วัดสวยอุดรธานี

เยือนถิ่นอีสาน สุขใจขอพร วัดป่าคำชะโนด วัดดังแห่งอุดรธานี

วัดป่าคำชะโนด ยังมีชื่อที่เราไม่ค่อยคุ้นหูอย่างเป็นทางการว่าวัดศิริสุทโธ ตั้งอยู่ที่ตำบลบ้านม่วง อำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี ที่เชื่อกันว่าเป็นดินแดนของพญานาคและจุดเชื่อมต่อกับเมืองบาดาล โดยมีพญานาคราชปู่ศรีสุทโธและองค์แม่ศรีปทุมมานาคราชเทวี คอยปกปักรักษา รวมถึงเรื่องราวลี้ลับของป่าอาถรรพ์อย่าง ‘ตำนานผีจ้างหนังคำชะโนด’ ที่มีคนนำมาสร้างเป็นภาพยนตร์เมื่อปี 2550 ทำให้วัดนี้ขึ้นชื่อในเรื่องการให้โชคลาภเป็นที่สุด  จึงไม่มีคนอีสานคนไหนไม่รู้จักสถานที่ศักดิ์สิทธิ์แห่งนี้ และคนภาพอื่นก็เป็นที่รู้จักกันอยู่ไม่น้อย…

Home / อุดรธานี / เยือนถิ่นอีสาน สุขใจขอพร วัดป่าคำชะโนด วัดดังแห่งอุดรธานี

วัดป่าคำชะโนด ยังมีชื่อที่เราไม่ค่อยคุ้นหูอย่างเป็นทางการว่าวัดศิริสุทโธ ตั้งอยู่ที่ตำบลบ้านม่วง อำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี ที่เชื่อกันว่าเป็นดินแดนของพญานาคและจุดเชื่อมต่อกับเมืองบาดาล โดยมีพญานาคราชปู่ศรีสุทโธและองค์แม่ศรีปทุมมานาคราชเทวี คอยปกปักรักษา รวมถึงเรื่องราวลี้ลับของป่าอาถรรพ์อย่าง ‘ตำนานผีจ้างหนังคำชะโนด’ ที่มีคนนำมาสร้างเป็นภาพยนตร์เมื่อปี 2550 ทำให้วัดนี้ขึ้นชื่อในเรื่องการให้โชคลาภเป็นที่สุด  จึงไม่มีคนอีสานคนไหนไม่รู้จักสถานที่ศักดิ์สิทธิ์แห่งนี้ และคนภาพอื่นก็เป็นที่รู้จักกันอยู่ไม่น้อย โดยป่าคำชะโนดเป็นสถานที่ที่ชาวบ้านมีความเชื่อว่า มีพญานาคาอาศัยอยู่ ชึ่งอยู่บริเวณใกล้กับวัดสิริสุทโธ มีลักษณะเป็นป่าปกคลุมด้วยนานาพรรณไม้โดยเฉพาะต้นชะโนด มีลักษณะเป็นเกาะลอยอยู่เหนือน้ำ เมื่อน้ำขึ้นก็ไม่มีวันจม ลอยเด่นอยู่กลางทุ่งนา

พื้นที่รอบๆ บริเวณเป็นแหล่งน้ำคลำ มีต้นไม้เกิดขึ้นภายในบริเวณเนื้อที่ประมาณ 20 ไร่ ซึ่งต้นไม้ชนิดนี้เรียกว่าต้นชะโนด มีลักษณะพิเศษคล้ายต้นตาล ขนาดพอๆ กับต้นมะพร้าว แต่ขนาดลำต้นสูงยาวเรียวเล็กกว่าต้นตาล ก้านใบจะมีหนามแหลมยาวคม ใบจะมีลักษณะคล้ายใบตาล เวลาลมพัดจะเกิดเสียงดังวังเวง ต้นชะโนดมีผลเป็นพวงลูกเล็กเท่าพวงองุ่นเล็ก บริโภคไม่ได้ ถ้าบริโภคจะมีอาการคันปาก ต้นชะโนดเป็นพืชที่เกิดจากธรรมชาตินับเป็นเวลาหลายพันปีคนรุ่นเก่าก่อนได้เรียกพืชชนิดนี้สืบทอดกันมาเรียกว่า ต้นชะโนด และเชื่อว่าเมืองชะโนด สันนิษฐานว่าคงจะเรียกตามชื่อต้นชะโนด

ทำให้คำชะโนด มีลักษณะเป็นเกาะกลางน้ำ หนองน้ำมีต้นชะโนดเกิดขึ้นรวมกันเป็นกลุ่ม ในพื้นที่ประมาณ 20 ไร่ ซึ่งเป็นต้นไม้ที่แทบจะไม่มีในประเทศไทย ถือว่าที่นี่เป็นแห่งเดียว ที่พบและมีประวัติศาสตร์ยาวนานมาจนถึงปัจจุบัน ภายในเกาะคำชะโนดยังมีบ่อน้ำศักดิ์สิทธ์เรียกว่า บ่อคำชะโนด เป็นน้ำใต้ดินที่ใส ซึ่งทางจังหวัดอุดรธานีได้เลือกจากบ่อน้ำนี้นำไปร่วมพิธีสำคัญๆเสมอ และยังมีศาลเจ้าปู่ศรีสุทโธ ที่ประชาชนให้ความเคารพนับถือในความศักดิ์สิทธิ์และมีปาฏิหาริย์ให้ได้เห็นมาอย่างต่อเนื่อง โดยมีความเชื่อว่าเป็นสถานที่อาศัยของพญานาคราชและใช้เส้นทางขึ้น-ลงติดต่อระหว่างเมืองบาดาลกับเมืองมนุษย์ บ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ในคำชะโนด มีความเชื่อว่าเป็นทางขึ้นลงของพญาสุทโธนาค เสด็จจากเมืองบาดาลขึ้นมาเมืองมนุษย์ และเป็นเส้นทางที่เชื่อมต่อไปสวรรค์แต่ก่อนมีลักษณะเป็น รูปทรงกลม ปัจจุบันได้ปรับปรุงบริเวณรอบบ่อมีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยม เมื่อปี พ.ศ. 2530 ซึ่งทางจังหวัดอุดรธานีได้เลือกเอาน้ำในบ่อศักดิ์สิทธิ์ ไปร่วมพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนพรรษา วันที่ 5 ธันวาคม ณ มณฑลพระราชพิธีท้องสนามหลวงทุกปี

จากตำนานบอกเล่า ของหลวงปู่คำพันธ์ โฆสปัญโญ วัดธาตุมหาชัยจังหวัดนครพนม บอกว่าทางฝั่งไทยมีกษัตริย์แห่งนาคราชหรือนาคาธิบดีเป็นผู้ปกครอง ฝั่งลาวมีพญาศรีสัตตนาคราชหรือนาคาธิบดีศรีสัตตนาคราช เป็นกษัตริย์แห่งนาคราชฝั่งลาว เป็นพญานาค 7 เศียร ฝั่งไทยคือพญาศรีสุทโธนาคราชหรือนาคาธิบดีศรีสุทโธ ซึ่งท่านชอบจำศีล บำเพ็ญเพียร และปฏิบัติธรรม มีนิสัยอ่อนโยน มีเมตตา ไม่ชอบการต่อสู้ ชอบไปปฏิบัติธรรมที่พระธาตุพนม ในช่วงที่ปฏิบัติธรรมที่พระธาตุพนมก็ให้เหล่าพญานาค 6 อำมาตย์ดูแลเมืองคำชะโนดแทน หลวงปู่คำพันธ์ โฆสปัญโญ ได้บอกชื่อ 6 อำมาตย์พญานาคไว้เพียง 3 ชื่อคือ

  1. พญาจิตรนาคราช ดูแลเขตการปกครองจากตาลีฟูถึงหนองคายตามแนวแม่น้ำโขงโดยมีเขตปกครองสิ้นสุดที่วัดหินหมากเป้ง
  2. พญาโสมนาคราช ดูแลเขตการปกครองจากวัดหินหมากเป้งไปสิ้นสุดเขตการปกครองที่วัดพระธาตุพนม แก่งกะเบา ท่านมีอุปนิสัยเหมือนกับพญาศรีสุทโธนาคราชคือชอบปฏิบัติธรรม จึงเป็นที่ไว้วางใจและโปรดปรานจากพญาศรีสุทโธนาคราชมากกว่าพญานาคอื่นๆ
  3. พญาชัยยะนาคราชมีเขตการปกครองจากแก่งกะเบาไปสิ้นสุดเขตการปกครองที่ปากน้ำโขงลงทะเลในเขมร พญานาคตนนี้มีฤทธิ์เดชมาก ชอบการสู้รบ ทำสงคราม เป็นนิสัย

ปัจจุบันวัดป่าคำชะโนด พร้อมเปิดให้ประชาชนเดินทางเข้ากราบสักการะปู่ศรีสุทโธและแม่ย่าปทุมมาได้แล้ว โดยมีมาตรการคุมเข้มโควิด-19 รับนักท่องเที่ยววันละประมาณ 1,700 คน เปิดบริการตั้งแต่ 09.00 – 16.00 น. โดยสามารถจองคิวด้วยการลงทะเบียนออนไลน์ผ่านเว็บไซต์และคิวอาร์โค้ด

ขอบคุณภาพและข้อมูลจาก: ศูนย์อำนวยการคำชะโนด www.khamchanod.in.th