อาการลมชัก อาการลมชักในเด็ก โรคลมชักในเด็ก

เช็กอาการลมชักในเด็ก และวิธีรับมือที่พ่อแม่ต้องรู้

โรคลมชักในเด็ก เป็นภาวะที่สมองของเด็กมีการทำงานผิดปกติชั่วคราว ส่งผลให้เกิดอาการชักกระตุกของแขนขา ร่างกาย และบางครั้งอาจสูญเสียการรับรู้ชั่วขณะ

Home / PR NEWS / เช็กอาการลมชักในเด็ก และวิธีรับมือที่พ่อแม่ต้องรู้

โรคลมชักในเด็ก เป็นภาวะที่สมองของเด็กมีการทำงานผิดปกติชั่วคราว ส่งผลให้เกิดอาการชักกระตุกของแขนขา ร่างกาย และบางครั้งอาจสูญเสียการรับรู้ชั่วขณะ ซึ่งสาเหตุของโรคลมชักในเด็กสามารถเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย ได้แก่ ความผิดปกติทางพันธุกรรม ปัญหาจากการตั้งครรภ์และการคลอด การบาดเจ็บที่สมอง รวมถึงภาวะต่างๆ เช่น ไข้สูง ภาวะสมองขาดออกซิเจน เป็นต้น นอกจากนี้ในบางรายอาจไม่สามารถระบุสาเหตุที่แน่ชัดของการเกิดอาการลมชักในเด็กได้

สำหรับใครที่มีลูกหลานวัยกำลังโต มาศึกษากันดีกว่าว่าอาการลมชักในเด็กมีอะไรบ้าง แล้วหากเกิดขึ้นกับลูกหลานของคุณ ในฐานะพ่อแม่ผู้ปกครองควรรับมืออย่างไรจึงจะปลอดภัยที่สุด

อาการลมชักในเด็ก

เช็กอาการลมชักในเด็กที่พ่อแม่ต้องรู้

อาการของโรคลมชักในเด็กที่พ่อแม่ควรจับตาดูอย่างใกล้ชิด ได้แก่

  • อาการชักกระตุกของแขนขา ลำตัว อย่างรุนแรง ซึ่งบางครั้งอาจเป็นการชักไปทั้งตัว
  • มีการกัดลิ้น หรือสำลักนํ้าลายของตนเอง
  • หายใจถี่และหนัก มีอาการหน้าบึ้งเนื่องจากการขาดอากาศชั่วคราว
  • ปัสสาวะหรืออุจจาระโดยไม่รู้ตัวระหว่างการชัก
  • สูญเสียการรับรู้ชั่วขณะ ไม่สามารถมองเห็น ได้ยิน หรือรับรู้สิ่งต่าง ๆ รอบตัวได้ในช่วงนั้น
  • เกิดอาการเมื่อยล้า เหม่อลอย หรือแสดงท่าทางประหลาดเป็นบางครั้งหลังจากชักผ่านไปแล้ว

วิธีรับมือเมื่อลูกหลานมีอาการลมชักในเด็ก

เมื่อลูกหลานมีอาการลมชักเกิดขึ้น สิ่งที่พ่อแม่ควรทำก็คือการปฏิบัติตามขั้นตอนอย่างรวดเร็วและระมัดระวัง เพื่อช่วยป้องกันการบาดเจ็บหรืออันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้ โดยสามารถทำได้ดังนี้

  • อยู่เคียงข้างลูกและจัดท่านอนให้อยู่ในท่านอนตะแคง เพื่อไม่ให้สำลักนํ้าลาย หรือสิ่งของต่าง ๆ
  • อย่าพยายามกันลูกชักหรือกระทำการใด ๆ โดยการเปิดปากใส่สิ่งของ เพราะอาจทำให้เกิดการบาดเจ็บมากขึ้น
  • คว้าสิ่งของที่อาจก่อให้เกิดอันตรายออกจากบริเวณใกล้เคียงลูก
  • สังเกตอาการอย่างใกล้ชิด และจับเวลาที่ลูกเริ่มมีอาการชัก เพื่อแจ้งรายละเอียดให้แพทย์ทราบ
  • หากอาการชักยังคงดำเนินนานเกิน 5 นาที หรือเป็นครั้งแรกที่ลูกมีอาการชัก ให้รีบนำส่งโรงพยาบาลทันที

นอกจากนี้หากพบว่าอาการลมชักของลูกมีความแตกต่างจากเดิม หรือมีความรุนแรงผิดปกติกว่าครั้งก่อน ๆ ก็ควรรีบพาไปพบแพทย์เช่นกัน เพื่อประเมินสาเหตุและได้รับการรักษาที่เหมาะสม เนื่องจากลมชักที่รุนแรงและเกิดขึ้นซ้ำอาจจะส่งผลกระทบต่อการทำงานของสมอง หรือก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกายได้

หลายคนมองว่าอาการลมชักในเด็กดูน่ากลัว แต่หากได้รับการวินิจฉัย รักษา และดูแลอย่างถูกวิธี โรคลมชักก็สามารถควบคุมอาการได้ อย่างไรก็ตาม การปล่อยทิ้งไว้ ไม่ได้รับการดูแลอย่างถูกต้อง ก็อาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงได้เช่นกัน เช่น การบาดเจ็บจากการชักกระตุก ความเสียหายต่อสมอง หรือความสามารถในการเรียนรู้และพัฒนาการลดลงจากอาการชักซ้ำ ๆ ดังนั้น การสังเกตติดตามอาการลมชักของบุตรหลานอย่างใกล้ชิดจึงเป็นเรื่องสำคัญ หากพบความผิดปกติหรือมีข้อสงสัยใด ๆ ควรรีบปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโดยเร็ว เพื่อการวินิจฉัยและได้รับการดูแลรักษาที่ถูกต้องเหมาะสม จะเป็นการดีที่สุด