ขอเลขเด็ด วัดปรางค์หลวง แก้บน หลวงพ่ออู่ทอง

ขอพรหลวงพ่ออู่ทอง วัดปรางค์หลวง ขอเลขศาลจก จันทร์

พระเจ้าอู่ทอง ได้อพยพประชากรหนีโรคระบาดมาประทับอยู่ที่นี่ ก่อนจะสถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี จากนั้นได้โปรดเกล้าฯ ให้สร้างวัดชื่อว่า "วัดหลวง"

Home / นนทบุรี / ขอพรหลวงพ่ออู่ทอง วัดปรางค์หลวง ขอเลขศาลจก จันทร์

วัดปรางค์หลวง

วัดปรางค์หลวง

วัดปรางค์หลวง ตั้งอยู่ริมคลองบางกอกน้อยหรือแม่น้ำเจ้าพระยาสายเดิม หันหน้าไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ตำบลบางม่วง อำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี ตำนานวัดกล่าวว่าสร้างโดยพระเจ้าอู่ทอง (สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1) ในช่วงกรุงศรีอยุธยาตอนต้น ราว พ.ศ. 1890 แต่เดิมมีชื่อว่า “วัดหลวง” โดยพระเจ้าอู่ทอง ได้อพยพประชากรหนีโรคระบาดมาประทับอยู่ที่นี่ ก่อนจะสถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี จากนั้นได้โปรดเกล้าฯ ให้สร้างวัดชื่อว่า “วัดหลวง”

วัดปรางค์หลวง

ต่อมาในสมัยสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส สมเด็จพระสังฆราชเจ้า พระองค์ที่ 10 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ได้เห็นองค์พระปรางค์ที่ได้สร้างขึ้นไว้พร้อมกับการสร้างวัด จึงได้เปลี่ยนนามวัดนี้ว่า “วัดปรางค์หลวง” นั่นเอง

หากพิจารณาจากรูปแบบสถาปัตยกรรมของพระปรางค์แล้วคาดว่าสร้างขึ้นในสมัยอยุธยาราวพุทธศตวรรษที่ 21 ซึ่งยังคงรูปแบบศิลปกรรมแบบงานช่างหลวง สิ่งสำคัญภายในวัด ได้แก่

พระปรางค์
พระปรางค์

พระปรางค์

ประธานของวัด สร้างในผังย่อมุมไม้ยี่สิบ มีมุมประธานตรงกลางขนาดใหญ่กว่ามุมอื่นๆ ส่วนฐานเป็นฐานบัวลูกฟักซ้อน 3 ฐาน ส่วนเรือนธาตุประดับด้วยลายปูนปั้นและมีจรนำซุ้มทั้ง 4 ทิศ ประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้นยืนแสดงปางต่างๆ ลงรักปิดทอง กลางเรือนธาตุมีกรุอยู่ภายในแต่ไม่มีช่องทางขึ้นสู่ยอดปรางค์ ผนังเรือนธาตุเป็นผนังทึบไม่มีประตู ส่วนยอดซ้อนชั้นประดับกลีบขนุน จัดเป็นโบราณสถานสำคัญ สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นพร้อมกับวัด ศิลปกรรมสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น

พระปรางค์
พระปรางค์

อุโบสถ

ตั้งอยู่หน้าพระปรางค์ สภาพเหลือเพียงส่วนฐานเนื่องจากตัวอุโบสถส่วนอื่นๆ ถูกรื้อไปเมื่อ พ.ศ. 2536 มีใบเสมาหินขนาดใหญ่ปักล้อมรอบ

หลวงพ่ออู่ทอง

พระประธาน “หลวงพ่ออู่ทอง” เป็นพระพุทธรูปปูนปั้นปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง 9 คืบ ศิลปกรรมแบบอู่ทอง เป็นพระพุทธรูปที่ประดิษฐานอยู่คู่กับอุโบสถมาแต่เดิม หลวงพ่ออู่ทองได้รับการบูรณะซ่อมแซมโดยฝีมือช่างในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ จนเปลี่ยนแปลงไปจากแบบเดิม แต่ยังมีเค้าร่องรอยของพระพุทธรูปในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น พุทธลักษณะงดงาม

พระ<a href=คาถาบูชาหลวงพ่ออู่ทอง” class=”wp-image-332322″/>

พระคาถาบูชาหลวงพ่ออู่ทอง

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ

กาเยนะ วาจายะ เจตะสา วา สุวัณณะนามะกัง
ปะฏิมัง อิทธิปาฏิหาริยะ กะรัง พุทธะรูปัง
อะหัง วันทามิ สัพพะโส สะทา โสตถี ภะวันตุ เมฯ

ข้าพเจ้า ขอนมัสการองค์หลวงพ่ออู่ทอง
พระองค์ผู้ทรงไว้ซึ่งความศักดิ์สิทธิ์
ด้วยกาย ด้วยวาจา และด้วยใจ
ขอความสุข ความเจริญ จงมีแก่ข้าพเจ้า ตลอดกาล ทุกเมื่อเทอญ ฯ

หลวงพ่ออู่ทอง เป็นที่เคารพของชาวบ้านในชุมชนอย่างมาก ร่ำลือในเรื่องความศักดิ์สิทธิ์ ขออะไรก็จะสมหวังดังขอ ซึ่งโดยมากเมื่อสำเร็จสมดังที่ขอมักมาแก้บนหลวงพ่ออู่ทองด้วย ต้มยำกุ้ง, ว่าว และประทัด

ใบเสมา
ใบเสมา

ใบเสมารอบอุโบสถ นับเป็นอีกหนึ่งโบราณวัตถุสำคัญ ด้วยเป็นใบเสมาสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้นอันหาชมได้ยาก ซึ่งยังมีสภาพสมบูรณ์ที่ยังคงเหลืออยู่เพียง 1 ใบ ตั้งอยู่ที่ด้านหน้าของพระอุโบสถ ซึ่งแต่เดิมบริเวณรอบอุโบสถของวัดปรางค์หลวง มีใบเสมาอยู่ภายในเขตกำแพงแก้ว ปักอยู่ตามตำแหน่งต่าง ๆ รอบพระอุโบสถจำนวน 4 แห่ง คือ บริเวณด้านหลังของพระอุโบสถ 3 แห่ง และตรงกลางด้านทิศตะวันตกของพระอุโบสถ ใบเสมามีขนาดใหญ่ทำจากหินชนวน หรือที่ชาวบ้านในชุมชนเรียกว่า “หินกาบ” ลักษณะไม่มีลวดลาย ปักลงบนดินรายรอบพระอุโบสถหลังเก่า ซึ่งถูกทุบทำลายไปแล้ว

ใบเสมา
กุฏิ
กุฏิ

กุฏิสงฆ์เดิม 2 หลัง

ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของปรางค์ประธาน เป็นอาคารขนาดเล็ก ทรงสูงแบบชั้นครึ่ง หลังคาทรงจั่วมุงกระเบื้องดินเผา สันนิษฐานว่าอาจจสร้างขึ้นในระยะต้นของสมัยรัตนโกสินทร์ ปัจจุบันประดิษฐาน บรมครูชีวกโกมารภัจจ์ สามารถขอพรด้านสุขภาพกับพ่อครูได้

บรมครูชีวกโกมารภัจจ์
บรมครูชีวกโกมารภัจจ์
ศาลจก จันทร์

ศาลจก จันทร์

จุดมูที่สายเซียนหวยต้องมา ด้วยโดดเด่นการขอพรเรื่องโชคลาภ เป็นที่ร่ำลือเรื่องเลขเด็ดที่ได้ให้ถูกรางวัลกันไปหลายราย สังเกตได้จากของแก้บนที่วางเรียงรายอยู่นั่นเอง

สำนักศิลปากรที่ 2 สุพรรณบุรี ได้ดำเนินการขุดแต่งศึกษาและบูรณะโบราณสถานวัดปรางค์หลวงในระหว่างปี พ.ศ. 2541 – พ.ศ. 2543

วัดปรางค์หลวง มีสถานะเป็นโบราณสถานที่ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 110 ตอนที่ 174 วันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2536

งานประเพณีสำคัญของวัดปรางค์หลวง

วัดปรางค์หลวง มีประเพณีตักบาตรเทโวเป็นประเพณีทำบุญตักบาตรในวันหลังจากที่พระพุทธเจ้าเสด็จลงมาจากดาวดึงส์หรือเทวโลกมาสู่โลกมนุษย์ในวันมหาปวารณา คือ วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 พอวันรุ่งขึ้น แรม 1 ค่ำเดือน 11 โดยจะตักบาตรเทโว และทำบุญตักบาตรพระ 108 ทางน้ำ เป็นประเพณีหลังวันออกพรรษาเริ่มในวันแรม 8 ค่ำ เดือน 12 พิธีจะเริ่มตั้งแต่ช่วงบ่ายของวันแรม 7 ค่ำ เดือน 12 วัดตามริมคลองจะมีการแห่พระพุทธรูปที่มีชื่อเสียงของแต่ละวัดแห่ไปตามลำน้ำ โดยการจัดขบวนแห่อย่างสวยงามมีการรำประกอบการจัดขบวนแห่ เพื่อประกาศให้ประชาชนได้ทราบทั่วกันว่าจะมีพิธีทำบุญตักบาตรพระ 108 ขึ้นในวันรุ่งขึ้น คือ วันแรม 8 ค่ำ เดือน 12 เป็นประเพณีที่ปฏิบัติกันมาอย่างช้านาน

ใส้บาตรออนไลน์

วันที่ 17 กรกฎาคม 2566 ใส่บาตรออนไลน์ ด้วยอาหารเพื่อสุขภาพสำหรับพระภิกษุสงฆ์ สามเณร พร้อมอธิษฐานจิตขอพรพระ วัดปรางค์หลวง จ.นนทบุรี

ทีมงาน MThai เต็มใจเป็นสะพานบุญ เปิดบริการชุดใส่บาตรออนไลน์ ในวันจันทร์ที่ 17 ก.ค. 2566 ด้วยอาหารเพื่อสุขภาพสำหรับพระภิกษุสงฆ์ สามเณร
.
👉 ร่วมใส่บาตร รายครั้ง ชุดละ 149 บาท
👉 ร่วมใส่บาตร รายเดือน 589 บาท
.
🛒 โอนชำระเงิน ธนาคารกรุงเทพ
👉 ชื่อบัญชี บริษัท โมโน ไซเบ้อร์ จำกัด
👉 เลขที่บัญชี : 233-0-21741-1

.
👉 โอนเงินแล้ว ส่งสลิปการโอนเงิน แจ้งชื่อผู้ทำบุญและคำอธิษฐาน
.INBOX แจ้งแอดมินได้ที่ https://m.me/18079440675
.
📲 ชมถ่ายทอดสดใส่บาตรได้ที่เพจ MThai (17 ก.ค.2566 เวลา 07.00 น.) เป็นต้นไป อนุโมทนา สาธุ

ภาพโดย : SUTEE และ อ.ณัฐ

ที่อยู่ : 32 หมู่ 1 ต.บางม่วง อ.บางใหญ่ จ.นนทบุรี
Google map : https://goo.gl/maps/n2i2SpKyu7FjRYgc8
เวลาเข้าชม : 07.00 – 17.00 น.

เนื้อหาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

รวม 10 สถานที่ดังขอหวย ขอเลขเด็ด 2566

200 กว่าปี วัดดุสิดารามวรวิหาร วัดสวยฝ่าภัยสงครามโลกและน้ำท่วม กทม.

วันบูชาพระพิฆเนศ 2566 ครึ่งปีหลังมีวันไหนบ้าง