายงานข่าวจากผู้เชี่ยวชาญ คาดว่าเป็นการชนท้ายตรงๆ ไม่ใช่การปาดหน้า จุดที่ชนน่าจะเป็นตรง ปากซอยสุขุมวิท 47 เพราะมีการพบรายเลือดกระเซ็น ห่างไปอีก 64.8 ม. พบรอยเลือดจุดที่ 2 คาดว่าเป็นจุดตกของร่าง ด.ต.วิเชียร ส่วนรถจักรยานยนต์ พบตรงบริเวณปากซอยสุขุมวิท 46
6 ก.ย. 2555
ตั้งกรรมการสอบ พ.ต.ท.ปัณณ์ภณ นามเมือง สวป.สน.ทองหล่อ และสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน จากกรณีนำตัวนายสุเวศ หอมอุบล พ่อบ้าน อ้างว่าเป็นผู้ขับรถ มามอบตัว, ผลตรวจเลือด ออก พบมีแอลกอฮอล์ในเลือด 63 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ ซึ่งเกินกว่าระดับที่กฎหมายกำหนด
12 ก.ย. 2555
ทนายขอเลื่อนเข้ารับทราบข้อกล่าวหา
1 ต.ค. 2555
รายงานผลการตรวจสารแปลกปลอมในร่างกายนายวรยุทธ อยู่วิทยา ของมหาวิทยาลัยมหิดล พบสารแปลกปลอม 4 ชนิด Alprazolam, Benzoylecgonine, Cocaethylene และ Caffeine
19 ต.ค. 2555
จนท. เรียกตัวผู้ต้องหา ให้มารับทราบข้อกล่าวหาเพิ่ม
20 ต.ค. 2555
เตรียมออกหมายจับนายวรยุทธ อยู่วิทยา “บอส” หลังพนักงานสอบสวนได้เรียกตัวผู้ต้องหา แต่ไม่ได้รับการติดต่อ
23 ต.ค. 2555
นายวรยุทธ อยู่วิทยา พร้อมผู้ติดตาม เข้ารายงานตัวรับทราบข้อกล่าวหา
[ … ]
4 มี.ค. 2556
พล.ต.ต.อนุชัย เล็กบำรุง รองผบช.น. ให้สัมภาษณ์กับสื่อฯ ระบุว่า ได้ส่งสำนวนให้กับทางอัยการศาลอาญากรุงเทพใต้แล้ว โดยระบุถึงประเด็นผลตรวจสารเสพติด ว่าอยู่ในสำนวน
4 เม.ย. 2556
อัยการสั่งเลื่อนคดี ครั้งที่ 2 ในประเด็นการแจ้งให้ข้อหาขับรถเร็วเกินกว่ากฎหมายกำหนด, ทนายความผู้ต้องหาขอเลื่อนนัดฟังคำสั่งคดี
2 พ.ค. 2556
อัยการสั่งไม่ฟ้อง ข้อหาขับรถขณะเมาสุรา เนื่องจากไม่มีพยานหลักฐานทางคดีว่ามีการกระทำผิด (สมอ้าง – ระบุว่าดื่มหลังจากเกิดเหตุ)
8 พ.ค. 2556
อัยการสั่งเลื่อนคดี ครั้งที่ 3 ระบุว่า กระบวนการสั่งคดียังไม่เบ็ดเสร็จ, มีการสั่งฟ้องเพิ่ม 1 ข้อหา ขับรถเร็วเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด เนื่องจากผลวิเคราะห์จากภาพในกล้องวงจรปิดพบว่าความเร็วสูงกว่า 170 กม./ชม.
19 พ.ค. 2556
อัยการสั่งเลื่อนคดี ครั้งที่ 4 ขอให้ทบทวนเรื่องความเร็วของรถขณะเกิดเหตุ
26 ส.ค. 2556
ทนายแจ้งต่ออัยการเลื่อนคดี ครั้งที่ 5 เหตุผู้ต้องหาอ้างไม่สบาย พร้อมใบรับรองแพทย์ กำหนด 2 ก.ย. 56
30 ส.ค. 2556
ทนายความแจ้งต่ออัยการว่า นายวรยุทธ เดินทางไปต่างประเทศ (อังกฤษ) วันที่ 29 ส.ค. – 2 ก.ย. 56
2 ก.ย. 2556
ทนายขอเลื่อนเข้าพบอัยการ ระบุว่า นายวรยุทธ อยู่วิทยา ป่วยกระทันหันอยู่ที่ประเทศสิงคโปร์ โดยนำใบรับรองแพทย์ นำมาแสดงต่ออัยการ
3 ก.ย. 2556
หมดอายุความ ข้อหาขับรถเร็วเกินอัตรากฎหมายกำหนด , ตร. ออกหมายจับ
27 พ.ย. 2556
[อ้างอิงตามข้อมูลสำนวน] มีคำสั่งให้ยุติการพิจารณาร้องขอความเป็นธรรมของผู้ต้องหา
[ … ]
ระหว่างปี 2557-2558-2559
มีการร้องเรียนขอความเป็นธรรมในคดีหลายครั้ง ในหลายหน่วยงานร่วมถึงคณะกรรมมาธิการกฎหมาย สภานิติบัญญัติแห่งชาติ
[ … ]
2 มี.ค. 2559
มีการสอบข้อมูลและแก้ไขคำให้การ โดยมีการเปลี่ยนแปลงความเร็วจาก 177 กม./ชม. เป็น 79.23 กม./ชม.
28 มี.ค. 2559
พล.ต.ท.ศานิตย์ มหถาวร รักษาการผู้บัญชาการตำรวจนครบาล (ขณะนั้น) ให้สัมภาษณ์ว่า การทำหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจมีความบกพร่อง พนักงานสอบสวนแจ้งข้อหา เมาหลังขับ แทนเมาแล้วขับ
29 มี.ค. 2559
สำนักงานอัยการสูงสุด แถลงความเกี่ยวกับคดี ซึ่งได้มีการเอ่ยถึงการร้องขอความเป็นธรรมของผู้ต้องหาหลายครั้ง ตั้งแต่ชั้นตั้งแต่ชั้้นตำรวจ ถึงอัยการสูงสุด ในหลายประเด็น ทำให้ต้องมีการสอบสวนตามที่ผู้ต้องหาร้องขอ โดยระบุว่า หากอัยการไม่ดำเนินการก็จะผิดระเบียบได้
25 เม.ย. 2559
ทนายส่งหนังสือเลื่อนฟังคำฟ้อง อ้างติดภารกิจอยู่ต่างประเทศ
25 พ.ค. 2559
ส่งหนังสือเลื่อน เนื่องจากมีการร้องเรียนขอความเป็นธรรมในคดี
24 มิ.ย. 2559
ส่งหนังสือเลื่อน กับทางอัยการเนื่องจากกระบวนการพิจารณาข้อร้องเรียนยังไม่สิ้นสุด
ช่วงระหว่าง 25-28 ต.ค. 2559
ส่งหนังสือเลื่อน ด้วยเหตุผลเดิมว่า เนื่องจากกระบวนการพิจารณาข้อร้องเรียนยังไม่สิ้นสุด
30 พ.ย. 2559
ทนายส่งหนังสือขอเลื่อน อ้างติดภารกิจอยู่ต่างประเทศ
[ … ]
27 เม.ย. 2560
ทนายส่งหนังสือเลื่อนฟังคำฟ้อง อ้างติดภารกิจอยู่ต่างประเทศ
28 เม.ย. 2560
ศาลอาญากรุงเทพใต้อนุมัติหมายจับ นายวรยุทธ อยู่วิทยา เลขที่ จ.138/60
1 พ.ค. 2560
พนักงานสอบสวน สน.ทองหล่อ ส่งหมายจับให้กับสำนักงานอัยการฯ ฝ่ายคดีอาญากรุงเทพใต้
5 พ.ค. 2560
กระทรวงต่างประเทศ ระบุว่า มีการเพิกถอนหนังสือเดินทางของนายวรยุทธ อยู่วิทยา
มิ.ย. 2560
อัยการแถลง ได้ตัวบอส อยู่วิทยาก่อนหมดอายุความแน่นอน
18 ก.ค. 2560
พล.ต.ท.ศานิตย์ มหถาวร ระบุว่า ติดปัญหาเรื่องการแปลเอกสารในการดำเนินการขอส่งผู้ร้ายข้ามแดน เนื่องจากกองการต่างประเทศ บุคลากรไม่พอ
3 ก.ย. 2560
หมดอายุความ ข้อหาไม่หยุดให้ความช่วยเหลือตามสมควร
4 ก.ย. 2560
นายศรีสุวรรณ จรรยา เลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย ได้เดินทางเข้ายื่นเรื่องร้องเรียนเพื่อให้สอบสวนและดำเนินการเอาผิดกับพนักงานเจ้าหน้าที่ตำรวจที่เกี่ยวข้องทั้งหมด
12 ก.ย. 2560
ตำรวจสากลเผยแพร่หมายจับนายวรยุทธ อยู่วิทยา
18 มี.ค. 2561
มีข่าวรายงานว่า หมายจับนายวรยุทธ อยู่วิทยาหายไปจากเว็บไซต์ของตร.สากล ซึ่งทางตร.ไทยระบุว่า ยังคงมีอยู่ เพียงแต่ไม่ได้แสดงผลในหน้าเว็บไซต์
4 ธ.ค. 2562
[อ้างอิงตามข้อมูลสำนวน] พยานเข้าให้ข้อมูลเพิ่ม 2 ปาก ระบุ ด.ต.วิเชียร ขับตัดหน้า โดยการเปลี่ยนเลนกระทันหันจากช่องทางซ้ายมาเป็นช่องทางที่ 2 (เลนกลาง), รถเฟอรารี่ ขับไม่เกิน 80 กม./ชม.
20 ม.ค. 2563
อัยการมีคำสั่งไม่ฟ้องผู้ต้องหา
12 มิ.ย. 2563
แจ้งคำสั่งไม่ฟ้องคดีต่อสถานีตำรวจนครบาลทองหล่อ
ขั้นตอนทางกฎหมาย
พนักงานสอบสวน –(สำนวน) –> อัยการ –(เห็นด้วย/สั่งฟ้อง) –> ชั้นศาล
ในการดำเนินการทางกฎหมายนั้น ตำรวจจะดำเนินการสำนวนฟ้อง ในข้อหาต่างๆ ส่งไปให้อัยการ เพื่อพิจารณาสำนวนคำฟ้องเหล่านั้นว่า ถูกต้อง เรียบร้อย ครบถ้วนดีหรือไม่ หากไม่มีข้อสงสัย หรือข้อสังเกตใดๆ อัยการก็จะดำเนินการสั่งฟ้องต่อไป และกระบวนการก็จะขึ้นสู่ชั้นศาลในที่สุด
ในกรณีที่อัยการมีความเห็นไม่สั่งฟ้อง เนื่องจากเหตุผลในทางคดีที่ “ปรากฎ” ในสำนวนมีข้อบกพร่องหรือไม่สมบูรณ์ ก็จะส่งกลับไปยังตำรวจ* อีกครั้งหนึ่ง ซึ่งหากมีความเห็นแย้ง ก็จะมีการส่งให้อัยการสูงสุดเป็นผู้ชี้ขาด
พนักงานสอบสวน –(สำนวน) –> อัยการ –(ไม่เห็นด้วย/แจ้งกลับ) –> ผบ.ตร. –(เห็นด้วย) –> จบกระบวนการ แต่โจทก์ยังยื่นฟ้องเองได้
ในการสั่งไม่ฟ้องของอัยการนั้น จะพิจารณาจากสำนวน หลักฐาน ที่เกิดขึ้นเป็นหลัก ดังนั้นหากหลักฐาน สำนวนมีความครบถ้วน อัยการก็จะดำเนินการสั่งฟ้อง แต่หากมีข้อสงสัย หรือไม่ชัดเจนก็จะมีการสั่งไม่ฟ้องออกมา
ซึ่งแม้ว่าอัยการไม่สั่งฟ้องตามพนักงานสอบสวนส่งสำนวนมาก ทางญาติสามารถดำเนินการฟ้องศาลได้ด้วยตัวเองต่อไปได้ ในบางกรณีศาลอาจจะสั่งขอสำนวนจากอัยการ และอาจจะมีความเห็นสั่งฟ้องเพิ่มเติมได้
แต่ในกรณีคดีนี้ ทางฝ่ายผู้ต้องหาได้มอบเงินเยียวยาให้ จำนวน 3 ล้านบาท จากที่ทางญาติของ ด.ต.วิเชียร กลั่นประเสริฐ ยื่นขอเยียวยาไป 8 ล้านบาท โดยมีข้อแลกเปลี่ยนกับการไม่ดำเนินคดีต่อทั้งในทางแพ่ง และอาญา
ดังนั้นในขณะนี้ จึงเหลือช่องทางของกฎหมายให้ไปต่อไม่มากนัก ซึ่งในขณะนี้ทางตำรวจยังไม่ได้ทำการยื่นต่อศาลในการเพิกถอนหมายจับ ซึ่งทำให้ก่อนการเพิกถอนหมายจับนั้น ในส่วนของศาลสามารถเปิดการไต่สวนก่อนการเพิกถอนได้ และดึงสำนวนเดิม, สำนวนใหม่ มาตรวจสอบพิจารณาร่วมกัน รวมถึงสามารถเรียกผู้เกี่ยวข้องที่เป็นพยานต่างๆ เข้ามาให้ข้อมูลเพิ่มเติม เพื่อดำเนินการในขั้นตอนถัดๆ ไป เพื่อหาทางนำคดีกลับสูงชั้นศาลอีกครั้งหนึ่ง
สาเหตุที่อัยการสั่งไม่ฟ้อง
สำหรับหลักการพิจารณาสั่งฟ้อง/ไม่ฟ้อง คดี จะพิจารณาจาก
- หลักการตามข้อกฎหมาย เช่น ข้อกฎหมายนั้นมีหรือไม่ ถูกต้องหรือไม่ ฯลฯ
- ดุลพินิจ
ซึ่งอัยการสามารถสั่งเพิ่ม ให้พนักงานสอบสวนทำการสอบสวนเพิ่มเติม หรือให้ส่งพยานมาให้อัยการซักถามเพิ่มเติม รวมถึงสั่งให้ปล่อยตัวผู้ต้องหา ให้ประกัน ควบคุมตัวไว้ ขอให้ศาลกักขังก็ได้
* หมายเหตุ :
สำหรับคดีในศาลจังหวัด ในพื้นที่ กทม. จะส่งให้ ผบ.ตร. แต่ถ้าเป็นต่างจังหวัดจะส่งให้ผู้บัญชาการตำรวจภูธรในภาคนั้น ๆ เป็นผู้ทำความเห็น ส่วนกรณีเป็นศาลแขวงจะส่งเรื่องให้ ผู้ว่าฯ เป็นผู้ทำความเห็นในทางคดี
ตัวอย่างคดีดังที่อัยการสั่งไม่ฟ้อง
ในช่วงที่ผ่านมามีคดีดังๆ หลายคดีที่มีประเด็นการสั่งไม่ฟ้อง หรือ สั่งไม่ฟ้องในบางข้อหาทำให้เกิดข้อวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวาง
I. คดี พญ.ผัสพร – อัยการสั่งไม่ฟ้อง
หนึ่งในคดีดังที่เกิดขึ้นในประเทศและอัยการมีคำสั่งไม่ฟ้อง คือ คดีมาตรการแพทย์หญิง ผัสพรบุญเกษมสันติ โดยเหตุการณ์เกิดขึ้น หลังจากที่ พญ.ผัสพรหายตัวถูกเปิดประเด็นขึ้นมา เจ้าหน้าที่ดำเนินการสอบสวน นำไปสู่การพบชิ้นเนื้อในบ่อเกรอะ, คราบเลือดในท่อน้ำทิ้ง จึงได้รวบรวมพยานหลักฐาน และทำสำนวนฟ้อง ส่งอัยการพิจารณา
แต่ผลออกมาอัยการสั่งไม่ฟ้อง เนื่องจากขาดประจักษ์พยาน และพบศพ เป็นการพบชิ้นเนื้อเท่านั้น สุดท้ายคุณพ่อของ พญ.ผัสพร ดำเนินการให้ทนายยื่นฟ้องต่อศาลเอง จนนำไปสู่การจับกุม นพ.วิสุทธิ์ ผู้ก่อเหตุ
II. คดีเสือดำ – อัยการสั่งไม่ฟ้อง “บาง” ข้อหา
ในคดีเสือดำ เป็นอีกหนึ่งคดีที่อัยการสั่งไม่ฟ้องในบางข้อกล่าวหา รวม 5 ข้อหาด้วยกันคือ
- ฐานร่วมกันมีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต
(สาเหตุ – ปืนทั้งหมดมีทะเบียนถูกต้องและได้รับอนุญาตตามกฎหมาย ) - ร่วมกันเข้าไปในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าโดยไม่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่
(สาเหตุ – จำเลยทั้งหมด มีใบขออนุญาตมาจากทางส่วนกลางรวมถึงผ่าน หัวหน้าวิเชียรแล้ว และกฎหมายไม่มีกำหนดโทษไว้ มีโทษในทางปกครองคือสั่งให้ออกจากพื้นที่เท่านั้น) - ร่วมกันนำเครื่องมือสำหรับใช้ในการล่าสัตว์ป่า หรือจับสัตว์
(สาเหตุ – กฎหมายไม่ได้กำหนดโทษไว้ มีเพียงระบุความผิดไว้เท่านั้น) - ร่วมกันพยายามล่าสัตว์ป่าในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าโดยไม่ได้รับอนุญาต
(สาเหตุ – นายธานี ทุมมาศ สมอ้างเป็นผู้ล่าสัตว์โดยที่นายเปรมชัย และคนอื่นๆ ไม่เกี่ยวข้อง) - ร่วมกันกระทำการอันเป็นการทารุณกรรมสัตว์โดยไม่มีเหตุอันควร
(สาเหตุ – สัตว์ตาม พ.ร.บ.ทารุณสัตว์ฯ ไม่ได้กำหนดขอบเขตไว้ถึงสัตว์ป่า จึงไม่เข้าข้อกฎหมายนี้)
ซึ่งใน 5 ข้อหาที่ตั้งมา ทางอัยการพิจารณาแล้ว มีความไม่ชัดเจน หรือไม่มีข้อกฎหมายรองรับ จึงเห็นว่าควรเปลี่ยนข้อกล่าวหา/ตัดออก เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาในชั้นศาล
ที่มา :
– มอบตัวแล้ว! ผู้ต้องหาขับรถสปอร์ตชนตำรวจ
– ทายาทบิ๊กกระทิงแดง อ้างตำรวจขับปาดหน้า หลบไม่ทันก่อนชน
– ทายาทกระทิงแดง เข้าขอขมา ศพ ดต. วิเชียร แล้ว
– ผบช.น. ยันฟันขั้นเด็ดขาด สารวัตรทองหล่อ จับแพะคดีเฟอร์รารี่ชนตำรวจ
– ผลสอบแอลกอฮอล์ทายาทบิ๊กกระทิงแดง พบเกินกว่ากฎหมายกำหนด
– ให้ออกจากราชการ! สวป.ทองหล่อ ปั้นแพะให้ทายาทบิ๊กกระทิงแดง
– เล็งออกหมายจับ ทายาทกระทิงแดง หลังหายเงียบ! ไม่ติดต่อตำรวจ
– ฮือฮาข้อหา เมาหลังขับ พนักงานสอบสวนแจ้งจับ ทายาทกระทิงแดง
– อินเตอร์โพล เผยแพร่หมายจับ บอส วรยุทธ ในเว็บไซต์แล้ว
– บอส อยู่วิทยา เลื่อนฟังคำสั่งคดีชนตร. อัยการสูงสุดจ่อขอหมายจับหลังเบี้ยวพบ
– ศาลอนุมัติออกหมายจับ ‘บอส’ กระทิงแดง ด้าน อสส. จ่อขอส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดน