ประโยชน์ของ พื้นถนนสีแดง มีไว้เพื่ออะไร หากสังเกตจะเห็นบนนถนนช่วง ทางร่วม ทางแยก ทางโค้ง
ถนน
ประวัติ ถนนเจริญกรุง ถนนเก่าแก่สายสำคัญในกรุงเทพฯ
ประวัติถนนเจริญกรุง (Thanon Charoen Krung) สร้างขึ้นเมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2404 แล้วเสร็จใน พ.ศ. 2407
การอ่านหมายเลขทางหลวง เรื่องใกล้ตัวที่หลายคนอาจยังไม่รู้?
การอ่านหมายเลขทางหลวง เลขแต่ละหลักมีความหมาย เลขทางหลวง ที่มีเลขสองตัว เลขทางหลวง ที่มีเลขสามตัว
ทางเอก-ทางโท รู้เป็น แยกได้ในเสี้ยววินาที เปลี่ยนวิกฤติจากหนักเป็นเบาได้สบายๆ
ทางเอก และทางโท เป็นหนึ่งในศัพท์ทางกฎหมายที่บัญัติไว้ใน พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ “ทางร่วมแยก” แต่สามารถสร้างความสับสนได้ในชั่วขณะ โดยเฉพาะเมื่อเกิดประสบอุบัติเหตุรถชนกันในทางร่วมทางแยกต่างๆ เวลาที่เจรจากับตำรวจหรือประกันอาจจะทำให้หลายๆ คนมองข้ามด้วยอารมณ์ชั่ววูบ และอาจจะส่งผลเป็นฝ่ายผิดได้โดยไม่รู้ตัว การแยกความแตกต่างระหว่าง ทางเอก และทางโท…
เปิดแล้ว ! ถนน-อุโมงค์ ‘กบินทร์บุรี-ปักธงชัย’ ต้นแบบทางเชื่อมผืนป่ามรดกโลกแห่งแรกของไทย
นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นประธานในพิธีเปิดใช้ทางหลวงหมายเลข 304 สาย อ.กบินทร์บุรี – อ.ปักธงชัย ซึ่งเป็นถนนเชื่อมผืนป่ามรดกโลกแห่งแรกของประเทศไทย ก่อสร้างโดยกรมทางหลวง นายอานนท์ เหลืองบริบูรณ์ อธิบดีกรมทางหลวง เปิดเผยว่า ทางหลวงหมายเลข 304 เป็นเส้นทางสายยุทธศาสตร์ที่เชื่อมโยงภาคตะวันออกและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และเป็นเส้นทางสายหลักที่รองรับการขนส่งสินค้าจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือสู่ท่าเรือแหลมฉบังและนิคมอุตสาหกรรมภาคตะวันออก ปัจจุบันมีการขยายเส้นทางเป็น 4 ช่องจราจร ยกเว้นบริเวณ กม.191+860 ถึง กม.195+310 และบริเวณกม.207+760 ถึง กม.233+269 ที่ยังไม่สามารถดำเนินการก่อสร้างได้ เนื่องจากแนวเส้นทางดังกล่าวอยู่ในพื้นที่รอยต่อของอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่-อุทยานแห่งชาติทับลาน ซึ่งเป็นพื้นที่สำคัญส่วนหนึ่งของพื้นที่มรดกโลกดงพญาเย็นเขาใหญ่ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกทางธรรมชาติ จนปี 2548 คณะกรรมการมรดกโลกได้เสนอแนะให้ประเทศไทยดำเนินการจัดทำแนวเชื่อมต่อ (Wildlife Corridor) เพื่อเพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพและป้องกันสัตว์ป่าไม่ให้ได้รับอันตรายจากถูกรถชน ทั้งนี้กรมทางหลวงได้ดำเนินการสำรวจและออกแบบรายละเอียดและจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม(EIA) ทางเชื่อมผืนป่ามรดกโลกบนทางหลวงหมายเลข 304 ขึ้น ภายใต้การบูรณาการข้อมูลทางวิชาการร่วมกันระหว่างกรมทางหลวง กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช และคณะกรรมการมรดกโลก ให้เป็นถนน 4 ช่องจราจร รวมระยะทางประมาณ 19 กิโลเมตร ทั้งนี้ทางหลวงเส้นดังกล่าวมีความโดดเด่นคือการก่อสร้างทางเชื่อมผืนป่าที่ได้ออกแบบเป็นอุโมงค์ชนิดดินตัดและถมกลับ โดยถมดินด้านบนอุโมงค์ ปลูกต้นไม้เพื่อปรับปรุงภูมิทัศน์และระบบนิเวศ เพื่อจูงใจให้สัตว์ป่าเข้ามาใช้ประโยชน์ และสามารถข้ามฝั่งไป-มาได้ ปัจจุบันบริเวณหลังคาของอุโมงค์พบรอยเท้าของสัตว์ป่าข้ามไป-มาหากันทั้งสองผืนป่าระหว่างอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่และอุทยานแห่งชาติทับลาน นอกจากนี้ โครงการยังได้ก่อสร้างสะพานทางยกระดับเพื่อเป็นทางลอดสัตว์ป่า (Wildlife Underpass) 2 ช่วง ระยะทาง 570 เมตร และ ระยะทาง 340 เมตร รถสามารถวิ่งบนสะพาน ในขณะเดียวกันสัตว์ป่าสามารถลอดใต้สะพานไป-มาได้อย่างปลอดภัย อันเป็นการรักษาไว้ซึ่งมรดกทางธรรมชาติ ส่งเสริมระบบนิเวศ ซึ่งเป็นคุณค่าโดดเด่นเป็นสากลของผืนป่ามรดกโลกดงพญาเย็น-เขาใหญ่
ความต่างระหว่าง ทางด่วน, โทลเวย์, ไฮเวย์, มอเตอร์เวย์ ที่คนใช้รถใช้ถนนควรรู้
สำหรับมือใหม่ที่เพิ่งหัดขับรถ หรือเพิ่งขับได้ไม่นานอาจเคยฟังคลื่น วิทยุจราจร ขณะขับรถ เเละมีความสงสัยขณะที่มีการรายงาน สภาพจราจร ในแต่ละเส้นทางเช่น ทางด่วน, โทลเวย์, ไฮเวย์, มอเตอร์เวย์ ว่า ถนน เหล่านี้มีความต่างกัันอย่างไร แตกต่างกับถนนปกติในเขตตัวเมือง เขตเทศบาลที่ใช้แค่ไหน ทั้งหมดนี้เรามาไขข้อข้องใจไปพร้อมๆ กัน โทลเวย์…