242 รัตนโกสินทร์ กรุงรัตนโกสินทร์ ร่มพระบารมี 242 ปี วัดประยุรวงศาวาส

กระทรวงวัฒนธรรมเปิด “งานวัดพัฒนาประชาคม ไหว้พระรับพรย้อนวันวาน สารพันอาหารย่านกะดีจีน-คลองสาน” ณ วัดประยุรวงศาวาส ภายใต้งานใต้ร่มพระบารมี 242 ปี กรุงรัตนโกสินทร์

วันที่ 19 เมษายน 2567 นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธานพิธีเปิดงานวัดพัฒนาประชาคม ไหว้พระรับพรย้อนวันวาน สารพันอาหารย่านกะดีจีน-คลองสาน โดยพระพรหมบัณฑิต (ประยูร ธมฺมจิตฺโต) เจ้าอาวาสวัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร กล่าวสัมโมทนียกถา…

Home / PR NEWS / กระทรวงวัฒนธรรมเปิด “งานวัดพัฒนาประชาคม ไหว้พระรับพรย้อนวันวาน สารพันอาหารย่านกะดีจีน-คลองสาน” ณ วัดประยุรวงศาวาส ภายใต้งานใต้ร่มพระบารมี 242 ปี กรุงรัตนโกสินทร์

วันที่ 19 เมษายน 2567 นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธานพิธีเปิดงานวัดพัฒนาประชาคม ไหว้พระรับพรย้อนวันวาน สารพันอาหารย่านกะดีจีน-คลองสาน โดยพระพรหมบัณฑิต (ประยูร ธมฺมจิตฺโต) เจ้าอาวาสวัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร กล่าวสัมโมทนียกถา และมีนางยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม ผู้บริหารกระทรวงวัฒนธรรม ผู้นำศาสนาต่างๆ หน่วยงานรัฐ เอกชน เครือข่ายทางวัฒนธรรม ข้าราชการ ประชาชนและสื่อมวลชน เข้าร่วม ณ วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร

ภายในพิธีเปิดงานมีการแสดงชุด “มิตรไมตรี 242 ปี กรุงรัตนโกสินทร์” หลังพิธีเปิดงานรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมพร้อมด้วยปลัดกระทรวงวัฒนธรรมและผู้บริหารเยี่ยมชมซุ้มสาธิตภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชุมชนและซุ้มอาหารของชุมชน

สำหรับงานวัดพัฒนาประชาคม ไหว้พระรับพรย้อนวันวาน สารพันอาหารย่านกะดีจีน-คลองสาน จัดขึ้นวันที่ 19-23 เมษายน 2567 ภายใต้งานใต้ร่มพระบารมี 242 ปี กรุงรัตนโกสินทร์ มีกิจกรรม การแสดงทางศิลปวัฒนธรรม ได้แก่ การแสดงวงออร์เคสตร้า วงดนตรีสากล วงดุริยางค์กรุงเทพมหานครและนักร้องศิลปินแห่งชาติ วงโยธวาทิต ลิเกรวมดาว การประกวดร้องเพลงลูกทุ่งและเพลงลูกกรุง การแสดงหุ่นกระบอกไทย การประกวดอาหารสามศาสน์ กิจกรรมท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม “ปั่นจักรยานเที่ยววัดยามค่ำคืน” การสาธิตภูมิปัญญาด้านอาหารและการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรม

ขณะเดียวกันงานใต้ร่มพระบารมี 242 ปี กรุงรัตนโกสินทร์ จัดขึ้นวันที่ 21-25 เมษายน 2567 ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร โรงละครแห่งชาติ หอศิลป์ร่วมสมัยราชดำเนิน และแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ ภายในงานมีกิจกรรม เช่น ซุ้มเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จบูรพกษัตริย์ในพระบรมราชจักรีวงศ์ การแสดงสวนแสงเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนครในยามค่ำคืน (Night Museum) นิทรรศการและการเสวนาวิชาการ การแสดงทางศิลปวัฒนธรรม ตลาดย้อนยุคกรุงรัตนโกสินทร์ ตลาดผลิตภัณฑ์วัฒนธรรมไทย (CPOT) ตลาดอาหารไทย อาหารถิ่น เป็นต้น

นอกจากนี้ ประชาชนยังสามารถเข้าชมพิพิธภัณฑ์แหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรมรอบเกาะรัตนโกสินทร์ 5 แห่ง ที่เข้าร่วมจัดงานใต้ร่มพระบารมี 242 ปี กรุงรัตนโกสินทร์ เปิดให้ประชาชนเข้าชมนิทรรศการโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ได้แก่ 1.พิพิธภัณฑ์ศาลาว่าการกลาโหม 2.พิพิธภัณฑ์ตำรวจ วังปารุสกวัน 3.พิพิธภัณฑ์เหรียญกษาปณานุรักษ์ 4.พิพิธบางลำพู และ 5.มิวเซียมสยาม

ทั้งนี้ งานใต้ร่มพระบารมี 242 ปี กรุงรัตนโกสินทร์ จัดขึ้นเพื่อน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณและเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมกษัตริย์แห่งพระบรมราชวงศ์จักรีและพระมหากษัตริย์ไทยทุกพระองค์ในราชวงศ์จักรี ผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐยิ่งที่ได้ทรงนำพาประเทศชาติให้เจริญเป็นปึกแผ่นมั่นคง ทรงทำนุบำรุงศาสนา สร้างสรรค์ศิลปวัฒนธรรมให้เจริญรุ่งเรืองสืบมาจนปัจจุบัน และเพื่อให้เด็ก เยาวชน และประชาชนได้เรียนรู้ประวัติศาสตร์การสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์และความภาคภูมิใจในความเป็นคนไทย รวมทั้งส่งเสริมการท่องเที่ยวจากมรดกทางศิลปวัฒนธรรมและทุนทางวัฒนธรรมที่สามารถต่อยอดสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ สร้างงานสร้างรายได้สู่ประชาชนและชุมชน กระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศ

วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร หรือที่ชาวบ้านเรียกกันว่า “วัดรั้วเหล็ก” ตั้งอยู่ใกล้กับเชิงสะพานพระพุทธยอดฟ้าฝั่งธนบุรี เขตธนบุรี กรุงเทพฯ สร้างในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 โดยสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ (ดิศ) ขณะดำรงตำแหน่งเจ้าพระยาพระคลัง ผู้มีศรัทธาอย่างแรงกล้าในพระบวรพุทธศาสนา จึงได้อุทิศสวนกาแฟ ณ ตำบลกุฎีจีน ซึ่งเป็นที่ดินที่ได้รับพระราชทานสถาปนาขึ้นเป็นพระอารามสำหรับพระภิกษุสงฆ์และฆราวาสศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัยและปฏิบัติธรรม เริ่มสร้างเมื่อปีพ.ศ. 2371 ใช้เวลาก่อสร้างนานกว่า 8 ปี จึงแล้วเสร็จในปี พ.ศ.2379

ต่อมาปีพ.ศ.2393ได้รับพระราชทานชื่อจากพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวว่า “วัดประยุรวงศาวาส” ซึ่งคล้องกันกับพระราชทินนามที่ได้รับในเวลาต่อมา โดยชื่อของวัดนั้นมีความหมายว่า “อารามแห่งวงศ์พระประยูรญาติ” ซึ่งถือเป็นเกียรติอย่างสูงแก่สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์และเหล่า “ราชินิกุลบุนนาค”