The Great Conjunction 2020 ดาราศาสตร์ ดาวพฤหัสบดีเคียงดาวเสาร์ ปรากฎการณ์ธรรมชาติ

ปรากฏการณ์ “ดาวพฤหัสบดี” เคียง “ดาวเสาร์” ใกล้ที่สุดในรอบ 397 ปี |20-23 ธ.ค.นี้

หากพลาดต้องรออีก 60 ปีถึงได้ดู ปรากฏการณ์ “ดาวพฤหัสบดี” เคียง “ดาวเสาร์” จะเกิดขึ้นวันที่ 20 - 23 ธันวาคม 2563

Home / TRAVEL / ปรากฏการณ์ “ดาวพฤหัสบดี” เคียง “ดาวเสาร์” ใกล้ที่สุดในรอบ 397 ปี |20-23 ธ.ค.นี้

ปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ที่น่าติดตามในช่วงส่งท้ายปีเก่า 2563 นี้คือ “ดาวพฤหัสบดี” เคียง “ดาวเสาร์” หรือเรียกว่า “The Great Conjunction 2020”ความพิเศษคือดาวทั้งสองจะใกล้กันที่สุดในรอบ 397 ปี ถ้าพลาดไม่ได้ชมครั้งนี้ต้องรออีก 60 ปีเลยล่ะถึงจะได้ดูกันอีกครั้ง!

ปรากฏการณ์ “ดาวพฤหัสบดี” เคียง “ดาวเสาร์” หากพลาดต้องรออีก 60 ปีถึงได้ดู

ปรากฏการณ์ “ดาวพฤหัสบดี” เคียง “ดาวเสาร์” หรือเรียกว่า “The Great Conjunction 2020” จะเกิดขึ้นในช่วงวันที่ 20 – 23 ธันวาคม 2563 ดาวพฤหัสบดีและดาวเสาร์จะปรากฏใกล้กันบนท้องฟ้าห่างเพียง 0.1 องศาเท่านั้น!! หากมองด้วยตาเปล่าจะเห็นจุดสว่างเพียงจุดเดียว และหากมองผ่านกล้องโทรทรรศน์กำลังขยายไม่เกิน 200 เท่า จะเห็นดาวเคราะห์ทั้งสองอยู่ในช่องมองภาพเดียวกัน สังเกตได้ในช่วงค่ำ ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ บริเวณกลุ่มดาวคนยิงธนูและกลุ่มดาวเเพะทะเล ปรากฏการณ์นี้เกิดขึ้นในทุก 20 ปี แต่ครั้งนี้นับว่าเข้าใกล้ที่สุดในรอบกว่า 397 ปี หากพลาดโอกาสชมปรากฏการณ์ครั้งนี้ ต้องรออีก 60 ปีข้างหน้า ดาวเคราะห์ทั้งสองจึงจะเข้ามาใกล้กันในระยะห่าง 0.1 องศาแบบนี้อีกครั้ง

ด้านทาง NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ ได้มีการจัด จุดสังเกตการณ์หลัก 4 แห่ง สำหรับการชม “ดาวพฤหัสบดีเคียงดาวเสาร์” ใกล้ที่สุดในรอบ 397 ปี “The Great Conjunction 2020” ได้แก่

  • เชียงใหม่ : อุทยานดาราศาสตร์สิรินธร อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ โทร. 081-8854353
  • นครราชสีมา : หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติฯ นครราชสีมา โทร. 044-216254
  • ฉะเชิงเทรา : หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติฯ ฉะเชิงเทรา โทร. 038-589395
  • สงขลา : หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติฯ สงขลา โทร. 095-1450411

โดยจะจัดวันที่ 19 – 23 ธันวาคม 2563 เวลา 18:00 – 22:00 น. สำหรับคนที่สนใจก็สามารถเข้าไปดูได้ที่จุดสังเกตการณ์หลักทั้ง 4 แห่ง นอกจากนี้ยังมีโรงเรียนเครือข่ายดาราศาสตร์ที่ได้รับมอบกล้องโทรทรรศน์ ในโครงการกระจายโอกาสการเรียนรู้ดาราศาสตร์อีก 460 แห่งทั่วประเทศ สามารถตรวจสอบรายละเอียดได้ทาง http://bit.ly/MemberList-NARIT-DobsonianTelescope2020

ที่มา : NARIT