วัดท่าข้าม วัดท่าข้าม บางขุนเทียน วัดมอญ

กราบหลวงพ่อรัศมี วัดท่าข้าม บางขุนเทียน ชมจิตรกรรมฝาผนังแรร์ไอเท็ม

เดิมวัดนี้มีชื่อว่า "วัดสุคนธาริยาราม" ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น "วัดท่าข้าม" ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4 ) โดยตั้งชื่อตามลักษณะพื้นที่ที่ตั้งวัดจากคำพูดที่ติดปากของชาวบ้านในบริเวณดังกล่าว

Home / กรุงเทพมหานครฯ / กราบหลวงพ่อรัศมี วัดท่าข้าม บางขุนเทียน ชมจิตรกรรมฝาผนังแรร์ไอเท็ม

กราบหลวงพ่อรัศมี วัดท่าข้าม บางขุนเทียน ชมจิตรกรรมฝาผนังแรร์ไอเท็ม

วัดท่าข้าม

วัดท่าข้าม วัดมอญเก่าแก่แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ตั้งวัดเมื่อปี พ.ศ. 2375 ในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3 ) และได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อ พ.ศ. 2559 โดยเป็นการร่วมบุญของชาวท่าข้ามซึ่งเป็นชุมชนชาวมอญที่อพยพย้ายมาจากจังหวัดสมุทรสงครามมาอาศัยอยู่ในบริเวณนี้ได้สร้างวัดท่าข้ามแห่งนี้ขึ้นมา เพื่อประกอบศาสนพิธีในวันพระและวันสำคัญทางศาสนา เดิมวัดนี้มีชื่อว่า “วัดสุคนธาริยาราม” ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น “วัดท่าข้าม” ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4 ) โดยตั้งชื่อตามลักษณะพื้นที่ที่ตั้งวัดจากคำพูดที่ติดปากของชาวบ้านในบริเวณดังกล่าวที่เรียกบริเวณดังกล่าวว่า “ท่าข้าม” ด้วยใช้เป็นท่าเรือที่ข้ามฟากไป – มาในอดีต จึงเปลี่ยนชื่อวัดมาใช้ชื่อว่า”วัดท่าข้าม”จนถึงปัจจุบัน

วัดท่าข้าม บางขุนเทียน

จุดเด่นของวัด คือ พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ หลวงพ่อรัศมี หรือชื่อเดิมว่า หลวงพ่อสายรุ้ง พระประธานในอุโบสถเก่า โดยชื่อของพระพุทธรูปมาจากลักษณะองค์พระมีลวดลายสีสันคล้ายสายรุ้ง เนื่องจากวัสดุที่ใช้ในการฉาบองค์พระทำมาจากปูนเปลือกหอยและนํ้าอ้อย ในอดีตได้เกิดปาฎิหาริย์ มีแสงรัศมีแผ่ออกมาจากอุโบสถชาวบ้านคิดว่า เกิดไฟไหม้ที่อุโบสถจึงรีบนำนํ้าไปดับไฟแต่ปรากฎว่าไม่มีไฟไหม้แม้แต่จุดเดียว สร้างความศรัทธาต่อชาวบ้านจึงเปลี่ยนชื่อเป็น “หลวงพ่อรัศมี” จนถึงปัจจุบัน

อุโบสถเดิม

อุโบสถเก่าวัดท่าข้ามเป็นอุโบสถขนาดเล็กแบบโครงสร้างช่วงล่างเป็นปูนส่วนผนังและเครื่องหลังคาทำด้วยไม้ ภายในประดิษฐานพระพุทธปางมารวิชัยนามว่า หลวงพ่อรัศมี เป็นประธานภายในพระอุโบสถ

วัดมอญ

และนอกจากนี้ ยังสามารถย้อนดูวิถีชีวิตชาวมอญได้จากงานจิตรกรรมฝาผนังที่ศาลาการเปรียญวัด รวมถึงภาพจิตรกรรมทศชาติชาดก โดยภายในมีเสาประกอบอาคารจำนวน 8 ต้น ระหว่างเสาบริเวณคอสอ ปรากฏภาพจิตรกรรม ซึ่งสันนิษฐานว่าวาดขึ้นในช่วงราวรัชกาลที่ 4–5 เป็นเรื่องทศชาติชาดก ช่องละ 1 พระชาติ แบ่งเป็นด้านข้างซ้ายขวาจำนวน 8 ช่อง และด้านสกัดคือด้านทิศตะวันตก-ตะวันออกอีก 2 ช่อง รวมเป็น 10 ช่อง แสดงเป็นสิบพระชาติของพระพุทธเจ้า บริเวณท้องจันทันเป็นภาพจิตรกรรมเกี่ยวกับวิถีชีวิตและพิธีกรรมของชาวมอญในอดีต อย่างเช่น ภาพพ่อลูกถือคันไถเทียมควายกำลังไถนาเพื่อเตรียมการปักดำ ภาพผู้หญิงสองคนกำลังปักดำ ภาพการลงแขกเกี่ยวข้าว ภาพประเพณีและพิธีปลงศพของชาวมอญ ซึ่งแตกต่างจากวัดอื่นๆ

วัดมอญ
อุโบสถ
อุโบสถ
ใบเสมา
ใบเสมา
หลวงพ่อรัศมี
หลวงพ่อรัศมี
วัด

ปัจจุบันเหลือเพียงคนเก่าแก่ที่มีเชื้อสายมอญเพียงไม่กี่คนเท่านั้น โดยมากเป็นคนไทยและคนไทยเชื้อสายจีนที่อาศัยอยู่

ภาพโดย แพรว

ที่อยู่ : เลขที่ 1 หมู่ 4 ถนนอนามัยงามเจริญ แขวงท่าข้าม เขตบางขุนเทียน กรุงเทพ 10150
Google map : https://maps.app.goo.gl/APKwef57PknTf9pX6
เวลาทำการ : 06.00 น. – 20.00 น.

เนื้อหาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
วัดท้ายเกาะใหญ่ เจดีย์มอญที่ใหญ่ที่สุดในปทุมธานี แหล่งประวัติศาสตร์ ร.5
ชมวัดมอญอายุกว่า 300 ปี กราบพ่อปู่สีชมภู วัดชมภูเวก
สักการะเจดีย์ชะเวดากอง วัดเมตารางค์ วัดมอญ จ.ปทุมธานี


คำทำนายดวงชะตาของคุณวางจำหน่ายแล้ววันนี้
ช่องทางการสั่งซื้อที่แอปพลิเคชัน MTHAI
มือถือแอนดรอยด์ : https://play.google.com/store/apps/details
มือถือ iOS ไอโฟน : https://apps.apple.com/gr/app/mthai-com/id471243201

ดวงปี 2568