วัดปิตุลาธิราชรังสฤษฎิ์ วัดสวย ฉะเชิงเทรา วัดเมือง อั้งยี่

วัดปิตุลาธิราชรังสฤษฎิ์ โบราณสถานสำคัญ 1 ในวัดสวย ฉะเชิงเทรา

จังหวัดฉะเชิงเทรา มีแหล่งโบราณสถาน และวัดวาอารามที่ถ่ายทอดเรื่องราวความงดงามและคุณค่าทางประวัติศาสตร์ไว้มากมาย หนึ่งในนั้นคือ วัดปิตุลาธิราชรังสฤษฎิ์ พระอารามหลวงสำคัญของจังหวัด เดิมชื่อ วัดเมือง ซึ่งมีประวัติความเป็นมาดังนี้

Home / ฉะเชิงเทรา / วัดปิตุลาธิราชรังสฤษฎิ์ โบราณสถานสำคัญ 1 ในวัดสวย ฉะเชิงเทรา

วัดปิตุลาธิราชรังสฤษฎิ์ วัดสวย ฉะเชิงเทรา

วัดปิตุลาธิราชรังสฤษฎิ์

จังหวัดฉะเชิงเทรา มีแหล่งโบราณสถาน และวัดวาอารามที่ถ่ายทอดเรื่องราวความงดงามและคุณค่าทางประวัติศาสตร์ไว้มากมาย หนึ่งในนั้นคือ วัดปิตุลาธิราชรังสฤษฎิ์ พระอารามหลวงสำคัญของจังหวัด เดิมชื่อ วัดเมือง ซึ่งมีประวัติความเป็นมาดังนี้

วัดเมือง

ประวัติ วัดปิตุลาธิราชรังสฤษฎิ์

วัดสวย ฉะเชิงเทรา

วัดปิตุลาธิราชรังสฤษฎิ์ หรือวัดเมือง สร้างในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 เมื่อปี พ.ศ. 2377 โดยโปรดให้ เจ้าพระยายมราช เจ้าพระยามหาโยธา หาที่จะสร้างเมืองฉะเชิงเทราใหม่ และโปรดให้พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงรักษ์รณเรศ (หม่อมไกรสร) ซึ่งเป็นพระราชโอรสองค์ที่ 33 ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 เป็นแม่กองทำการสร้างกำแพงเมืองฉะเชิงเทรา จนแล้วเสร็จเมื่อปี 2380 พร้อมทั้งโปรดเกล้าฯ ให้สร้างวัดแห่งหนึ่งไว้กลางเมือง ซึ่งเดิมทีวัดเมืองนี้อาจเคยมีแผนให้สร้างกลางเมืองแต่ด้วยเหตุใดไม่ทราบได้ จึงมีการสร้างบริเวณด้านเหนือของเมืองแทน เมื่อสร้างวัดเสร็จแล้ว ในระยะแรกเรียกชื่อวัดว่า “วัดเหนือเมือง” “วัดหลักเมือง”หรือ วัดท้ายเมือง’ ด้วยเพราะสร้างในพื้นที่ด้านท้ายเมือง และ/หรือ อยู่ในพื้นที่ด้านเหนือของเมือง จึงขานชื่อที่ต่างกันไปโดยเรียกรวมๆ อย่างสามัญว่า “วัดเมือง” ความสำคัญทางประวัติศาสตร์ของวัดคือ เคยเป็นลานประหารชีวิตพวกกบฏอั้งยี่ในสมัยรัชกาลที่ 3

กำแพงแก้ว

และเนื่องจากเป็นวัดสำคัญของเมืองจึงเป็นสถานที่ใช้สำหรับพระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา และปรากฏหลักฐานว่าได้รับผ้าพระกฐินพระราชทานในสมัยรัชกาลที่ 4 อีกด้วย

โบราณสถาน

จากนั้นได้รับพระราชทานนามวัดใหม่ จากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ว่า “วัดปิตุลาธิราชรังสฤษฏ์” อันเป็นการเฉลิมพระเกียรติให้พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ในวาระฉลองพระชนมายุครบรอบ 100 พรรษา ในปี พ.ศ. 2430

อนึ่ง : เอกสารราชการได้ปรากฏชื่อวัดปิตุลาธิราชรังสฤษฏ์ มาก่อนหน้านั้นแล้วอย่างน้อยตั้งแต่ปี พ.ศ.2427 จากคดีนายฮ้อยแสงสุริยาที่กล่าวโทษพระยาวิเศษฤๅไชย(ช้าง)

พระประธาน

จากนั้นได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ ให้ยกเป็นพระอารามหลวง ชั้นตรี ชนิดสามัญ เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2551 เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 วันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2550 นับแต่นั้นเป็นต้นมา

สิ่งสำคัญภายในวัด

  • หอระฆังเก่าที่สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2478
  • ศาลกรมหลวงรักษ์รณเรศ ศาลเจ้าขนาดเล็กสร้างขึ้นตามศิลปะแบบจีน
  • พระอุโบสถหลังเก่าที่ตั้งอยู่ติดกับแม่น้ำบางปะกงและหันหน้าไปทางทิศตะวันออก
  • พระวิหารซึ่งมีมุขเด็จด้านหน้าและด้านหลัง มีหลังคาลด 4 ชั้น ภายในพระวิหารแห่งนี้เป็นที่ประดิษฐานพระประธานและพระพุทธรูปหน้าตักกว้าง 3 ศอกเศษจำนวน 4 องค์ด้วยกันพร้อมกับมีรอยพระพุทธบาทจำลองหล่อด้วยสำริด และมีภาพมงคล 108 ที่หล่อขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 3 โดยพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดวงจักรกรมหมื่นณรงค์หริรักษ์พร้อม ๆ กับการสร้างกำแพงเมืองฉะเชิงเทราในอดีต
  • หลวงพ่อพระพุทธโสธร
  • พระประธานภายในอุโบสถ ประดิษฐาน พระพุทธรูปปางมารวิชัย พระพุทธรูปปูนปั้นลงรักปิดทอง สีทองสวยงามมีหน้าตักกว้าง 6 ศอก
พระปรางค์

อุโบสถและวิหารล้อมรอบด้วยกำแพงแก้วก่ออิฐถือปูน ขนาดใหญ่และหนา ประกอบด้วยพระปรางค์หลายองค์ที่บริเวณมุมของกำแพงแก้ว มีลักษณะคล้ายกับพระปรางค์ในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว) จึงเป็นที่ยอมรับเชื่อถือว่า คงจะเป็นช่างฝีมือจากเมืองหลวงเป็นผู้ก่อสร้าง

พระ
ลานวัด
ลานต้นจัน

ต้นจัน วัดปิตุลาธิราชรังสฤษฎิ์ : รุกข มรดกของแผ่นดิน ใต้ร่มพระบารมี

ลานต้นจัน ตำแหน่งสำคัญทางประวัติศาสตร์ ด้วยต้นจันนี้ อายุประมาณ 170 ปี เส้นรอบวง 4.25 เมตร สูงโดยประมาณ 10 เมตร อยู่คู่กับวัดปิตุลาธิราชรังสฤษฎิ์ (วัดเมือง) มาอย่างยาวนาน ซึ่งวัดเมืองสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2377 โดยพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงรักษ์รณเรศ พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (รัชกาลที่ 1 ) และเจ้าจอมมารดาน้อยแก้ว

บริเวณลานใต้ต้นจันเคยเป็นลานประหารกบฏอั้งยี่ โดยจะนำกบฏมาประหารชีวิต ณ บริเวณโคนต้นจันใหญ่ที่อยู่ระหว่างอุโบสถกับพระวิหารของวัดปิตุลาธิราชรังสฤษฎิ์นี้ วัดจึงได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานจากกรมศิลปากรเมื่อ พ.ศ. 2539 และในปีพ.ศ. 2561 กระทรวงวัฒนธรรมได้ประกาศให้ ต้นจัน วัดปิตุลาธิราชรังสฤษฎิ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา เป็น รุกข มรดกของแผ่นดิน ใต้ร่มพระบารมี

ภาพโดย แพรว
ที่อยู่ : 156 ถนนมรุพงษ์ อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา จังหวัดฉะเชิงเทรา 24000
Google map :
https://maps.app.goo.gl/bVEkn4YaZCFv5HzZ7
เวลาทำการ : 06.00 น. – 21.00 น.

เนื้อหาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

ไหว้ขอพร พระพุทธโสธรจำลอง องค์แรกของไทย ที่วัดพิกุลเงิน
ไหว้หลวงพ่อโสธร ปล่อยปลา ขอพรสมหวัง ณ วัดโสธรวรารามวรวิหาร
วัดชมโพธยาราม กราบ 4 สังเวชนียสถานจำลองแห่งเดียวในฉะเชิงเทรา