สำหรับมือใหม่ที่เพิ่งหัดขับรถ หรือเพิ่งขับได้ไม่นานอาจเคยฟังคลื่น วิทยุจราจร ขณะขับรถ เเละมีความสงสัยขณะที่มีการรายงาน สภาพจราจร ในแต่ละเส้นทางเช่น ทางด่วน, โทลเวย์, ไฮเวย์, มอเตอร์เวย์ ว่า ถนน เหล่านี้มีความต่างกัันอย่างไร แตกต่างกับถนนปกติในเขตตัวเมือง เขตเทศบาลที่ใช้แค่ไหน ทั้งหมดนี้เรามาไขข้อข้องใจไปพร้อมๆ กัน
โทลเวย์ – คือถนนที่เก็บค่าผ่านทางดูแลโดยบริษัทดอนเมืองโทลเวย์ ซึ่งเป็นเอกชน เป็นทางด่วนยกระดับลอยฟ้าเฉพาะในเขตกรุงเทพ เริ่มตั้งแต่ช่วงดินแดงจนถึงโรงกษาปณ์ย่านรังสิต มุ่งหน้าสู่ภาคเหนือเเละอีสาน รวมระยะทางทั้งหมด 28.2 กม.
มอเตอร์เวย์ – มอเตอร์เวย์เป็นทางด่วนระหว่างเมืองหรือจังหวัดติดต่อกัน ให้ใช้เฉพาะรถยนต์ รถบัส หรือรถบรรทุกเท่านั้นในการสัญจร (ห้ามคน เเละรถจักรยานยนต์) มีรั้วตลอดทางและจะเป็นถนนที่มีการเก็บค่าผ่านทาง และเป็นถนนทางเลือกคู่ไปกับถนนเดิม มีสองสายคือ ทางด่วนพิเศษหมายเลข7 มอเตอร์เวย์-กรุงเทพ-ชลบุรี-พัทยา รวมระยะทาง 125.9กม. เเละ สาย 9 = ถนนกาญจนาภิเษก (วงแหวนรอบนอกด้านตะวันออก)
ไฮเวย์ – คือทางหลวงแผ่นดินวิ่งระหว่างจังหวัดไม่เสียค่าผ่านทาง แบ่งออกเป็น 5 ประเภท ได้แก่ ทางหลวงพิเศษ ทางหลวงแผ่นดิน ทางหลวงชนบท ทางหลวงท้องถิ่น และทางหลวงสัมปทาน ทางหลวงหลักที่เชื่อมต่อระหว่างกรุงเทพมหานครไปยังภูมิภาคหลักของประเทศไทย มีทั้งหมด 4 สาย ได้แก่ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 ถนนพหลโยธิน ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2 ถนนมิตรภาพ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3 ถนนสุขุมวิท เเละทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 ถนนเพชรเกษม
ทางด่วน – คือทางพิเศษดูแลโดย การทางพิเศษแห่งประเทศไทย โดยให้ใช้ในลักษณะให้เก็บค่าผ่านทาง ปัจจุบันมี 6 สาย
1. ทางด่วนเฉลิมมหานคร หรือ ทางด่วนขั้นที่ 1 (ดินแดง-ท่าเรือ , บางนา-ท่าเรือ , ดาวคะนอง-ท่าเรือ)
2. ทางด่วนศรีรัช หรือ ทางด่วนขั้นที่ 2 (บางโคล่-แจ้งวัฒนะ , พญาไท-ศรีนครินทร์)
3. ทางด่วนฉลองรัช (จตุโชติ-รามอินทรา-อาจณรงค์)
4. ทางด่วนบูรพาวิถี (บางนา-ชลบุรี)
5. ทางด่วนอุดรรัถยา (แจ้งวัฒนะ-บางปะอิน)
6.ทางพิเศษสาย S1
7. ทางด่วนกาญจนาภิเษก วงแหวนรอบนอกด้านใต้ (บางพลี-พระราม 2)
ที่นี้ก็เป็นอันเข้าใจเเล้วว่าถนนในประเทศไทยแต่ละประเภทแตกต่างกันอย่างไร คราวหน้าหากฟังวิทยุราการเส้นทางการจราจรจะได้นึกออกว่าถนนที่ผู้จัดการรายการเอ่ยถึงอยู่นั่นคืือถนนรูปแบบใดช่วยในการเข้าใจสภาพการจราจรในการขับรถมากยิ่งขึ้น