กรุงศรี (ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)) ตอกย้ำความมุ่งมั่นในการเป็นพันธมิตรที่ลูกค้าไว้วางใจ (Trusted Partner) เร่งเดินหน้าผลักดันให้ภาคธุรกิจไทยปรับตัวสู่ภาคธุรกิจยั่งยืน ล่าสุดได้ร่วมมือกับ มิตซูบิชิ ยูเอฟเจ ไฟแนนเชียล กรุ๊ป (MUFG) สถาบันการเงินที่ใหญ่ที่สุดในญี่ปุ่นและเป็นกลุ่มสถาบันการเงินชั้นนำของโลก จัดงาน Krungsri-MUFG ESG Symposium 2024 สุดยอดการประชุมสัมมนาด้าน ESG โดยได้รับเกียรติจากหน่วยงานภาครัฐ คณะผู้บริหารระดับสูงจากองค์กรธุรกิจชั้นนำ และผู้เชี่ยวชาญด้าน ESG ระดับโลกมาร่วมถ่ายทอดองค์ความรู้ ส่งต่อแนวคิดตลอดจนโซลูชันที่ช่วยสนับสนุนธุรกิจในการทำแผนเปลี่ยนผ่านสู่ความยั่งยืนที่แท้จริง
ส่วนหนึ่งของงานสัมมนาครั้งนี้ ได้รับเกียรติจากลูกค้าธุรกิจองค์กรขนาดใหญ่ร่วมเสวนาภายใต้หัวข้อ “การเงินสีเขียว ก้าวที่สำคัญสู่ธุรกิจที่ยั่งยืน” โดยมี นางจันทนิดา สาริกะภูติ ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ – การเงินและการลงทุน บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) นายวรพงษ์ นาคฉัตรีย์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่บริหารความยั่งยืน บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และนางสาวนภารัตน์ ศรีวรรณวิทย์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานการเงิน บัญชี และความเสี่ยง บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) มาร่วมแบ่งปันแนวทางสู่ความสำเร็จบนเส้นทางธุรกิจสีเขียว โดยมีกรุงศรีเป็นตัวกลางที่จะช่วยผลักดัน (Enabler) ให้แต่ละองค์กรบรรเป้าหมายที่วางไว้ ซึ่งต่างมองการปรับตัวสู่เส้นทางสีเขียวใน 2 มิติ คือ โครงสร้างองค์กร และผลิตภัณฑ์
สำหรับ เอสซีจี (SCG) ใช้วาระการเปลี่ยนผ่านสู่ Green Growth ทำองค์กรให้มีความคล่องตัวและยืดหยุ่น (Agile Organization) รวมถึงเป็นองค์กรแห่งโอกาส (Organization of Possibilities) พร้อมที่จะปรับตัวรับมือกับการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ขณะที่ในด้านของผลิตภัณฑ์ ได้ผลักดัน Green Innovations เช่น ปูนคาร์บอนต่ำ และ การผลิตสินค้าพลาสติกที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยมองว่าในการผลักดันแนวทาง ESG องค์กรสามารถหาโอกาสทางธุรกิจได้เสมอ และดีกับทุกฝ่าย โดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง (Inclusive Society)
ด้าน ปตท. (PTT) ได้ให้ความสำคัญกับผลิตภัณฑ์ที่จะกลายเป็น New source of growth เช่น EV Value Chain และ Hydrogen โดยตั้งเป้าว่าในปี 2030 ต้องมีส่วนแบ่งรายได้ที่ 30% ทั้งนี้ บริษัทในเครือ (เช่น GPSC PTTEP) ต่างผลักดันการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก มุ่งสู่เป้าหมาย Carbon Neutrality และ Net Zero Emissions ไปตามความเชี่ยวชาญของแต่ละบริษัท และ ปตท. เองได้ออกจากธุรกิจถ่านหินเรียบร้อยแล้ว ดังนั้น กุญแจสำคัญจึงอยู่ที่การปรับตัวเองให้ยืดหยุ่น พร้อมรับความท้าทายรูปแบบต่างๆ และมีการจัดการอย่างเป็นระบบ
ในส่วนของ ซีพีเอ็น (CPN) มีการปรับกระบวนการดำเนินงานให้ปล่อยคาร์บอนลดลง ลด Waste และสร้าง Green Building และแม้จะมีข้อจำกัดด้านเงินทุนอยู่บ้าง แต่ก็ได้รับการช่วยเหลือจากสถาบันการเงินผ่านโซลูชันต่างๆ โดยปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้บรรลุเป้าหมายได้ดีคือ การทำให้คนในองค์กรเข้าใจและร่วมกันเดินไปบนเส้นทางสายเดียวกัน
ด้าน นายประกอบ เพียรเจริญ ประธานคณะเจ้าหน้าที่ด้านลูกค้าธุรกิจขนาดใหญ่และวาณิชธนกิจ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) ได้ขยายความบทบาทสำคัญของธนาคารในการเป็น “แรงผลักดัน” เพื่อช่วยขับเคลื่อนธุรกิจสีเขียวว่า “แต่ละองค์กร หรือธุรกิจก็มีข้อจำกัด ความจำเป็น ความชัดเจนในแนวทางหรือเป้าหมายที่แตกต่างกัน ขณะที่เรื่องของกฏ กติกา ข้อกฎหมาย มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาและแตกต่างกันตามลักษณะของธุรกิจ กรุงศรี ในฐานะผู้สนับสนุนลูกค้าธุรกิจให้ก้าวข้ามสู่เส้นทางความยั่งยืน เรามีหน่วยงาน EFD (ESG Finance Department) ที่เป็นทีมงานผู้เชี่ยวชาญในระดับ Global ทำงานอย่างใกล้ชิดกับเครือข่ายระดับโลกอย่าง MUFG ในการให้ความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับการเงินเพื่อความยั่งยืน รวมถึงการให้คำแนะนำปรึกษากับลูกค้าธุรกิจเพื่อช่วยวางแผนในช่วงการเปลี่ยนผ่านตามมาตรฐานสากล โดยเฉพาะปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทั่วโลก ซึ่งพร้อมที่จะนำพาลูกค้าก้าวสู่การเติบโตที่ยั่งยืนไปด้วยกัน”
ขณะเดียวกัน ในมุมมองของผู้ประกอบการ SME หลายคนอาจมองว่า การเดินตามแนวทาง ESG เป็นการเพิ่มต้นทุนให้กับกิจการ ซึ่งด้าน นางสาวดวงกมล ลิมป์พวงทิพย์ ประธานคณะเจ้าหน้าที่ด้านลูกค้าธุรกิจ SME ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ได้บรรยายในหัวข้อ “พลิกโฉม SME สู่ธุรกิจสีเขียว” โดยได้ให้มุมมองเกี่ยวกับการทำธุรกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมหรือธุรกิจสีเขียว (Green Business) ว่าเป็นการปรับเปลี่ยนวิธีการดำเนินการตลอดห่วงโซ่คุณค่า ตั้งแต่ขั้นตอนการวางแผนไปจนถึงการผลิตและจัดส่งสินค้า โดยคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมเป็นสำคัญ อีกทั้งเป็นเรื่องเร่งด่วนที่ทุกธุรกิจควรเริ่มปรับตัว เพราะนอกจากผลลัพธ์เชิงบวกด้านสิ่งแวดล้อมแล้ว ยังส่งผลต่อภาพรวมขององค์กร
ทั้งในด้านภาพลักษณ์ การบริหารจัดการ การปรับสภาพคล่อง และยังเป็นการสร้างแต้มต่อให้กับผู้ประกอบการในการเข้าถึงเงินทุนได้ง่ายขึ้น และสร้างความสามารถในการแข่งขัน ซึ่งเป็นแกนหลักของการดำเนินธุรกิจอีกด้วย
“การปรับตัวสู่ธุรกิจสีเขียวนั้นควรเปลี่ยนโดยรวมทั้งองค์กร ไม่ใช่ปรับเพียงส่วนใดส่วนหนึ่ง และองค์กรควรเข้าใจคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของตนเองเพื่อการวางแผนที่ดีและลงมือทำได้จริง จากข้อมูลของ วิจัยกรุงศรี ชี้ให้เห็นว่าผู้บริโภคกว่า 90% ยินดีที่จะจ่ายเพิ่มหากสินค้านั้นๆ ใส่ใจในเรื่องของ ESG อย่างแท้จริง โดยสินค้าที่มีราคา 100 บาทผู้บริโภคยินดีที่จะจ่ายเพิ่ม 12.40 บาท และกรณีที่สินค้ามีราคาระหว่าง 500 – 1,000 บาท ผู้บริโภคยินดีที่จะจ่ายเพิ่ม 45-90 บาท โดยแบรนด์ที่แสดงออกว่า รักษ์สิ่งแวดล้อม สามารถเพิ่มความจงรักภักดีในแบรนด์ (Brand Loyalty) ได้มากกว่า 50% โดย 72% ยังคงจะซื้อแบรนด์เดิมแม้ราคาสูงกว่าราคาตลาด 52% ไม่เปลี่ยนไปใช้แบรนด์อื่นแม้ข้อเสนอดีกว่า และ 69% เข้าร่วมกิจกรรมของแบรนด์อย่างสม่ำเสมอ ซึ่งจากการสำรวจกลุ่มลูกค้า SME ของกรุงศรี จำนวนกว่า 700 ราย พบว่า 74% ยังขาดการรับรู้เกี่ยวกับ ESG ขณะเดียวกัน สำหรับกลุ่มลูกค้าที่มีการรับรู้เกี่ยวกับ ESG แล้ว มีเพียง 14% เท่านั้นที่นำเอากรอบแนวคิดดังกล่าวไปปฎิบัติจริง”