พ่อปู่ศรีชมภู วัดชมภูเวก วัดมอญ

ชมวัดมอญอายุกว่า 300 ปี กราบพ่อปู่สีชมภู วัดชมภูเวก

ชื่อวัด“ชมภูเวก” หมายถึงขอสรรเสริญเนินสูงที่มีความวิเวก (เงียบสงบ) ภายในวัดมีพระอุโบสถหลังเดิมทรงซึ่งเป็นมหาอุดอยู่หลังเจดีย์ เป็นรูปแบบเดียวกับเจดีย์ที่เมืองหงสาวดี

Home / นนทบุรี / ชมวัดมอญอายุกว่า 300 ปี กราบพ่อปู่สีชมภู วัดชมภูเวก

MThai ชวนไปชมวัดมอญศิลปะเก่าแก่ที่มีมาตั้งแต่สมัยอยุธยา พร้อมขอพรศาลพ่อปู่สีชมภู ความศักดิ์สิทธิ์ที่ว่ากันว่าขอสิ่งใดก็ได้สิ่งนั้น ณ วัดชมภูเวก ที่จังหวัดนนทบุรีใกล้ๆ นี่เอง!

วัดชมภูเวก

วัดชมภูเวก
วัดชมภูเวก

ตามตำนานเล่าว่าวัดชมภูเวกถูกสร้างขึ้นโดยชาวมอญที่ลี้ภัยจากพม่าในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลายประมาณ ต่อมากว่าร้อยปีพระสงฆ์จากเมืองมอญได้สร้างพระมุเตา (เจดีย์แบบมอญ) เพื่อเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปที่นำมาจากบ้านเกิดของตน และเป็นที่สักการะบูชาสันนิษฐานว่าบรรจุพระบรมสารีริกธาตุเอาไว้ในวัดอย่างเป็นเอกลักษณ์

วัด

จากนั้นจึงได้มีการตั้งชื่อวัดว่า “ชมภูเวก” ซึ่งหมายถึงขอสรรเสริญเนินสูงที่มีความวิเวก (เงียบสงบ) ภายในวัดมีพระอุโบสถหลังเดิมทรงซึ่งเป็นมหาอุดอยู่หลังเจดีย์ เป็นรูปแบบเดียวกับเจดีย์ที่เมืองหงสาวดี ส่วนพระอุโบสถหลังใหม่เป็นที่ประดิษฐานพระประธานศิลปะสุโขทัย และพระพุทธรูปยืนอีก 2 องค์ ด้วยความสวยงามของศิลปกรรมมอญอันหาชมได้ยากในประเทศไทย จึงทำให้วัดชมภูเวกจะได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของชาติเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2517

วัดในนนทบุรี
โบสถ์
อุโบสถใหม่

พระธาตุมุเตาศิลปะของเจดีย์ทรงมอญ

อัฐิอดีตเจ้าอาวาส

พระธาตุมุเตา หรือที่รู้จักกันอีกนามว่าเจดีย์ทรงมอญ ถูกสร้างขึ้นตามแบบคติความเชื่อของชาวมอญ เพื่อถวายพุทธบูชาแก่พระพุทธเจ้า จนกระทั่งสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 มีพระสงฆ์มอญชื่อพระครูลัย นำคณะสงฆ์มอญจากเมืองมอญร่วมกับคณะสงฆ์ไทยเชื้อสายมอญ และชาวบ้านทำการบูรณะเพิ่มเติมโดยสร้างให้สูงใหญ่ครอบองค์เดิม พระมุเตาองค์จึงถูกบูรณะใหม่โดยสร้างบนฐานสี่เหลี่ยมบัวคว่ำบัวหงาย ตัวองค์พระธาตุสร้างแบบแปดเหลี่ยม ย่อส่วนลด 3 ชั้น ความสูงจากพื้น 15 เมตร มีพระมุเตาบริวาร 4 มุม ด้านหลังสร้างเจดีย์ใหม่ 2 องค์ ที่สำคัญภายในยังเป็นที่บรรจุอัฐิอดีตเจ้าอาวาสอีกด้วย

วัดชมภูเวก

ความงดงามของอุโบสถหลังเก่า

อุโบสถวัด
อุโบสถวัด

อุโบสถหลังเก่าถูกสร้างขึ้นในสมัยอยุธยาตอนปลาย ตามแนวคติมอญแบบมหาอุด ประตูเข้าออกด้านหน้าทางเดียว (แบบวิลันดา) หน้าบันเป็นลายปูนปั้นตั้งแต่ชายคาขึ้นไปจนถึงสันหลังคา บนยอดหน้าบันปั้นรูปเทพพนมแทนช่อฟ้าใบระกา หน้าบันซุ้มประตู ซุ้มหน้าต่าง เป็นลวดลายปูนปั้นซุ้มเถาเครือวัลย์ดอกพุดตาน ประดับด้วยถ้วยเครื่องลายครามและเบญจรงค์

จิตรกรรมฝาผนัง

จิตรกรรมฝาผนังในอุโบสถหลังเก่า เป็นภาพพุทธประวัติและทศชาติ เป็นสกุลช่างนนทบุรี ได้รับการบูรณะสร้างเสริมมาในตั้งแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 จนถึงสมัย พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 เป็นจิตรกรรมฝาผนังที่สมบูรณ์มากที่สุดแห่งหนึ่ง โดยเฉพาะภาพพระแม่ธรณีบีบมวยผม ถือได้ว่าสวยงามและสมบูรณ์ที่สุดในประเทศไทย

ความศักดิ์สิทธิ์ของศาลพ่อปู่สีชมภู

ศาลพ่อปู่สีชมภู
ศาลพ่อปู่สีชมภู

ศาลท่านพ่อปู่ศรีชมภูถือเป็นโบราณสถานศักดิ์สิทธิ์มากแห่งหนึ่งของวัดชมภูเวก เพราะเป็นสถานที่สถิตของดวงวิญญาณท่านพ่อปู่ศรีชมภูที่คอยดูแลรักษาวัดแห่งนี้  โดยในอดีตมีเรื่องเล่าว่าท่านเป็นผู้นำพี่น้องชาวมอญ ทำสงครามกับพม่าฆ่าฟันพม่ามานับไม่ถ้วน  ก่อนที่ท่านอพยพเข้ามาเมื่อครั้งกรุงหงสาวดีเสียแก่พม่า ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช แล้วได้สร้างวัดชมภูเวกขึ้น หลังจากรวบรวมชาวมอญที่ถูกอพยพมาให้กลับมาอยู่รวมกันอย่างมีความสุข

<a href=คาถาพ่อปู่สีชมภู” class=”wp-image-326774″/>

ด้วยความศักดิ์สิทธิ์ของศาลพ่อปู่สีชมภู จึงทำให้ผู้ที่ศรัทธาเข้าไปบนบานกันเป็นอย่างมาก โดยเมื่อสมหวังตามสิ่งที่ต้องการแล้ว ให้นำปี่พาทย์มาตั้งวงถวายหรือรับปากสิ่งไหนไว้ให้รีบนำมาถวายท่าน ซึ่งมีตำนานเล่าว่านายเทียน ได้เคยมาบนบานให้หาแหวนที่ทำหล่นหายไปเจอ แล้วจะนำปี่พาทย์มาถวายทุกเทศกาล ไม่ว่าจะออกพรรษา สงกรานต์ หรือวันไหว้พระบาท ตลอดจนสิ้นอายุขัยและทำเป็นประเพณีสืบต่อกันที่จนถึงลูกหลานในปัจจุบัน จึงทำให้ความศักดิ์สิทธิ์เป็นที่เล่าขานบอกต่อกันไปเป็นวงกว้างนั่นเอง

พระแม่ธรณีบีบมวยผม
วัด
วัดดังนนทบุรี
บันไดนาค
วัด
ภายในวัด
วัด

ที่ตั้ง : ซอย วัดชมภูเวก 3 ท่าทราย อำเภอเมืองนนทบุรี นนทบุรี 11000

Google map : https://goo.gl/maps/JbhMBZFU1Dt4U4vQA

เวลาเปิดเช้าชม : 8.00 น. -16.30 น. 

ภาพโดย อ.ณัฐ

ใส่บาตรออนไลน์

สนใจฝากใส่บาตรออนไลน์ INBOX แจ้งชุดทำบุญกับแอดมินได้ที่ https://m.me/18079440675
หรือ ช่องทางไลน์ : https://lin.ee/bPIRKMI


เนื้อหาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

กราบสักการะพระสิวลี ท้าวเวสสุวรรณ ณ วัดละหาร บางบัวทอง